Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มกราคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) สุพจน์ เธียรวุฒิ นักวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ คณะกรรมการดิจิตอลมีกรรมการ TOT CAT ร่วมถือว่าไม่โปร่งใส่

ประเด็นหลัก


   นายสุพจน์ เธียรวุฒิ นักวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในเวทีเสวนา NBTC Public Forum ครั้งที่ 1 เรื่อง ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอล ว่า การที่มีร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวมาดูแลการจัดสรรคลื่นความถี่นั้น สิ่งที่กังวลคือ รายชื่อคณะกรรมการมีรัฐวิสาหกิจ อย่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการด้วย จึงเกรงว่าการจัดสรรคลื่นความถี่อาจไม่เป็นธรรม และอาจจะเอื้อประโยชน์ให้แก่รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งหรือไม่ ทั้งนี้ เมื่อดูจากรายชื่อคณะกรรมการก็ไม่เห็นมีตัวแทนจากภาคประชาชนอีกด้วย
     
       นอกจากนี้ เมื่อดูเนื้อหาอีกส่วนยังพบว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจในการอนุมัติโครงการร่วมทุนกับหน่วยงานรัฐได้โดยไม่ต้องผ่าน พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 จึงอาจทำให้เกิดระบบสัมปทานจำแลงขึ้นในภายหลังได้
     
       “ตอนนี้ภาคอุตสาหกรรมเริ่มไม่แน่ใจว่าจะมีประมูลคลื่น 1800 MHz หรือ 900 MHz ต่อไปหรือไม่ เพราะคงต้องรอความชัดเจนว่า คณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นมาตาม กม.นั้นจะจัดสรรอย่างไร หากดูเรื่อง กม.ให้ละเอียดคิดว่าต้องมีการปรับปรุงขนานใหญ่”


_____________________________________________________












นักวิชาการหวั่นจัดสรรความถี่ไม่โปร่งใส



        นักวิชาการหวั่นที่มาคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่โปร่งใส เหตุมีหน่วยงานภาครัฐอย่างทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ร่วมวงด้วย เกรงอาจเขียนแผนงานเพื่อเอื้อผลประโยชน์กันเอง ส่วนแนวคิดการจัดสรรคลื่นความถี่ หากทิ้งวิธีการประมูล และเลือกวิธีการบิวตี้ คอนเทสต์ จะกลายเป็นช่องว่างให้เกิดการวิ่งเต้น ไม่เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม พร้อมสนับสนุนการยุบกรรมการ กสทช.เป็นชุดเดียวโดยเสนอให้ลดจำนวนเหลือ 7-9 คน
     
       นายสุพจน์ เธียรวุฒิ นักวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในเวทีเสวนา NBTC Public Forum ครั้งที่ 1 เรื่อง ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอล ว่า การที่มีร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวมาดูแลการจัดสรรคลื่นความถี่นั้น สิ่งที่กังวลคือ รายชื่อคณะกรรมการมีรัฐวิสาหกิจ อย่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการด้วย จึงเกรงว่าการจัดสรรคลื่นความถี่อาจไม่เป็นธรรม และอาจจะเอื้อประโยชน์ให้แก่รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งหรือไม่ ทั้งนี้ เมื่อดูจากรายชื่อคณะกรรมการก็ไม่เห็นมีตัวแทนจากภาคประชาชนอีกด้วย
     
       นอกจากนี้ เมื่อดูเนื้อหาอีกส่วนยังพบว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจในการอนุมัติโครงการร่วมทุนกับหน่วยงานรัฐได้โดยไม่ต้องผ่าน พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 จึงอาจทำให้เกิดระบบสัมปทานจำแลงขึ้นในภายหลังได้
     
       “ตอนนี้ภาคอุตสาหกรรมเริ่มไม่แน่ใจว่าจะมีประมูลคลื่น 1800 MHz หรือ 900 MHz ต่อไปหรือไม่ เพราะคงต้องรอความชัดเจนว่า คณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นมาตาม กม.นั้นจะจัดสรรอย่างไร หากดูเรื่อง กม.ให้ละเอียดคิดว่าต้องมีการปรับปรุงขนานใหญ่”

นักวิชาการหวั่นจัดสรรความถี่ไม่โปร่งใส
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

        ขณะที่ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ในร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 หรือ พ.ร.บ.กสทช. มีการเขียนข้อความให้ประชาชนเข้าใจว่า การประมูลจะทำให้ค่าบริการแพงขึ้น และควรใช้การจัดสรรคลื่นความถี่แบบบิวตี้ คอนเทสต์ นั้น เป็นการให้ข้อมูลที่ผิดพลาด เพราะการประมูลไม่ได้ทำให้ค่าบริการแพงขึ้น แต่เป็นการนำเงินจากภาคเอกชนที่คิดว่ามีกำไรมากเกินไปมาจ่ายเป็นค่าประมูล แม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เคยทำแบบบิวตี้ คอนเทสต์ มาก่อน ยังพิสูจน์ให้เห็นมาแล้วว่าเป็นวิธีการเอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้องทางการเมือง เป็นการยกทรัพยากรของประเทศไปให้เอกชนในราคาที่ต่ำเกินจริง
     
       ที่สำคัญคือ การมีคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้เป็นผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งเรื่องการกำหนดนโยบาย และให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือ เมื่อถึงเวลาที่ต้องเขียนแผนคณะกรรมการชุดดังกล่าวอาจจะเขียนแผนเอื้อประโยชน์ให้รัฐมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น มีนโยบายให้เกิด 4G แต่ในแผนเขียนว่า ไม่ต้องใช้วิธีการประมูลให้เปลี่ยนเป็นบิวตี้ คอนเทสต์ แทน ตรงนี้อาจจะเขียนเอื้อประโยชน์ให้แก่รัฐวิสาหกิจก็เป็นไปได้ เป็นต้น
     
       “ส่วนเรื่องการยุบรวมบอร์ด กสทช.เหลือเพียงชุดเดียวนั้นเห็นด้วย แต่คณะกรรมการอาจจะไม่ต้องมีถึง 11 คน อย่างปัจจุบันก็ได้ ควรเหลือเพียง 7-9 คน โดยอาจจะสรรหาใหม่ หรือคัดคนที่ทำงานไม่ตรงกับหน้าที่ออกไป”
     
       อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความร้อนแรงของกระแสการต้าน พ.ร.บ.ทั้ง 10 ฉบับ เพื่อรองรับนโยบาย Digital Economy และให้ กม.สำเร็จอย่างที่รัฐบาลตั้งใจ รัฐต้องส่งสัญญาณไปยังกฤษฎีกาว่า ต้องนำเสียงของฝ่ายคัดค้านเข้าไปประกอบการพิจารณาเพื่อปรับปรุง กม.ตลอดจนนำไปเสนอต่อสภานิติบัญญัติ (สนช.) ด้วย เพื่อแสดงความใจกว้างก็ควรนำตัวแทนที่ไม่เห็นด้วยเข้าร่วมวงในการแก้ กม.ด้วย
     

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000011584

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.