Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กุมภาพันธ์ 2558 UIH จะปรับตัวเพื่อให้บริการที่เข้มข้นขึ้น และก้าวขึ้นมาเป็นผู้ให้บริการในกลุ่มบรอดแบนด์ธุรกิจ โดยใช้จุดแข็งในแง่ของ เงินทุน เครือข่าย และบุคลากร ทำให้ UIH ครอบคลุมการให้บริการเชื่อมต่อแทบทุกรูปแบบ

ประเด็นหลัก



 ขณะที่ใบอนุญาตการให้ บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่ 1 ก็ทำให้ UIH สามารถเป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรไวเดอร์ (ISP) ได้ เช่นเดียวกับ ธุรกิจต่างประเทศที่มีใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่าง ประเทศและบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกได้ สุดท้ายคือ ใบอนุญาตโทรคมนาคมวงจรเช่าระหว่างประเทศ ทำให้สามารถเชื่อมสาขาของบริษัทในไทยไปต่างประเทศได้
     
       เมื่อมองไปถึงการแข่งขันในธุรกิจบรอดแบนด์รายอื่นๆที่ให้บริการส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ตลาดคอนซูเมอร์ โดยเฉพาะการให้บริการอินเทอร์เน็ต แต่ UIH จะเน้นกลุ่มองค์กร ซึ่งเป็นผู้นำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมสาขาธนาคาร เชื่อมตู้เอทีเอ็ม เชื่อมสาขาไปรษณีย์ไทย รวมไปถึงการเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานขององค์กรธุรกิจต่างๆ
     
       จากเดิมธุรกิจที่ UIH ทำคือเป็นฐานรากในการเชื่อมต่อ (Connectivity) ถัดมาเมื่อมีการผลักดันมาใช้งานระบบคลาวด์ ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) ก็จะเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เพื่อนำมาใช้งานแอปพลิเคชัน (Application) ทำให้องค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลงรับกับเทคโนโลยีให้มากขึ้น
     
       'ตอนนี้ถึงเวลาที่ UIH จะปรับตัวเพื่อให้บริการที่เข้มข้นขึ้น และก้าวขึ้นมาเป็นผู้ให้บริการในกลุ่มบรอดแบนด์ธุรกิจ โดยใช้จุดแข็งในแง่ของ เงินทุน เครือข่าย และบุคลากร ทำให้ UIH ครอบคลุมการให้บริการเชื่อมต่อแทบทุกรูปแบบ รวมถึงที่จะเติมเข้าไปอีกอย่างบริการให้เช่าพื้นที่ในดาต้าเซ็นเตอร์ รวมไปถึงบริหารจัดการเครือข่าย'
     
       โดยกลยุทธ์ทางการตลาด 4 เรื่องที่วางไว้คือ 1.การเป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์โซลูชันครบวงจร 2. เปิดให้บริการคลาวด์ ในรูปแบบของไฮบริดคลาวด์ ไม่ใช่พับบลิคคลาวด์ที่ต้องไปแข่งขันกับผู้ให้บริการจากต่างประเทศ เพราะเชื่อว่าลูกค้ายังมีความกังวลในส่วนของความปลอดภัยเมื่อใช้งานพับบลิคคลาวด์ 3.ขยายตลาดเข้าไปใน ประเทศ AEC เพราะมีความมั่นใจทั้งลูกค้าที่เป็นองค์กรไทยต้องการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ โดยให้ทาง UIH ทำเป็นโซลูชันแบบครบวงจร และลูกค้าจากต่างประเทศที่ต้องการเชื่อมต่อเข้ามาในประเทศไทย 4.ทำการตลาดร่วมกับพันธมิตร อย่างดีแทค ที่นำเสนอบริการไปยังกลุ่มลูกค้าองค์กร

_____________________________________________________



















ผ่ากลยุทธ์ UIH สู่ผู้ให้บริการบรอดแบนด์ครบวงจร(Cyber Weekend)



        UIH หวังใช้ 4 กลยุทธ์ คว้าโอกาสจาก Digital Economy กระตุ้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ หวังเป็น 'One Stop Broadband Solution Service' ครองตลาดผู้ให้บริการบรอดแบนด์ในกลุ่มองค์กร ส่งรายได้ทะลุ 3,500 ล้านบาท ด้วยการเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% ในปี 58
     
       วิชัย เบญจรงคกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด หรือ UIH กล่าวว่า การที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ Digital Economy จะช่วยให้ประเทศเติบโตขึ้น ทำให้ UIH จับแรงผลักดันดังกล่าวมาเป็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนให้บริษัทให้เติบโตต่อไป
     
       'ตอนนี้ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ Digital Economy จะตอบโจทย์ และถูกใจลูกค้ามากที่สุด เพราะรัฐบาลส่งเสริมให้มีการใช้งานการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น การที่ UIH มีบริการต่างๆให้แบบครบวงจร เมื่อมีการกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะทำให้เกิดการใช้งานที่มากขึ้น ในฐานะผู้ประกอบการก็ต้องจับความต้องการใช้งานของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด'
     
       เมื่อมองถึงภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้ พบว่ามีทิศทางที่น่าจะเป็นบวก จากเสถียรภาพที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนของลูกค้ารายเดิมที่มีการลงทุนต่อเนื่อง รวมไปถึงรายใหม่ที่อาจจะเข้ามาช้าไปบ้าง ส่งผลให้ต้องมีการปรับตัวในการแข่งขัน
     
       'หนึ่งในแนวโน้มสำคัญ ที่ทำให้นักลงทุนจากต่างประเทศยอมรับคือ อินฟราสตรักเจอร์ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพราะเมื่อนักลงทุนเห็นว่าบริการเหล่านี้ที่จะคอยเชื่อมต่อการสื่อสารพร้อมผู้ประกอบการมีมาตรฐาน ก็จะกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เกิดการลงทุน'
     
       ในส่วนนโยบาย Digital Economy จุดที่ UIH จะเข้าไปช่วยสนับสนุนคือการวางรากฐานในส่วนของ ฮาร์ด อินฟราสตรักเจอร์ (Hard Infrastructer) อย่างการวางโครงข่ายให้ครอบคลุม 95% ของประชากร และ ซอฟต์ อินฟราสตรักเจอร์ (Soft Infrastructer) ในการนำโซลูชันต่างๆมาให้บริการ โดยทิศทางในการให้บริการจะมองจากความต้องการในการใช้งานเป็นหลัก อย่างเช่นในกลุ่มธุรกิจองค์กรความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย เทคโนโลยี 2G ,3G และ 4G อาจไม่เพียงพอในการนำไปให้บริการลูกค้าต่อ ทำให้ในอนาคตความเร็วในการเชื่อมต่อต้องสูงกว่า 100 Mbps
     
       ขณะเดียวกัน ในส่วนของดาต้าเซ็นเตอร์ก็มีผู้ให้บริการเอกชนหลายราย ถ้ามีการเชื่อมต่อดาต้า เซ็นเตอร์ ทั่วประเทศ (National Data Center) รวมถึงในต่างประเทศเข้าด้วยกัน โดยคงจุดเด่นของแต่ละรายไว้ ก็จะช่วยให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน นอกจากนี้ในส่วนของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทาง UIH ก็เป็นผู้ให้บริการที่มีระบบความปลอดภัยให้แก่ลูกค้ามาหลายปี ที่ให้ความสำคัญกับด้านนี้ และถือเป็นรายแรกๆที่นำระบบรักษาความปลอดภัยเข้ามาให้บริการ ซึ่งมีแนวโน้มที่ธุรกิจขนาดกลาง และเล็ก จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมในส่วนนี้ด้วย
     
       พันเอกเรืองทรัพย์ โฆวินทะ กรรมการผู้จัดการ UIH กล่าวเสริมว่า ด้วยการวางวิสัยทัศน์ให้เป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์ด้วยบริการแบบครบวงจร (One Stop Broadband Solution Service) ทำให้ UIH มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 6-7,000ล้านบาท เพื่อให้โครงข่ายครอบคลุม 77 จังหวัด และพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มอีก 7-800ล้านบาทในการเสริมจุดให้บริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในปีนี้
     
       'สิ่งสำคัญที่ UIH ลงทุนไปคือต้องมองไปถึงคุณภาพของการให้บริการ และที่สำคัญคือเป็นมาตรฐาน โดยปัจจุบัน UIH มีลูกค้ามากกว่า 2 พันราย คอร์เน็ตเวิร์กระยะทางกว่า 6 แสนกิโลเมตร ครอบคลุม 90% ของประเทศไทยมากกว่า 900 อำเภอ ใน 77 จังหวัดในปี 2558'
     
       โดยแต่เดิมแผนการลงทุน ของ UIH ในช่วงปี 2555 - 2557 คือการขยายบริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และในปี 2558 วางเป้าหมายที่จะเป็นจุดศูนย์กลางในระดับอาเซียน สอดรับกับการเปิดเอซีซี จึงได้วางจุดเชื่อมต่อเครือข่ายบรอดแบนด์ไว้ 7 แห่งภายในประเทศที่จังหวัด เชียงราย ตาก หนองคาย มุกดาหาร สระแก้ว และสงขลา ที่อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอด่านนอก เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และมาเลเซีย
       ขณะเดียวกันยังได้ เตรียมความพร้อมของเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงไปยังทั่วโลก โดยการวาง Point of Presence (POP) ไว้ที่ประเทศสิงคโปร์ และฮ่องกง รวมไปถึงความร่วมมือกับพันธมิตรผู้ให้บริการเครือข่ายจากหลายประเทศ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายการสื่อสารไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้รวดเร็วขึ้น
     
       เบื้องต้นทาง UIH ตั้งเป้าการเติบโตในปีนี้ไว้ที่ 10% จากปีที่ผ่านมามีรายได้ราว 3.5 พันล้านบาท จากตลาดรวมในกลุ่มลูกค้าองค์กรด้านการให้บริการบรอดแบนด์ประมาณ 8-9 พันล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 30%
     
       'ถ้ามองถึงสัดส่วนรายได้ในปีนี้เชื่อว่ารายได้หลักยังมาจากการให้บริการด้านดาต้าเซอร์วิสเช่นเดิมกว่า 80% ส่วนที่เหลือจะมาจากโซลูชันต่างๆ แต่เชื่อว่าในอนาคตเมื่อการใช้งานดาต้าเริ่มอยู่ตัวองค์กรส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับโซลูชันที่จะเข้ามาช่วยบริหารจัดการมากขึ้น ทำให้ในปีหน้าสัดส่วนรายได้จากดาต้าเซอร์วิสอาจลดลงเหลือ 70%'
     
       สันติ เมธาวิกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส UIH กล่าวถึงแผนการทำตลาด UIH ในปีนี้จากการที่จะปรับตัวจากผู้ให้บริการเครือข่าย (Network Service Provider) ไปสู่การเป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์ครบวงจรในกลุ่มธุรกิจองค์กร โดยใช้จุดเด่นจากการที่ UIH มีใบอนุญาตในการให้บริการ 6 ใบ และสามารถนำมาให้บริการในธุรกิจบรอดแบนด์ได้ครอบคลุมทั้งหมด โดย UIH มีใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 1 แบบที่ 2 แบบมีโครงข่าย และ แบบที่ 3 จึงสามารถวางโครงข่ายให้ผู้ประกอบการรายอื่นเช่า และสามารถนำไปให้บริการกับกลุ่มลูกค้าองค์กร รวมไปถึงการรับบริการจากผู้ให้บริการรายอื่นมาขายต่อได้
     
       ขณะที่ใบอนุญาตการให้ บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่ 1 ก็ทำให้ UIH สามารถเป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรไวเดอร์ (ISP) ได้ เช่นเดียวกับ ธุรกิจต่างประเทศที่มีใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่าง ประเทศและบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกได้ สุดท้ายคือ ใบอนุญาตโทรคมนาคมวงจรเช่าระหว่างประเทศ ทำให้สามารถเชื่อมสาขาของบริษัทในไทยไปต่างประเทศได้
     
       เมื่อมองไปถึงการแข่งขันในธุรกิจบรอดแบนด์รายอื่นๆที่ให้บริการส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ตลาดคอนซูเมอร์ โดยเฉพาะการให้บริการอินเทอร์เน็ต แต่ UIH จะเน้นกลุ่มองค์กร ซึ่งเป็นผู้นำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมสาขาธนาคาร เชื่อมตู้เอทีเอ็ม เชื่อมสาขาไปรษณีย์ไทย รวมไปถึงการเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานขององค์กรธุรกิจต่างๆ
     
       จากเดิมธุรกิจที่ UIH ทำคือเป็นฐานรากในการเชื่อมต่อ (Connectivity) ถัดมาเมื่อมีการผลักดันมาใช้งานระบบคลาวด์ ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) ก็จะเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เพื่อนำมาใช้งานแอปพลิเคชัน (Application) ทำให้องค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลงรับกับเทคโนโลยีให้มากขึ้น
     
       'ตอนนี้ถึงเวลาที่ UIH จะปรับตัวเพื่อให้บริการที่เข้มข้นขึ้น และก้าวขึ้นมาเป็นผู้ให้บริการในกลุ่มบรอดแบนด์ธุรกิจ โดยใช้จุดแข็งในแง่ของ เงินทุน เครือข่าย และบุคลากร ทำให้ UIH ครอบคลุมการให้บริการเชื่อมต่อแทบทุกรูปแบบ รวมถึงที่จะเติมเข้าไปอีกอย่างบริการให้เช่าพื้นที่ในดาต้าเซ็นเตอร์ รวมไปถึงบริหารจัดการเครือข่าย'
     
       โดยกลยุทธ์ทางการตลาด 4 เรื่องที่วางไว้คือ 1.การเป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์โซลูชันครบวงจร 2. เปิดให้บริการคลาวด์ ในรูปแบบของไฮบริดคลาวด์ ไม่ใช่พับบลิคคลาวด์ที่ต้องไปแข่งขันกับผู้ให้บริการจากต่างประเทศ เพราะเชื่อว่าลูกค้ายังมีความกังวลในส่วนของความปลอดภัยเมื่อใช้งานพับบลิคคลาวด์ 3.ขยายตลาดเข้าไปใน ประเทศ AEC เพราะมีความมั่นใจทั้งลูกค้าที่เป็นองค์กรไทยต้องการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ โดยให้ทาง UIH ทำเป็นโซลูชันแบบครบวงจร และลูกค้าจากต่างประเทศที่ต้องการเชื่อมต่อเข้ามาในประเทศไทย 4.ทำการตลาดร่วมกับพันธมิตร อย่างดีแทค ที่นำเสนอบริการไปยังกลุ่มลูกค้าองค์กร
     
       *** 5 บริการดาวรุ่งจาก UIH
     
       1.Cloud Wi-Fiเป็นบริการสื่อสารไร้สาย ตั้งแต่การออกแบบการใช้งาน การติดตั้งระบบ จนกระทั่งการดูแลการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง
     
       2.Managed Security Serviceบริการด้านความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ ทั้งในรูปแบบ Cloud การให้บริการด้านอุปกรณ์ (End-point) และการให้บริการให้คำปรึกษา
     
       3.Cloud Serviceบริการด้าน Cloud Computing บนเครือข่าย MPLS Layer 3
     
       4.Data Center Networkบริการด้าน Data Center ที่มีบริการเส้นทางเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการระดับภูมิภาค เพื่อให้การจัดเก็บ หรือสำรองข้อมูลมีเสถียรภาพสูงสุด
     
       5.Managed Network Serviceบริการรับออกแบบ ติดตั้ง และดูแลรักษาเน็ตเวิร์ก ภายในของลูกค้าองค์กร
     
http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000014323

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.