Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 กุมภาพันธ์ 2558 คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมายของ กสทช.จึงเห็นควรว่า หาก SLC มีสัดส่วนถือหุ้นขัดต่อประกาศดังกล่าว คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะเรียกบริษัทผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อมูล

ประเด็นหลัก

       ดังนั้น คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมายของ กสทช.จึงเห็นควรว่า หาก SLC มีสัดส่วนถือหุ้นขัดต่อประกาศดังกล่าว ให้สำนักงาน กสทช.สามารถใช้อำนาจตามประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ออกเป็นคำสั่งทางปกครองให้บริษัทลูกผู้ได้รับใบอนุญาตไปแจ้งให้บริษัทแม่ คือ บริษัท SLC ดำเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นได้ แต่หากเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่เข้าข่ายขัดต่อประกาศก็ไม่ต้องออกคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไข ทั้งนี้ คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะเรียกบริษัทผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อมูล



_____________________________________________________















กสท.เตรียมสอบการถือหุ้น SLC สัปดาห์หน้า



        กสท.เตรียมเรียกเนชั่น และสปริงนิวส์ ชี้แจงรายละเอียดการถือหุ้นของบริษัท SLC สัปดาห์หน้า หากพบเข้าข่ายถือหุ้นเกินสัดส่วน และครอบงำสื่อ กสทช.มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครองสั่งให้แก้ไขสัดส่วนผู้ถือหุ้นได้ ขณะที่องค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค ยื่นหนังสือถึง 3 กรรมการ กสท.เร่งตรวจสอบหวั่นครอบงำสื่อขณะที่ “สุภิญญา” พร้อมเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น 16 ก.พ.นี้
     
       นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า อนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ กสทช.ได้ส่งความเห็นเกี่ยวกับกรณี บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) หรือ SLC ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) เข้าที่ประชุมว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตยังคงต้องปฏิบัติตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ในข้อ 8.4 ที่กำหนดว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตไม่เกินรายละหนึ่งใบอนุญาตของแต่ละหมวดหมู่
     
       ทั้งนี้ เนื่องจากในประกาศดังกล่าวยังได้อ้างอิงฐานกฎหมายในเรื่องการป้องกันการผูกขาดไว้อย่างชัดแจ้ง ตามที่ปรากฏในมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 โดยสาระสำคัญของมาตราดังกล่าว กำหนดว่า เพื่อป้องกันมิให้บุคคลหนึ่งครอบงำกิจการในลักษณะที่เป็นการจำกัดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะที่มาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย หรือกระทำการอันเป็นการผูกขาดการประกอบกิจการสื่อมวลชนหลายประเภทในเวลาเดียวกัน ห้ามผู้รับใบอนุญาตถือครองธุรกิจในกิจการประเภทเดียวกัน หรือครองสิทธิข้ามสื่อในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่เกินสัดส่วนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
     
       ดังนั้น คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมายของ กสทช.จึงเห็นควรว่า หาก SLC มีสัดส่วนถือหุ้นขัดต่อประกาศดังกล่าว ให้สำนักงาน กสทช.สามารถใช้อำนาจตามประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ออกเป็นคำสั่งทางปกครองให้บริษัทลูกผู้ได้รับใบอนุญาตไปแจ้งให้บริษัทแม่ คือ บริษัท SLC ดำเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นได้ แต่หากเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่เข้าข่ายขัดต่อประกาศก็ไม่ต้องออกคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไข ทั้งนี้ คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะเรียกบริษัทผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อมูล
     
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ในเวลา 09.00 น. คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ได้แก่ น.ส.ชลดา บุญเกษม นางมณี จิรโชติมงคลกุล พร้อมด้วยตัวแทนผู้บริโภค เข้ายื่นหนังสือต่อกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 3 คน ได้แก่ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และ พล.ท.ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ เพื่อขอให้ตรวจสอบการเข้าถือหุ้นในกิจการสื่อของบริษัท SLC
     
       น.ส.ชลดา กล่าวว่า คณะกรรมการฯ ได้มีการดำเนินการติดตามสถานการณ์ จากกรณีที่ SLC ได้เข้ามาซื้อหุ้นในบริษัทเครือแกรมมี่ และบริษัทสื่อเครือเนชั่น โดยที่บริษัท SLC มีสถานะเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสถานีโทรทัศน์ ช่องข่าวสปริงนิวส์ ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิตอล และได้เข้าถือหุ้นในสัดส่วนที่เกินกว่า 10% ของบริษัทเครือเนชั่น ซึ่งมีสถานะเป็นผู้ประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ ประเภทหมวดหมู่ข่าวสารเช่นกัน นอกจากนี้ SLC ได้เข้าไปซื้อหุ้นบริษัทเครือแกรมมี่ ซึ่งมีสถานะเป็นบริษัทใหญ่ของบริษัทที่เป็นผู้รับใบอนุญาต ช่องจีเอ็มเอ็ม หมวดหมู่ช่องทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (SD) และช่อง One หมวดหมู่ช่องทั่วไปแบบความคมชัดสูง (HD) ในสัดส่วน 1.22% นั้น จากกรณีนี้ เครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนมีความกังวลว่า การเข้าถือหุ้นในกิจการสื่อเกินกว่าถึง 3 กลุ่มบริษัท อาจขัดต่อเจตนารมณ์ในการป้องกันครอบงำกิจการ และเรื่องผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันตามที่กำหนดไว้ก่อนการประมูลตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ พ.ศ.2556
     
       ทั้งนี้ ข้อ 7.2 ของประกาศฉบับดังกล่าวฯ กำหนดว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตที่มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลจะต้องไม่เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันโดยการพิจารณาให้เป็นไปตามภาคผนวก ก และ ข แล้วแต่กรณี โดยในภาคผนวก ข ได้บัญญัติ นิยาม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในผู้เข้าร่วมการประมูลเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้เข้าร่วมการประมูลนั้น การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย
     
       ขณะที่ น.ส.สุภิญญา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ในวันจันทร์ที่ 16 ก.พ.นี้ ทาง กสทช.จะเปิดเวที เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ชี้แจงข้อมูล รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้หลายๆ ฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นและข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในเรื่องนี้


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000012989

___________________


กสทช.ยันลงดาบได้ หาก 'เอสแอลซี' ก่อความเสียหาย ซื้อหุ้นเนชั่น



ที่ประชุม กสท. มีมติยึดหลักการพิจารณาข้อกฎหมาย กรณี "เอสแอลซี" ผู้ถือหุ้นใน"สปริงนิวส์" เข้าซื้อหุ้นในสื่อเครือเนชั่นและแกรมมี่ ตามคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. ชี้หากก่อความเสียหาย สามารถใช้อำนาจได้ สัปดาห์หน้าเรียกผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง ...

ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. มีมติรับทราบตามที่ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรณี บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1988) หรือ เอสแอลซี ผู้ถือหุ้นในบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น เข้าซื้อหุ้นในสื่อเครือเนชั่นและแกรมมี่ โดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ ยังคงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเข้าประมูลทีวีดิจิตอล

นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า การเข้าถือครองหุ้นดังกล่าว ไม่ได้อยู่ในกฎหมายของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แต่ถ้าหากการกระทำก่อให้เกิดความเสียหายในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กสทช. ก็สามารถใช้อำนาจพิจารณาตัดสินได้ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ทำหนังสือเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มาชี้แจงรายละเอียดในสัปดาห์หน้า

นอกจากนี้ ยังเห็นชอบแนวปฏิบัติทางเทคนิคและการดำเนินการเกี่ยวกับระดับความดังของเสียง หรือ ออดิโอราวด์เน็ส เพื่อควบคุมให้ระดับความดังของรายการและโฆษณาเป็นไปตามข้อกำหนดที่ออกประกาศไปแล้ว เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค หรือไม่ดังเกินไป

แนวทางปฏิบัติทางเทคนิค และดำเนินการเกี่ยวกับผังรายการอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพีจี จัดส่งข้อมูลผังรายการของแต่ละช่องรายการ ผ่านโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล อำนวยความสะดวกในการรับชมรายการ และเพื่อให้ประชาชนรู้ผังรายการล่วงหน้าก่อนออกอากาศ 7 วัน จะเริ่มใช้วันแรก 8 มี.ค. นี้ เวลา 02.00-05.00 น.


http://www.thairath.co.th/content/478651

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.