Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2558 ดร.ศิริรัตน์ โกศการิกา ชี้ งานวิจัย พบว่า หากต้องการเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นเจเนอเรชัน วาย ควรเลือกเครื่องมือการตลาด และช่องทางการสื่อสาร ผ่านทางอินสตาแกรม มากกว่าเฟซบุ๊ก เนื่องจากคนกลุ่มเจเนอเรชัน วาย ชอบดูรูปภาพ มากกว่าการอ่านตัวอักษร

ประเด็นหลัก


    โดยจากงานวิจัย พบว่า หากต้องการเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นเจเนอเรชัน วาย  ควรเลือกเครื่องมือการตลาด และช่องทางการสื่อสาร  ผ่านทางอินสตาแกรม มากกว่าเฟซบุ๊ก  เนื่องจากคนกลุ่มเจเนอเรชัน วาย ชอบดูรูปภาพ มากกว่าการอ่านตัวอักษร ขณะที่เครื่องมือและช่องทางสื่อสารที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเจเนอเรชันเอ็กซ์   น่าจะเป็นเฟซบุ๊กมากกว่า  ส่วนกลุ่มองค์กรขนาดกลาง  หรือ เอ็ม นั้นมองว่าควรมีการลงทุนในการพัฒนาเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมา เพราะจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย
    ดร.ศิริรัตน์ กล่าวต่ออีกว่าการตลาดบนอี-คอมเมิร์ซยุคข้างหน้านี้จะมุ่งเน้นความจริงใจกับผู้บริโภคเป็นสำคัญ   เนื่องจากที่ผ่านมาการขายสินค้าบนโซเชียลมีเดีย  มีทั้งร้านค้าที่น่าเชื่อถือ  และร้านค้าที่หลอกลวงขายสินค้า โดยมองว่าต่อไปร้านค้าที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า มีบริการสัมพันธ์กับลูกค้า  สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว  จะอยู่รอด  และมีการเติบโตแบบยั่งยืน  
    ส่วนการสนับสนุนของภาครัฐนั้น  แม้ภาครัฐ จะมีการผลักดันกฎหมายดิจิตอล 10 ฉบับ ออกมาซึ่งมีส่วนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล แต่มองว่าควรมีการปรับปรุงให้มีความทันสมัยตลอดเวลา  เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ขณะเดียวกันจะต้องมีหน่วยงานในส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านอี-คอมเมิร์ซ และหน่วยงานที่รับรองความน่าเชื่อถือของร้านค้าขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เนื่องจากการสำรวจยังพบว่าสาเหตุหลักที่ผู้บริโภคไม่นิยมซื้อสินค้าผ่านอี-คอมเมิร์ซ  เพราะยังขาดความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการที่ได้รับ และมีความกังวลว่าสินค้าที่ได้รับจะตรงตามที่ต้องการหรือไม่



_____________________________________________________



















แนะSMEsขยับสู่อี-คอมเมิร์ซ

 นักวิชาการตลาด แนะเอสเอ็มอี ปรับธุรกิจสู่อี-คอมเมิร์ซ  รับกระแสดิจิตอลอีโคโนมี-เปิดเสรีอาเซียน  มองคุณภาพแบรนด์ไทยยังเป็นที่ยอมรับในอาเซียน  พร้อมระบุการตลาดอี-คอมเมิร์ซยุคใหม่ต้องเน้นความจริงใจกับผู้บริโภค
  ดร.ศิริรัตน์ โกศการิกาดร.ศิริรัตน์ โกศการิกา  ดร.ศิริรัตน์ โกศการิกา อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ และรองผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดภูมิภาคเอเชีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก  หรือ เอสเอ็มอี ควรอาศัยโอกาสที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล  และการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนในปี 2558  ในการเปิดช่องทางการค้าผ่านอี-คอมเมิร์ซ  เนื่องจากสินค้าของไทยยังเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพ และราคา  จากกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน
    "ที่กังวลกันว่าผู้ผลิตจากจีน จะขายของผ่านอี-คอมเมิร์ซมาในไทยและกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น  ส่วนตัวยังมองว่าแบรนด์  และคุณภาพสินค้าไทย ยังได้รับการยอมรับจากประเทศเพื่อนบ้านมากกว่า อีกทั้งจีนยังมีการปิดกั้นช่องทางโซเชียลมีเดีย  ซึ่งถือเป็นช่องทางการตลาดและสื่อสาร ที่สำคัญไปยังกลุ่มลูกค้า ดังนั้นมองว่าไทยยังมีความได้เปรียบอยู่"
    ทั้งนี้มองว่ากลุ่มเอสเอ็มอี ที่จะได้ประโยชน์จากกอี-คอมเมิร์ซ คือ กลุ่มค้าปลีกและบริการ   เพราะนอกจากช่องทางดังกล่าวจะช่วยในการสร้างฐานลูกค้าใหม่แล้วยังเป็นช่องทางสร้างความสัมพันธ์เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้   โดยการก้าวไปสู่อี-คอมเมิร์ซ ของกลุ่มเอสเอ็มอีนั้นจำเป็นต้องใช้การตลาดแบบครบวงจร 360 องศา และใช้เครื่องมือที่เป็นดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งครอบคลุมทั้งหมด
    "กลุ่มองค์กรขนาดเอส ที่มีงบจำกัด อาจเริ่มเข้าสู่อี-คอมเมิร์ซ ผ่านช่องทางโซเซียลมีเดีย  ทั้งเฟซบุ๊ก หรือ อินสตาแกรม  หรืออาจใช้ช่องทางตลาดกลางออนไลน์ (e-Marketplace)ในการสื่อสาร  หรือขายสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด   อย่างไรก็ตามต้องเลือกให้ความสำคัญกับเครื่องมือที่ต้องการใช้สื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด  โดยจะต้องรู้ถึงพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม"
    โดยจากงานวิจัย พบว่า หากต้องการเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นเจเนอเรชัน วาย  ควรเลือกเครื่องมือการตลาด และช่องทางการสื่อสาร  ผ่านทางอินสตาแกรม มากกว่าเฟซบุ๊ก  เนื่องจากคนกลุ่มเจเนอเรชัน วาย ชอบดูรูปภาพ มากกว่าการอ่านตัวอักษร ขณะที่เครื่องมือและช่องทางสื่อสารที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเจเนอเรชันเอ็กซ์   น่าจะเป็นเฟซบุ๊กมากกว่า  ส่วนกลุ่มองค์กรขนาดกลาง  หรือ เอ็ม นั้นมองว่าควรมีการลงทุนในการพัฒนาเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมา เพราะจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย
    ดร.ศิริรัตน์ กล่าวต่ออีกว่าการตลาดบนอี-คอมเมิร์ซยุคข้างหน้านี้จะมุ่งเน้นความจริงใจกับผู้บริโภคเป็นสำคัญ   เนื่องจากที่ผ่านมาการขายสินค้าบนโซเชียลมีเดีย  มีทั้งร้านค้าที่น่าเชื่อถือ  และร้านค้าที่หลอกลวงขายสินค้า โดยมองว่าต่อไปร้านค้าที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า มีบริการสัมพันธ์กับลูกค้า  สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว  จะอยู่รอด  และมีการเติบโตแบบยั่งยืน  
    ส่วนการสนับสนุนของภาครัฐนั้น  แม้ภาครัฐ จะมีการผลักดันกฎหมายดิจิตอล 10 ฉบับ ออกมาซึ่งมีส่วนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล แต่มองว่าควรมีการปรับปรุงให้มีความทันสมัยตลอดเวลา  เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ขณะเดียวกันจะต้องมีหน่วยงานในส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านอี-คอมเมิร์ซ และหน่วยงานที่รับรองความน่าเชื่อถือของร้านค้าขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เนื่องจากการสำรวจยังพบว่าสาเหตุหลักที่ผู้บริโภคไม่นิยมซื้อสินค้าผ่านอี-คอมเมิร์ซ  เพราะยังขาดความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการที่ได้รับ และมีความกังวลว่าสินค้าที่ได้รับจะตรงตามที่ต้องการหรือไม่



จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,024  วันที่  5 - 7  กุมถาพันธ์  พ.ศ. 2558

 http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=263933:smes-&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VNdMK0JAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.