Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 กุมภาพันธ์ 2558 DTAC.ซิคเว่ เตรียมเปิดโครงการ Safe Internet สร้างฟิลเตอร์เพื่อคัดกรองเนื้อหาที่เกี่ยวกับการกระทำผิดทางเพศที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน ระบบการสกัดกั้นนี้สามารถป้องกันการเผยแพร่ทั้งภาพและภาพเคลื่อนไหว

ประเด็นหลัก


      นายจอน เฟรดริค บัคซอส ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “เทเลนอร์มุ่งสร้างให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน โดยได้ร่วมกับพันธมิตรระดับโลกเหลากหลายองค์กรเพื่อการบรรลุพันธกิจนี้”
     
       เทเลนอร์ได้ร่วมมือกับพันธมิตร ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน อาทิ กูเกิล เฟซบุ๊ก ไมโครซอฟท์ และทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อหาวิธีทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก และเป็นโอเปอเรเตอร์รายแรกของโลกที่ร่วมมือกับอินเตอร์โพล สร้างฟิลเตอร์เพื่อคัดกรองเนื้อหาที่เกี่ยวกับการกระทำผิดทางเพศที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน ส่งผลให้เกิดการจัดตั้งพันธมิตรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการต่อต้านเนื้อหาการกระทำผิดทางเพศที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนแห่งจีเอสเอ็มเอ
     
       ***ความรับผิดชอบที่สำคัญของโอเปอเรเตอร์
     
       การดักจับเนื้อหาที่แสดงถึงการทารุณเด็กได้มีการติดตั้งฟิลเตอร์คัดกรองเนื้อหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องต่อเด็กบนโทรศัพท์มือถือของกลุ่มผู้ใช้บริการเครือข่ายใน 11 ประเทศที่เทเลนอร์ลงทุนอยู่ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยเทเลนอร์ และหน่วยงานสืบสวนอาชญากรรมแห่งชาติ ประเทศนอร์เวย์ เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ระบบการสกัดกั้นนี้สามารถป้องกันการเผยแพร่ทั้งภาพและภาพเคลื่อนไหวจำนวนมากที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการกระทำผิดทางเพศต่อเด็กทั่วโลก
     
       นายซิคเว่ เบรคเก้ รองประธานบริหาร เทเลนอร์กรุ๊ป, เจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด เทเลนอร์ เอเชียและรักษาการซีอีโอ ดีแทค กล่าวว่า “ศักยภาพของอินเทอร์เน็ตคือ การเชื่อมต่อและเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้เพื่อการยกระดับ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกกลุ่มในสังคม รวมถึงการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจและการเงิน อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นไปโดยปราศจากความเสี่ยง หน่วยงานธุรกิจในประเทศที่เราลงทุนอยู่จึงมีความมุ่งมั่นในการทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เพื่อร่วมเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตพร้อมๆ ไปกับการขยายธุรกิจโมบายล์เซอร์วิส ภายใต้กลยุทธ์ Internet for All”
     
       ขณะที่ในประเทศไทย ดีแทควางแผนจะดำเนินโครงการ Safe Internet โดยจะทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชนไทย รวมถึงวางแผนที่จะจัดการฝึกอบรมให้กับเด็ก สร้างเสริมทักษะด้านดิจิตอลเพื่อให้รู้เท่าทันสื่อ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเยาวชนคุณภาพแห่งยุคดิจิตอล


_____________________________________________________










2 ยักษ์สื่อสาร ขานรับ “วันแห่งการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยมากขึ้น”


2 ยักษ์ใหญ่ด้านสื่อสาร เทเลนอร์กรุ๊ป และเฟซบุ๊ก ประกาศเดินหน้าสร้างโลกอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ขานรับวันแห่งการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยมากขึ้น หรือ Safer Internet Day ในวันนี้ (10 กุมภาพันธ์ 2558) เตรียมพร้อมรับเยาวชนกว่า 55 ล้านคนทั่วโลกที่จะก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ภายในปี 2560
     
       นายจอน เฟรดริค บัคซอส ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “เทเลนอร์มุ่งสร้างให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน โดยได้ร่วมกับพันธมิตรระดับโลกเหลากหลายองค์กรเพื่อการบรรลุพันธกิจนี้”
     
       เทเลนอร์ได้ร่วมมือกับพันธมิตร ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน อาทิ กูเกิล เฟซบุ๊ก ไมโครซอฟท์ และทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อหาวิธีทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก และเป็นโอเปอเรเตอร์รายแรกของโลกที่ร่วมมือกับอินเตอร์โพล สร้างฟิลเตอร์เพื่อคัดกรองเนื้อหาที่เกี่ยวกับการกระทำผิดทางเพศที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน ส่งผลให้เกิดการจัดตั้งพันธมิตรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการต่อต้านเนื้อหาการกระทำผิดทางเพศที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนแห่งจีเอสเอ็มเอ
     
       ***ความรับผิดชอบที่สำคัญของโอเปอเรเตอร์
     
       การดักจับเนื้อหาที่แสดงถึงการทารุณเด็กได้มีการติดตั้งฟิลเตอร์คัดกรองเนื้อหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องต่อเด็กบนโทรศัพท์มือถือของกลุ่มผู้ใช้บริการเครือข่ายใน 11 ประเทศที่เทเลนอร์ลงทุนอยู่ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยเทเลนอร์ และหน่วยงานสืบสวนอาชญากรรมแห่งชาติ ประเทศนอร์เวย์ เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ระบบการสกัดกั้นนี้สามารถป้องกันการเผยแพร่ทั้งภาพและภาพเคลื่อนไหวจำนวนมากที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการกระทำผิดทางเพศต่อเด็กทั่วโลก
     
       นายซิคเว่ เบรคเก้ รองประธานบริหาร เทเลนอร์กรุ๊ป, เจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด เทเลนอร์ เอเชียและรักษาการซีอีโอ ดีแทค กล่าวว่า “ศักยภาพของอินเทอร์เน็ตคือ การเชื่อมต่อและเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้เพื่อการยกระดับ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกกลุ่มในสังคม รวมถึงการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจและการเงิน อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นไปโดยปราศจากความเสี่ยง หน่วยงานธุรกิจในประเทศที่เราลงทุนอยู่จึงมีความมุ่งมั่นในการทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เพื่อร่วมเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตพร้อมๆ ไปกับการขยายธุรกิจโมบายล์เซอร์วิส ภายใต้กลยุทธ์ Internet for All”
     
       ขณะที่ในประเทศไทย ดีแทควางแผนจะดำเนินโครงการ Safe Internet โดยจะทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชนไทย รวมถึงวางแผนที่จะจัดการฝึกอบรมให้กับเด็ก สร้างเสริมทักษะด้านดิจิตอลเพื่อให้รู้เท่าทันสื่อ โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเยาวชนคุณภาพแห่งยุคดิจิตอล
     
       ในประเทศอินเดีย ยูนินอร์ได้เปิดตัว WebWise ในปีที่ผ่านมา เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต ตั้งเป้าที่จะจัดเวิร์กชอปออนไลน์ให้นักเรียนจำนวน 20,000 คน ภายในปี 2558 นอกจากนั้น จะมีการจัดฟอรัมเกี่ยวกับ Safe Internet ในระดับภูมิภาคเพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งรวมถึงโรงเรียน กลุ่มผู้ปกครอง และองค์กรด้านสิทธิเด็ก
     
       ด้านประเทศมาเลเซีย ดิจิ วางแผนที่จะต่อยอด CyberSAFE ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง CyberSecurity ประเทศมาเลเซีย และดิจิ ในปีนี้ โดยจะทำการอบรมครูด้านไอซีทีเพิ่มขึ้นอีก 300 คน ทำให้ยอดรวมของครูทั่วประเทศที่ผ่านการอบรมรวมกันเป็นจำนวนกว่า 1,000 คน อีกทั้งดิจิได้ตั้งเป้าที่จะเข้าถึงนักเรียน 40,000 คนผ่านการจัดเวิร์กชอป และจะทำการสำรวจในระดับประเทศเป็นครั้งที่ 2 เกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมของเด็กที่เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
     
       ด้านประเทศบังคลาเทศ กรามีนโฟน ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดได้ร่วมฉลองวันแห่งการใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยมากขึ้นโดยการจัดเวิร์กชอปให้กับผู้ปกครองและครูที่สำนักงานใหญ่ของกรามีนโฟน นอกจากนี้ ยังได้ตั้งเป้าที่จะเข้าถึง 500 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเป้าหมายในการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการเปิดตัวโครงการ Safe Internet ในปีนี้ รวมทั้งวางแผนที่จะทำการสำรวจเรื่องความปลอดภัยของโลกออนไลน์สำหรับเด็กนักเรียน
     
       และสุดท้ายประเทศเมียนมาร์ คือตลาดใหม่ล่าสุดของเทเลนอร์ ซึ่งยังอยู่ในช่วงของการวางรากฐานด้านระบบโครงข่าย เทเลนอร์ เมียนมาร์ ได้วางแผนที่จะเปิดตัวโครงการ Safe Internet ภายในปีนี้ เพื่อให้ความรู้ในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และสร้างทักษะด้านดิจิตอลเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ
     
       ***ความรับผิดชอบของโซเชียลมีเดีย
     
       ส่วนผู้ให้บริการเบอร์หนึ่งด้านโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นหัวใจสำคัญในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน และได้ใช้โอกาสนี้ย้ำเตือนผู้บริโภคถึงข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก
     
       โดยหากผู้ใช้พบสิ่งที่ไม่เหมาะสมหรือทำให้รู้สึกไม่สบายใจบนเฟซบุ๊ก สามารถแจ้งให้ทราบโดยคลิกปุ่มรายงาน (Report) เฟซบุ๊กมีทีมที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อตอบสนองทุกปัญหาอย่างรวดเร็วที่สุด
     
       และหากเพื่อนในเฟซบุ๊กโพสต์เรื่องเกี่ยวกับคุณที่น่าอายหรือน่ารำคาญ ก็จะมีเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาร่วมกัน โดยสามารถส่งข้อความเพื่อบอกเพื่อนในเฟซบุ๊กว่าไม่ต้องการเห็นเนื้อหานี้บนเฟซบุ๊ก แต่ละสัปดาห์ มีผู้คนกว่า 8 ล้านคนที่ใช้เครื่องมือนี้เพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง
     
       ทั้งนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊กสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือด้านความปลอดภัยและการตั้งค่าของเฟซบุ๊ก ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือ (Help Center) หรือไปที่ศูนย์ความปลอดภัยสำหรับครอบครัว (Family Safety Center) เพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงคำแนะนำและการให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยบนโลกออนไลน์
     
       และเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวันแห่งการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย เฟซบุ๊กขอยกย่องโครงการต่างๆ จากทุมมุมโลก เช่น โครงการ Anti-Bullying Ambassadors โครงการ Fearlessly KIND และโครงการ It Gets Better ที่ช่วยกันสร้างโลกอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
     
       การสร้างโลกอินเทอร์เน็ตให้ดียิ่งขึ้นนั้นอยู่ที่เน็ตติเซนทั้งหลาย ที่จะร่วมมือกันเพื่อสร้างประสบการณ์ออนไลน์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน โดยทุกปีของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ได้ถูกยกให้เป็นวันแห่งการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยมากขึ้นหรือ Safer Internet Day ซึ่งจะได้เห็นโครงการจากหลากหลายบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก พยายามที่จะสร้างโลกอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นให้เกิดขึ้นจริงบนโลกใบนี้

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000016464

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.