Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กุมภาพันธ์ 2558 กสทช.ประวิทย์ ระบุ พรบ.ทั้ง10 ฉบับ หลายท่านยืนยันว่าเป็นเรื่องลับมากถึงลับควรรอบคอบ ชี้มีคนจินตนาการเหมือนล้มประมูล3Gรอบแรกและล้มประมูล4G ใครอยู่เบื้องหลัง

ประเด็นหลัก


กฎหมายลับ-ก่อนผ่าน ครม. ไม่มีใครรู้

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กล่าวว่า “การแก้กฎหมายนี้ หลายท่านยืนยันว่าเป็นเรื่องลับมาก บางคนบอกไม่เคยเห็นแต่อนุมัติไปแล้ว การเป็นเรื่องลับนี่ผมไม่เคยว่า แต่ไม่ควรจะลับกับคนที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ควรจะต้องปรึกษาหารือว่าจะแก้ ถูกต้องมั้ย ยกตัวอย่างการแก้กฎหมาย กสทช.  โดยที่ กสทช.ไม่เคยเห็นอะไรมาก่อนเลย มารู้อีกทีตอนมี ครม.ไปแล้ว เปรียบเทียบง่ายๆ ถ้านักการเมืองจากการเลือกตั้ง แก้กฎหมายสภากลาโหม โดยที่กองทัพไม่รู้ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นครับ...แต่ครั้งนี้ เราสามารถแก้กฎหมายองค์กรไหนก็ได้ โดยที่องค์กรนั้นไม่รู้ วิธีนี้ไม่เป็นวิธีการปกติในการบริหารบ้านเมืองนะครับ”


นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา


รัฐประหารการจัดสรรคลื่นความถี่

นพ.ประวิทย์  ให้ความเห็น ถึงภาพรวมของร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับ โดยเริ่มต้นว่า มีคนจินตนาการ ซึ่งไม่ใช่ผม ว่า เรื่องเหล่านี้มีมือที่มองไม่เห็นหรือเปล่า โดยเชื่อมโยงได้ว่า ละครฉากที่หนึ่ง คือมีการล้มประมูล 3G ครั้งที่ 1 เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งไม่มีใครรู้ว่ามีใครอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ละครฉากต่อมา มีการล้มประมูล 4G ครั้งที่ 1 ในปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าใครอยู่เบื้องหลังอีก ละครฉากที่สาม ต่อมาคือ มีการแก้กฎหมายที่จะไม่ให้มีการประมูลคลื่นความถี่ ผู้เล่นที่อยู่ฉากหลังนี่คนเดียวกันหรือเปล่า ถ้าใช่ ก็เป็นเรื่องน่าสะพรึงกลัว ถ้าไม่ใช่ก็อีกเรื่อง


_____________________________________________________













ผวา! รัฐออกกฎหมายลับ! กม.ดิจิทัล10ฉบับ ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ผู้ประกอบการตื่น


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ : รายงาน

หลังวันที่ 6 มกราคม 2558 เป็นต้นมา สังคมได้รับทราบถึงร่างกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลจำนวน 8 ฉบับ ที่คณะรัฐมนตรียุค พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบอย่างฉับพลัน โดยที่สังคมวงกว้างไม่ได้เห็นและรับรู้มาก่อน

ย้อนไปอีก ช่วงปลายปีที่แล้ว วันที่ 16 ธันวาคม 2557 ครม.ได้เห็นชอบผ่านร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 2 ฉบับ

เช่นเดียวกัน โดยที่สังคมวงกว้างไม่ได้เห็นและรับรู้มาก่อน

ต่อเมื่อได้รับรู้ ร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับก็กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหู ถึงเป้าหมาย ที่มาที่ไป การให้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานใหม่ที่ตั้งขึ้น และการบังคับใช้ของกฎหมายที่ออกมาอย่างฉับพลันเหล่านี้

เสียงเดียวกันที่ถามถึงกฎหมายชุดนี้คือ แน่หรือว่า นี่คือการออกกฎหมายเพื่อไปสู่หนทางของการยกระดับประเทศไปสู่ “เศรษฐกิจดิจิทัล”



ร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับเหล่านั้น ได้แก่ 1. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ….  2.ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. กำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล  3.ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….  4.ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….  5.ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ….

6.ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ….  7.ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. ….    8. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ….  9.ร่าง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และ  10. ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

กฎหมายเหล่านี้ถูกคัดค้านอย่างหนัก โดยเฉพาะร่าง พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “พ.ร.บ.ไซเบอร์” ที่ให้อำนาจตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธาน โดย กปช. และเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายฉบับนี้มีอำนาจละเมิดสิทธิประชาชน สามารถขอข้อมูล เอกสาร หรือเรียกบุคคลใดๆ มาให้การ, ส่งหนังสือสั่งให้หน่วยงานรัฐและเอกชนทำตาม และเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติภารกิจเพื่อรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ ที่กระทบต่อความมั่นคงทางทหาร ถือเป็นเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายฉบับนี้โดยอัตโนมัติ

ขณะนี้ กฎหมายทั้ง 10 ฉบับ กำลังอยู่ในกระบวนการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อรวบรวมส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่ยังมีข้อกังวลว่าการร่างกฎหมายเหล่านี้ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนและสามารถที่จะทำให้ประชาชนผู้ประกอบการและผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง



โครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม(NBTCPolicyWatch)ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)และศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดงานเสวนา “บทบาท กสทช. ภายใต้เศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัล : ร่างกฎหมายดิจิทัลฯ ตอบโจทย์หรือไม่” เพื่อพูดคุยถึงร่างกฎหมายเหล่านี้

ผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) , ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย , สฤณี อาชวานันทกุล ประธานมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง (เครือข่ายพลเมืองเน็ต) และดำเนินรายการโดย  วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


กฎหมายลับ-ก่อนผ่าน ครม. ไม่มีใครรู้

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กล่าวว่า “การแก้กฎหมายนี้ หลายท่านยืนยันว่าเป็นเรื่องลับมาก บางคนบอกไม่เคยเห็นแต่อนุมัติไปแล้ว การเป็นเรื่องลับนี่ผมไม่เคยว่า แต่ไม่ควรจะลับกับคนที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ควรจะต้องปรึกษาหารือว่าจะแก้ ถูกต้องมั้ย ยกตัวอย่างการแก้กฎหมาย กสทช.  โดยที่ กสทช.ไม่เคยเห็นอะไรมาก่อนเลย มารู้อีกทีตอนมี ครม.ไปแล้ว เปรียบเทียบง่ายๆ ถ้านักการเมืองจากการเลือกตั้ง แก้กฎหมายสภากลาโหม โดยที่กองทัพไม่รู้ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นครับ...แต่ครั้งนี้ เราสามารถแก้กฎหมายองค์กรไหนก็ได้ โดยที่องค์กรนั้นไม่รู้ วิธีนี้ไม่เป็นวิธีการปกติในการบริหารบ้านเมืองนะครับ”


นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา


รัฐประหารการจัดสรรคลื่นความถี่

นพ.ประวิทย์  ให้ความเห็น ถึงภาพรวมของร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับ โดยเริ่มต้นว่า มีคนจินตนาการ ซึ่งไม่ใช่ผม ว่า เรื่องเหล่านี้มีมือที่มองไม่เห็นหรือเปล่า โดยเชื่อมโยงได้ว่า ละครฉากที่หนึ่ง คือมีการล้มประมูล 3G ครั้งที่ 1 เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งไม่มีใครรู้ว่ามีใครอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ละครฉากต่อมา มีการล้มประมูล 4G ครั้งที่ 1 ในปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าใครอยู่เบื้องหลังอีก ละครฉากที่สาม ต่อมาคือ มีการแก้กฎหมายที่จะไม่ให้มีการประมูลคลื่นความถี่ ผู้เล่นที่อยู่ฉากหลังนี่คนเดียวกันหรือเปล่า ถ้าใช่ ก็เป็นเรื่องน่าสะพรึงกลัว ถ้าไม่ใช่ก็อีกเรื่อง

“ถ้าเราพูดถึงสถานการณ์โดยรวม หลายท่านตั้งสำนวนขึ้นมาว่า พ.ร.บ. ไซเบอร์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นเหมือนกฎอัยการศึกทางไซเบอร์ แต่ถ้าเรามามองดูการแก้ไข พ.ร.บ. ของการจัดสรรคลื่นความถี่เนี่ย ต้องเรียกว่า เป็นการรัฐประหารการจัดสรรคลื่นความถี่ เพราะเปลี่ยนแปลงการจัดสรรคลื่นความถี่ ไปจากระบบองค์กรอิสระ ซึ่งเป็นระบบปกติของประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกมี”


ประเทศไทยสับสนแนวคิดออกกฎหมาย

นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า "การเปลี่ยนผ่านไปสู่ชีวิตดิจิทัล เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี รัฐบาลจะทำหรือไม่ทำ โลกมันเปลี่ยน คนก็ใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น คนก็ใช้อี-ทรานเซ็กชั่นมากขึ้น  เรื่องปกติที่เป็นพัฒนาการของโลก แต่สิ่งที่รัฐบาลควรจะทำคือ ทำให้การมีชีวิตอยู่บนโลกไซเบอร์มันมีกติกา มีความสงบสุข

“ดังนั้น สิ่งที่เราเห็นคือ การพยายามกำหนดกฎหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็เป็นเรื่องจำเป็น เพียงแต่กฎหมายเมืองไทยเกิดความสับสนในแนวคิด กฎหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ จริงๆ เป็นการทำความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่การด่าคนผ่านคอมพิวเตอร์ ถ้ามีการแฮ็กข้อมูลหรือเจาะข้อมูล  น่าจะเป็นความผิดต่อกฎหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ แต่เมืองไทยไปใช้ในฐานความผิดอื่น ภาพโป๊ทางคอมพิวเตอร์เอย หมิ่นประมาททางคอมพิวเตอร์เอย หรือต่อไปก็จะนำมาใช้ในเรื่องฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์ อื่นๆ อีก

“โดยหลัก ต่อให้เป็นประเทศที่ไม่มีกฎหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ หมิ่นประมาทผ่านคอมพิวเตอร์ก็ผิดอยู่แล้ว ฉ้อโกงผ่านคอมพิวเตอร์ก็ผิด  แต่กฎหมายก็มาออกเฉพาะเป็นเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ประเทศไทยนี่สับสน อันนี้ต้องทำให้ถูกต้อง”

นอกจากนี้ นพ.ประวิทย์ ยังกล่าวถึง พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ว่า การทำเรื่องนี้นั้นจำเป็น หากเราต้องการตั้งรับกับสงครามไซเบอร์ ที่ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของรัฐกับรัฐ อาจเป็นจากมิจฉาชีพ หรือผู้ก่อการร้ายก็ได้ แต่การรับมือสงครามไซเบอร์ไม่ใช่การไปสอดส่องคนในวงการไซเบอร์ ปกติคือกำหนดมาตรการ เฝ้าระวัง และคอยตอบสนอง ไม่มีอะไรไปเกี่ยวข้องกับการไปสอดส่องคนที่เล่นไซเบอร์ โดยกฎหมายที่รัฐบาลจะออกต้องคำนึงถึงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลสิทธิส่วนบุคคล เพราะปัญหาใหญ่ของโลกเทคโนโลยีคือ สิทธิส่วนบุคคล


ตั้งองค์กรก่อน นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลมาทีหลัง

นพ.ประวิทย์ เพิ่มเติมว่า ตัวกฎหมายส่วนที่เหลือ ผมคิดว่า เป็นกฎหมายการจัดตั้งองค์กรมากกว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับดิจิทัลจริงๆ เพราะเป็นการขยายอำนาจหน้าที่และยกฐานะองค์กรบางองค์กรขึ้นมา ซึ่งโดยปกติการจัดทำนโยบายสาธารณะต่างๆ ในที่นี้คือ การจัดทำนโยบายสาธารณะด้านดิจิทัล ก็ต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ไม่มีประเทศใดออกกฎหมายรวด เพื่อตั้งกรรมการเป็นหลายๆ ชุดเช่นนี้

“ผมเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า หากจะทำละครทีวีสักเรื่อง ถ้าคุณเป็นคนที่คำนึงถึงศิลปะหน่อย คุณก็จะเลือกนวนิยายก่อน ไม่ใช่เลือกตัวแสดงก่อน เพราะคุณอยากเลือกคอนเทนต์ที่จะนำเสนอ แต่ถ้าคุณเลือกตัวแสดงก่อน คุณก็เป็นพวกพาณิชย์อย่างเดียว ดังนั้นเนี่ย ก็ต้องมาวางก่อนว่าดิจิทัลเนี่ยคืออะไร แต่สิ่งที่เราทำคือเลือกผู้เล่นก่อนเลย กฎหมายทั้ง 10 ฉบับ เลือกผู้เล่นมาก่อน แต่ไม่รู้ว่าจะเล่นอะไร เดี๋ยวไปคิดเอาภายหลัง กฎหมายเหล่านี้อนุญาตให้กรรมการแต่ละชุดไปด้นเอาในอนาคต บทไม่ต้องมี เรื่องจริงมันเป็นต้องเป็นเรื่องกลับกัน”


ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์


ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจาก กม. ตกที่กลุ่มทุน

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ กล่าวว่า ผมคิดว่าเราจะได้เห็นบทเรียนว่าประชาชนอยู่ในสังคมการเมืองแบบไหน จากกฎหมายดิจิทัลทั้ง 10 ฉบับนี้ ผลประโยชน์ของประชาชนจะถูกสะท้อนออกมาเป็นกฎหมายเหล่านี้ เทียบกับผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ โดยถ้ามองจากด้านเศรษฐกิจก่อนนั้นจะเห็นว่า ผลประโยชน์จากการดูตามร่างกฎหมายเหล่านี้จะตกอยู่กับกลุ่มทุน เพราะว่าไม่ต้องการจะจัดสรรความถี่ด้วยวิธีที่โปร่งใส ทั้งกลุ่มทุนโทรคมนาคม กลุ่มทุนวิทยุโทรทัศน์ รวมไปถึงหน่วยราชการอื่นๆ อย่างกองทัพ รัฐวิสาหกิจ และผู้ประกอบการเอกชนที่ต้องการจะเข้ามาสวมรอย โดยผู้บริโภคและผู้เสียภาษีได้รับประโยชน์น้อยมาก


ราชการใช้โอกาสขยายอาณาจักร

ดร.สมเกียรติ ตั้งข้อสังเกตว่า “ร่างกฎหมายนี้ให้ประโยชน์หน่วยราชการ นี่เป็นจังหวะสำคัญที่หน่วยราชการขยายอาณาจักรไปอย่างกว้างขวาง มีการตั้งและขยายกระทรวงใหม่ ตั้งคณะกรรมการ และสำนักงานใหม่ต่างๆ และสำนักงานต่างๆ เหล่านี้ ก็เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้เป็นราชการ ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่จำเป็นต้องส่งรายได้เข้ารัฐ สามารถตั้งอัตราเงินเดือนได้สูงกว่าข้าราชการในปัจจุบันได้

“เป็นการออกกฎหมายแบบที่เอากองทุนมาก่อน เอาออฟฟิศมาก่อน เอาเงินเดือนมาก่อน  ทำงานอะไรเดี๋ยวค่อยไปว่ากันยังไม่มีสัญญาในการส่งมอบงาน  แต่ขอทรัพยากรมาก่อนโดยที่ยังไม่รู้ว่าประชาชนจะได้อะไรในอนาคต ผมคิดว่า ประชาชนไม่ได้ประโยชน์จากร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล”

ในด้านการเมืองกับสังคม ร่างกฎหมายเหล่านี้ ไม่มีความสมดุลใดๆ หากเปรียบเทียบระหว่างสิทธิเสรีภาพ ความเป็นส่วนตัว และการเข้าถึงบริการพื้นฐานต่างๆ ของประชาชน กับการคำนึงถึงความมั่นคงของรัฐ จึงสามารถบอกได้ว่า เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อรัฐและความมั่นคง มากกว่าเพื่อประชาชน ซึ่งคำว่าประชาชนนี้กินความไปถึงกลุ่มธุรกิจใหญ่บางกลุ่ม เช่น ธนาคาร ที่อาจได้รับผลกระทบจากกฎหมายคุ้มครองข้อมูลต่างๆ แต่ไม่ได้มีโอกาสได้ปรึกษาหารือกันเลย

“คำถามที่ชวนให้คิดก็คือ ทำไมถึงมีร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับนี้ออกมาได้ สำหรับผมเห็นว่า เป็นร่างกฎหมายที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการปรึกษาหารืออย่างที่ควรจะเป็น ไม่ได้ปรึกษาแม้กระทั่งหน่วยงานรัฐด้วยกัน หรือแม้กระทั่งข้าราชการระดับสูงในกระทรวงไอซีทีบางคนก็ไม่เคยเห็นร่างกฎหมายเลย จนผ่านครม.จึงได้เห็นกัน”


ไม่เอื้อให้ กสทช. โปร่งใสขึ้น

“ร่างกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับนี้ ตอบโจทย์บทบาทของ กสทช. ภายใต้สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไม่ ผมเห็นว่า เรื่องสำคัญคือ เรื่องธรรมาภิบาล ซึ่งมีทั้ง 1. ความโปร่งใส 2.ความมีส่วนร่วม ซึ่งที่ผ่านมา กสทช. ไม่ได้ตอบสนองและฟังความเห็นประชาชนจริงๆ เลย และ 3.ไม่มีความรับผิดชอบต่อผลงาน เช่นกรณีประมูล 3G ที่มีความเสียหายเกิดขึ้น แต่ไม่มีใครรับผิดชอบเลย

หากจะออกกฎหมายให้บทบาท กสทช. สอดคล้องกับเศรษฐกิจดิจิทัลก็ต้องทำใน 3 เรื่องข้างต้น แต่ร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับ ไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องเหล่านี้เลย มากกว่านั้น ก็มีเสียงท้วงติงถึงร่างกฎหมายเหล่านี้จากสังคม ก็ยังไม่เห็นชัดว่ารัฐบาลตอบรับ มีเพียงท่าทีที่เปิดมากขึ้นเท่านั้น และก็ยังไม่มีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบเรื่องนี้มาตอบคำถามและชี้แจงอย่างตรงประเด็นเลยว่า ร่างกฎหมายเหล่านี้จะตอบโจทย์การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล และบทบาท กสทช. ได้อย่างไร ซึ่งวิธีการที่จะตอบโจทย์ได้ตรงประเด็นและดีที่สุดคือ การจัดดีเบตสาธารณะ โดยเชิญฝ่ายรัฐบาล และผู้เห็นแตกต่างมาตั้งคำถาม และตอบข้อสงสัยกัน


ทำไมไม่มีประมูล 4G ตั้งแต่ คสช.ยึดอำนาจ

นอกจากนี้ ดร.สมเกียรติ ยังได้คำถามถึงหลักประกัน 4 เรื่องที่รัฐบาลต้องตอบคือ 1. หลักประกันว่า การออกกฎหมายดิจิทัล โดยเฉพาะกฎหมาย กสทช. และกฎหมายเศรษฐกิจสังคมดิจิทัล จะทำให้การใช้ความถี่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้คลื่นความถี่ได้จริง เนื่องจากที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐได้นำคลื่นความถี่ต่างๆ ทั้งกองทัพ กรมประชาสัมพันธ์ CAT และ TOT ไปปล่อยสัมปะทานให้เอกชน

2. หลักประกันว่า คลื่นความถี่ที่รัฐนำไปใช้เหล่านั้นจะถูกใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากรัฐต้องทำบริการสาธารณะเหล่านั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ รัฐควรนำคลื่นไปเปิดในตลาด และซื้อบริการที่ถูกและดีที่สุด เพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยเฉพาะการจัดสรรคลื่นความถี่โดยไม่ประมูล แต่ใช้ระบบคัดเลือก ยังเป็นเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดความโปร่งใส 3. หลักประกันว่า รัฐบาลจะไม่แทรกแซงการทำงานของ กสทช. เนื่องจากร่างกฎหมายใหม่นี้ มีคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อยู่เหนือ กสทช. 4. หลักประกันว่า ธรรมาภิบาลของ กสทช. จะดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะร่างกฎหมายไม่ได้แตะประเด็นที่เป็นปัญหาเก่า 5. หลักประกันว่า จะมีการประมูล 4G เนื่องจากมีการเลื่อนประมูลเรื่อยมา ตั้งแต่ คสช. ยึดอำนาจ ซึ่งรัฐบาลไม่เคยออกมายืนยันเลยว่าจะมีการประมูล 4G จึงช่วยไม่ได้ หากมีข้อสงสัยว่ารัฐบาลสมคบกับกลุ่มทุนเพื่อไม่อยากให้เกิดการประมูล 4G

ดร.สมเกียรติกล่าวปิดท้ายว่า อยากให้หลายๆ ภาคส่วนร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับในการแก้ร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับโดยมีเฉพาะกลุ่มตัวแทนสื่อประชาสังคม และภาควิชาการนั้นยังไม่พอ แต่ต้องดึงเครือข่ายผู้บริโภคเครือข่ายต้านคอร์รัปชั่นและธุรกิจเข้ามาด้วยเพราะกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะกระทบภาคธุรกิจในวงกว้างจึงเป็นเรื่องที่ทุกๆส่วนในสังคมต้องใส่ใจ




สฤณี อาชวานันทกุล


"คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" อำนาจล้นฟ้า เหนือ กสทช.


สฤณี อาชวานันทกุล กล่าวถึงประเด็นการทำงานของ กสทช.ในการคุ้มครองผู้บริโภคได้ดีขึ้นหรือไม่ใน ว่า ร่างกฎหมายใหม่เหล่านี้ยังคงให้อำนาจ กสทช.มีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ถูกผู้ประกอบการเอาเปรียบให้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพบุคคลในการสื่อสารแต่คำถามที่ตามมาคือเครื่องมือในการใช้อำนาจนั้นๆของกสทช.นั้นดูเหมือนจะหายไปส่วนหนึ่งในร่างกฎหมายใหม่นอกจากนี้ หาดูจากโครงสร้างแล้วร่างกฎหมายใหม่นี้มีคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เป็นองค์กรใหม่และมีอำนาจตัดสินเรื่องที่กสทช. เห็นแย้งสามารถส่งเรื่องไปสู่คณะรัฐมนตรีได้เลยอยู่ดี


สฤณีกล่าวว่า ร่างกฎหมายทั้ง10 ฉบับยังมีประเด็นกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลรวมอยู่ด้วยซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องดีที่ควรทำและมีแนวทางที่เคยร่างกฎหมายนี้ไว้แล้วและอยู่ในขั้นตอนที่จะเข้าครม.แต่ร่างที่รัฐบาลผ่านมติครม.ไปนั้นเป็นร่างใหม่ที่ไม่มีใครเคยเห็นคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ตัดตัวแทนจากสิทธิผู้บริโภคออกไปเหลือแต่ตัวแทนจากรัฐและฝ่ายความมั่นคงเท่านั้นนอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนสาระสำคัญเช่นตัดหลักการความยินยอมซึ่งเป็นหลักการที่เคารพสิทธิส่วนบุคคลที่เป็นหลักสากลที่สำคัญที่สุดด้วยในเบื่้องต้นก็คือจะเก็บข้อมูลใดต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือประชาชนก่อนแต่มีการตัดออกไปจากร่างที่ครม.มีมติผ่านซึ่งเช่นกันคือรายละเอียดเหล่านี้มีอยู่ในร่างเก่าที่เคยทำไว้แล้วนอกจากนั้น ยังมีข้อสงสัยในร่างกฎหมายนี้เช่น เจ้าของข้อมูลไม่สามารถขอดูข้อมูลของตนเองได้โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับเชิงพาณิชย์เหล่านี้เป็นตัวอย่างให้หลายๆคนเกิดความตื่นตัว


“ดูในภาพรวมแล้วร่างกฎหมายนี้ไม่ได้เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจเท่ากับการให้อำนาจรัฐอย่างมากในประเด็นที่เกี่ยวกับความมั่นคงเป็นหลักเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของกสทช. เพราะหากกสทช.ถูกลดอำนาจลงอยู่ใต้กำกับจะสามารถทำตามหน้าที่เดิมที่จะต้องคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างไรในเมื่อโครงสร้างใหม่มีความคลุมเครือและไม่ได้คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเลย”




2ประเด็นหลักที่การร่างกม.เศรษฐกิจดิจิทัลต้องมีแต่เรายังไม่มี


สฤณีเสนอว่า 2เรื่องหลักๆที่การร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งรัฐควรยึด คือ 1.ต้องสร้างความมั่นใจให้ประชาชนและผู้ประกอบการว่า รัฐจะไม่มาดักฟัง สอดแนมหรือเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการค้าโดยไม่มีเหตุอันควรเนื่องจากการทำธุรกรรมทางออนไลน์นั้นมีการทิ้งร่องรอยของผู้ใช้ไว้มากมายโดยที่คนใช้ไม่รู้ดังนั้นต้องสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการว่าจะไม่ถูกล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัวในขณะเดียวกันก็ต้องมั่นใจต่อเสถียรภาพในความปลอดภัยของระบบด้วยเช่นว่าธนาคารจะไม่ถูกแฮ๊กข้อมูลไปง่ายๆ


2.การสร้างสนามแข่งขันที่เชิญให้คู่แข่งเข้ามาแข่งขันในการให้บริการของรัฐอย่างหลากหลายเพราะเมื่อเราพูดถึงเศรษฐกิจดิจิทัลนั้นเรากำลังพูดถึงเศรษฐกิจสมัยใหม่ซึ่งหมายถึงนวัตกรรมต่างๆเป็นเศรษฐกิจที่โดยธรรมชาติแล้วควรสร้างผู้ประกอบการรายเล็กหรือเอสเอ็มอีเข้ามานำเสนอบริการต่างๆให้เราได้เลือกใช้เพราะฉะนั้นการสร้างกลไกทางกฎหมายที่เท่าเทียมเป็นธรรมไม่ห้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนรัหว่างรัฐกับเอกชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ



“หากมาดูร่างกฎหมายทั้ง10 ฉบับนี้ก็ยังไม่มีทั้งสองประเด็นที่กล่าวมาแต่กลับเป็นไปในทางตรงกันข้ามมากกว่า”
สฤณี กล่าว



ผู้ประกอบการตื่น แต่จะพูดมั้ย


สฤนี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า หากต้องพูดแบบหยาบๆ แล้วร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับนี้เป็นเหมือน กฎหมายเอาใจทหารซึ่งที่จริงหากจุดประสงค์ต้องการจะออกกฎหมายในด้านความมั่นคงครอบคลุมการใช้งานทางอินเตอร์เน็ตนั้นก็สามารถทำได้โดยการออกกำหมายแยกไปต่างหากไม่ใช่นำมารวมในกฎหมายเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องโดยพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ที่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่สอดแนมข้อมูลเหล่านี้ทำให้ทั้งประชาชนและผู้ประกอบการรู้สึกไม่ปลอดภัยแตกตื่นส่วนตัวในการทำงานที่ต่อต้านร่างกฎหมายนี้ก็เห็นว่าผู้ประกอบการไม่เห็นด้วยเพียงแต่ว่าผู้ประกอบการจะพูดหรือไม่เท่านั้นเอง





http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1423663406

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.