Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 กุมภาพันธ์ 2558 GMM มีวงเงินกู้จากธนาคารสำหรับทีวีดิจิทัล 2 ช่อง มากกว่า 6,000 ล้านบาท ฉลี่ยช่องละ 1 พันล้านบาท และวางเป้าว่าภายใน 3 ปีนับจากนี้จะมีสัดส่วนรายได้เพิ่มเป็น 50% ของรายได้รวม ช่วง 2 ปีแรก อาจจะขาดทุนบ้าง

ประเด็นหลัก



เขาอธิบายเพิ่มว่า ก่อนประมูลทีวีดิจิทัลได้ประเมินแล้วว่า ธุรกิจทีวีดิจิทัลอาจจะต้องอยู่ในภาวะขาดทุนประมาณ 2 ปี (2556-2558) จึงได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว อีกทั้งแกรมมี่ก็มีวงเงินกู้จากธนาคารสำหรับทีวีดิจิทัล 2 ช่อง มากกว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอกับการลงทุน

ขณะที่การเพิ่มทุนตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 และได้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท 183,631,793 หุ้น และได้รับเงินจากการขายทั้งสิ้น 2,450 ล้านบาท ซึ่งได้นำเงินเพิ่มทุนดังกล่าวไปชำระคืนเงินกู้ยืมธนาคาร 2,300 บาท และที่เหลือ 150 ล้านบาท ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

"ปรีย์มน" เล่าถึงเหตุผลการเพิ่มทุนครั้งนั้นว่า เนื่องจากขาดทุนสะสมจากการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ซึ่งปัจจุบันเลิกดำเนินธุรกิจนี้ไปแล้ว และหลังการเพิ่มทุน ก็ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นให้อยู่ในสัดส่วนที่กำหนด ซึ่งมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นต่ำกว่า 1 เท่า

พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มว่า จากนี้ไปธุรกิจของแกรมมี่จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ธุรกิจเพลง ที่มี "กริช ทอมมัส" เป็นผู้รับผิดชอบ และธุรกิจทีวีดิจิทัล แยก 2 ส่วน คือ ช่องจีเอ็มเอ็มชาแนล มี "สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา" เป็นผู้ดูแล อีกส่วนคือช่องวันมี "ถกลเกียรติ วีรวรรณ" เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งทั้ง 2 ช่องมีกลุ่มเป้าหมายต่างกัน จีเอ็มเอ็มชาแนล เจาะกลุ่มวัยรุ่น นำเสนอคอนเทนต์สไตล์แกรมมี่ ขณะที่ ช่องวัน เจาะผู้ชมกลุ่มแมส ชูคอนเทนต์ละครเป็นหลักชนกับช่อง 3-7

"ปีนี้เราจะลงทุนเฉพาะในส่วนธุรกิจทีวีดิจิทัล เฉลี่ยช่องละ 1 พันล้านบาท และวางเป้าว่าภายใน 3 ปีนับจากนี้จะมีสัดส่วนรายได้เพิ่มเป็น 50% ของรายได้รวม ช่วง 2 ปีแรก อาจจะขาดทุนบ้าง แต่คาดว่าภายในปี 2559 ธุรกิจนี้น่าจะมีอัตราการเติบโต และกลายเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลักให้แก่บริษัทได้ในอนาคต"


_____________________________________________________















"แกรมมี่" ตุน 6 พันล้าน ลุยทีวีดิจิทัล-คัมแบ็กยักษ์บันเทิง


พลันที่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ประกาศเดินหน้าสู่สนามแข่งขันทีวีดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ก็มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับพอร์ตธุรกิจใหม่ หันมาโฟกัสธุรกิจบันเทิงและทีวีดิจิทัลเต็มตัว

เริ่มจากเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ตัดสินใจครั้งสำคัญ ทิ้งธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ด้วยการเข้าสวอปหุ้นกับบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) และโยกธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก Z PAYS TV รวมถึงบุคลากรให้อยู่ภายใต้การบริหารของซีทีเอชทั้งหมด ก่อนจะทยอยปรับโครงสร้างธุรกิจในช่วงปลายปี 2557



ถัดมาที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทก็มีมติให้ขายหุ้นสามัญ บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิ้ง จำกัด หรือ จีเอ็มเอ็มวัน ให้นายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดิจิทัลทีวี บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เมื่อ 24 ธันวาคม 2557 รวม 2,000 หุ้น โดยที่นายถกลเกียรติจะขายหุ้นคืนบริษัท 1 หุ้น นอกจากนี้ที่ประชุมยังสละสิทธิ์ซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 4,408,000 หุ้น จาก 5,000,000 หุ้น

และเปิดโอกาสให้กลุ่มนายถกลเกียรติ เป็นผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนนี้แทน ส่งผลให้กลุ่มนายถกลเกียรติถือหุ้นจีเอ็มเอ็มวันในสัดส่วน 49% ส่วนจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ถือหุ้นในสัดส่วน 51% ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับคำถามที่ตามมาต่าง ๆ นา ๆ

"ปรีย์มน ปิ่นสกุล" ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ชี้แจง "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แกรมมี่ไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงินเหมือนที่หลายฝ่ายเข้าใจ

"เราไม่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน แต่ที่ผ่านมามีข่าวออกไปว่า แกรมมี่มีปัญหาดังกล่าว โดยเชื่อมโยงมาจากกรณีการขายหุ้นในธุรกิจต่าง ๆ ก่อนหน้านี้"

อย่างไรก็ตามแม้บริษัทจะโฟกัสไปที่ธุรกิจทีวีดิจิทัล ซึ่งต้องใช้งบฯลงทุนสูง แต่ได้เตรียมงบฯส่วนนี้ไว้ตั้งแต่ก่อนประมูลทีวีดิจิทัลแล้ว

เขาอธิบายเพิ่มว่า ก่อนประมูลทีวีดิจิทัลได้ประเมินแล้วว่า ธุรกิจทีวีดิจิทัลอาจจะต้องอยู่ในภาวะขาดทุนประมาณ 2 ปี (2556-2558) จึงได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว อีกทั้งแกรมมี่ก็มีวงเงินกู้จากธนาคารสำหรับทีวีดิจิทัล 2 ช่อง มากกว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอกับการลงทุน

ขณะที่การเพิ่มทุนตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 และได้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท 183,631,793 หุ้น และได้รับเงินจากการขายทั้งสิ้น 2,450 ล้านบาท ซึ่งได้นำเงินเพิ่มทุนดังกล่าวไปชำระคืนเงินกู้ยืมธนาคาร 2,300 บาท และที่เหลือ 150 ล้านบาท ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

"ปรีย์มน" เล่าถึงเหตุผลการเพิ่มทุนครั้งนั้นว่า เนื่องจากขาดทุนสะสมจากการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ซึ่งปัจจุบันเลิกดำเนินธุรกิจนี้ไปแล้ว และหลังการเพิ่มทุน ก็ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นให้อยู่ในสัดส่วนที่กำหนด ซึ่งมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นต่ำกว่า 1 เท่า

พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มว่า จากนี้ไปธุรกิจของแกรมมี่จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ธุรกิจเพลง ที่มี "กริช ทอมมัส" เป็นผู้รับผิดชอบ และธุรกิจทีวีดิจิทัล แยก 2 ส่วน คือ ช่องจีเอ็มเอ็มชาแนล มี "สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา" เป็นผู้ดูแล อีกส่วนคือช่องวันมี "ถกลเกียรติ วีรวรรณ" เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งทั้ง 2 ช่องมีกลุ่มเป้าหมายต่างกัน จีเอ็มเอ็มชาแนล เจาะกลุ่มวัยรุ่น นำเสนอคอนเทนต์สไตล์แกรมมี่ ขณะที่ ช่องวัน เจาะผู้ชมกลุ่มแมส ชูคอนเทนต์ละครเป็นหลักชนกับช่อง 3-7

"ปีนี้เราจะลงทุนเฉพาะในส่วนธุรกิจทีวีดิจิทัล เฉลี่ยช่องละ 1 พันล้านบาท และวางเป้าว่าภายใน 3 ปีนับจากนี้จะมีสัดส่วนรายได้เพิ่มเป็น 50% ของรายได้รวม ช่วง 2 ปีแรก อาจจะขาดทุนบ้าง แต่คาดว่าภายในปี 2559 ธุรกิจนี้น่าจะมีอัตราการเติบโต และกลายเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลักให้แก่บริษัทได้ในอนาคต"

"เป้าหมายของช่องวัน คือ ต้องติด 1 ใน 3 ของช่องทีวีดิจิทัลให้เร็วที่สุด หลังจากช่องวันได้ปล่อยคอนเทนต์ โดยเฉพาะละคร ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 ก็มีเรตติ้งที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง"

ส่วนธุรกิจเพลง "ปรีย์มน" บอกว่า รายได้ส่วนนี้ไม่ได้ลดลง แต่ช่องทางการหารายได้ของธุรกิจเพลงเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมการฟังเพลงของผู้บริโภค

จากเดิมที่คนฟังเพลงก็ต้องซื้อซีดี-ดีวีดี และค่ายเพลงก็มีรายได้จากส่วนนี้ ปัจจุบันคนฟังเพลงด้วยการสตรีมมิ่ง ยูทูบ ออนไลน์ ผ่านดีไวซ์ต่าง ๆ ทำให้ช่องทางการสร้างรายได้จากธุรกิจเพลงต้องปรับตามไปด้วย ซึ่งช่องทางการฟังเพลงผ่านออนไลน์เหล่านี้ เมื่อก่อนไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ค่ายเพลง แต่หลังจากยูทูบเข้ามาตั้งบริษัทในไทย เมื่อกลางปี 2557 ทำให้ค่ายเพลงมีรายได้เข้ามาชดเชยการขายซีดี ดีวีดี ที่มีแนวโน้มลดลง

"รายได้จากการฟังเพลงผ่านออนไลน์ถือว่ามหาศาล อีกทั้งเปิดโอกาสให้คนฟังเพลงมากขึ้น ว่าจะเลือกฟังเพลงเก่า-ใหม่ กลายเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับธุรกิจเพลง ประกอบกับแกรมมี่มีคอนเทนต์อยู่ในมือจำนวนมาก ไม่ว่าจะเพลง ชมมิวสิกวิดีโอ ภาพยนตร์ ซึ่งล้วนแต่จะช่วยสร้างรายได้ให้แกรมมี่"

แน่นอนว่าย่างก้าวใหม่ภายหลังการเปลี่ยนแปลง แม้ด้านหนึ่งเพื่อตอบสนองเป้าหมายใหม่ "ทีวีดิจิทัล" แต่นี่อาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมด

เชื่อได้ว่ายักษ์ใหญ่รายนี้คงมีแผนการที่อุบไว้ในใจ เพื่อหวนคืนกลับมาเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งอีกครั้ง


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1422863321

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.