Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กุมภาพันธ์ 2558 สิทธิชัย โภไคยอุดม ชี้ "ดิจิทัล อีโคโนมี" ขาดเรื่องจะประสบความสำเร็จได้ มี 3 ส่วน คือ โครงสร้างพื้นฐาน กฎหมาย และการนำมาใช้งาน

ประเด็นหลัก


จะประสบความสำเร็จได้ มี 3 ส่วน คือ โครงสร้างพื้นฐาน กฎหมาย และการนำมาใช้งาน ซึ่งทุกภาคส่วนเกิดขึ้นจากการเกิดขึ้นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมในการส่งเสริมบุคลากรภาครัฐทุกภาคส่วนให้สนใจ และทุ่มเททำงานเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

"การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานของประเทศก็เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งเครือข่ายแบบมีสาย และไร้สาย ต้องมีการส่งเสริมการใช้ไฟเบอร์ออปติกในทุกบ้านทุกครัวเรือน รวมทั้งส่งเสริมการประมูลคลื่น 4G ที่ประมวลผลข้อมูลเร็วกว่า 3G"

ที่สำคัญต้องเข้าใจว่า ดิจิทัลอีโคโนมีอาศัยเทคโนโลยีไอทีอินเทอร์เน็ตจึงต้องศึกษาว่าจะเตรียมความรู้ และทักษะอย่างไร การเตรียมตัวที่ดีที่สุดคือการวางแผนว่าจะอยู่ส่วนใดของดิจิทัล



_____________________________________________________













3 มุมมองเรื่อง ศก.ดิจิทัล เร่งเติมความรู้-ทักษะ "คน"


เปิด 3 มุมมองว่าด้วยเรื่องสุดฮอต "ดิจิทัล อีโคโนมี" จากการสัมมนาในหัวข้อ "ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในแนวคิดเศรษฐกิจดิจิทัล" โดยสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (6 ก.พ. 2558)

"สิทธิชัย โภไคยอุดม" ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวว่า รัฐบาลนี้คิดขึ้นมาว่าจะนำนโยบายนี้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย เพราะโลกมีการพัฒนาเชื่อมโยงกันทุกภาคส่วน ทุกคนเริ่มสนใจในเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นจุดเริ่มต้นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หัวใจหลักอยู่ที่การพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องสร้างผู้ประกอบการให้เรียนรู้ เพราะเป็นโอกาสที่ดีในยุคดิจิทัล และนำมาประยุกต์ใช้ได้ในภาคเกษตรกรรม

การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในบริบทประเทศไทย ประกอบด้วย Digital mindset คือเพิ่มทักษะและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศของคนไทยและธุรกิจไทย สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิต

Digital infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

Digital Law พัฒนากฎระเบียบเพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ ป้องกันการกระทำผิดและคุ้มครองผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล และ Digital Data Base and Service พัฒนาการบริการและเชื่อมโยงระบบสารสนเทศของหน่วยงานรัฐ

จะประสบความสำเร็จได้ มี 3 ส่วน คือ โครงสร้างพื้นฐาน กฎหมาย และการนำมาใช้งาน ซึ่งทุกภาคส่วนเกิดขึ้นจากการเกิดขึ้นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมในการส่งเสริมบุคลากรภาครัฐทุกภาคส่วนให้สนใจ และทุ่มเททำงานเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

"การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานของประเทศก็เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งเครือข่ายแบบมีสาย และไร้สาย ต้องมีการส่งเสริมการใช้ไฟเบอร์ออปติกในทุกบ้านทุกครัวเรือน รวมทั้งส่งเสริมการประมูลคลื่น 4G ที่ประมวลผลข้อมูลเร็วกว่า 3G"

ที่สำคัญต้องเข้าใจว่า ดิจิทัลอีโคโนมีอาศัยเทคโนโลยีไอทีอินเทอร์เน็ตจึงต้องศึกษาว่าจะเตรียมความรู้ และทักษะอย่างไร การเตรียมตัวที่ดีที่สุดคือการวางแผนว่าจะอยู่ส่วนใดของดิจิทัล

ด้าน "วรากรณ์ สามโกเศศ" ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ดิจิทัลอีโคโนมีเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมด้านเทคโนโลยี และจับต้องได้ ต่างจาก "ครีเอทีฟอีโคโนมี" ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลงานเป็นการออกแบบเป็นหลัก ปัจจุบันภาคเกษตรเริ่มพัฒนาด้านดิจิทัล ทุกคนมีสมาร์ทโฟนเช็กราคาพืชผลบอกได้ว่าเป็นอย่างไร อนาคตจะเป็นอย่างไร ถ้ามีแอปพลิเคชั่นที่ส่งเสริมภาคเกษตรกรรมเชื่อว่าจะสร้างผลผลิต และรายได้มากขึ้น เช่น ที่จันทบุรีมีการส่งลำไย มังคุด มะม่วงไปจีนผ่านเว็บไซต์

สิ่งที่ควรทำคือการวางโครงสร้างพื้นฐาน วางถนนไฟเบอร์ออฟติกเชื่อมโยงทั้งประเทศในส่วนของภาครัฐ การใช้กฎหมายดูแลความปลอดภัยข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทุกภาค

สิ่งที่ควรเตรียมพร้อมอย่างแรก คือ เพิ่มทักษะและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ มองโลกให้กว้าง และเปิดกว้างทางความคิด มีความกล้า มั่นใจในตนเองและเข้าใจว่าไอทีเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกิดมูลค่าได้ 2. นโยบายที่ต่อเนื่องของแต่ละรัฐบาล และ3.อย่าให้เทคโนโลยีตัดขาดโลกที่มีการพึ่งพาอาศัยกันใช้ผิดทางหรือมากไปส่งผลเสียได้

ฟาก "อริยะ พนมยงค์" ผู้จัดการทั่วไป กูเกิล ประจำประเทศไทย กล่าวว่า กูเกิลเชื่อว่าจะพัฒนาดิจิทัลอีโคโนมีได้ คือคน 1.ส่งเสริมการศึกษา ปัจจุบันมีเครื่องมือทางการศึกษาและการเข้าถึงมากขึ้น 2.คุณภาพทำอย่างไรให้แต่ละภูมิภาค มีการศึกษาที่เท่าเทียมกันเพื่อให้เกิดการใช้ดิจิทัลอย่างเท่าเทียม ฝั่งผู้ประกอบการต้องให้เกิดขสตาร์ตอัพมากขึ้นไปเรียนรู้และสนับสนุน

3 ปีที่ผ่านมา สตาร์ตอัพหาเงินเข้าประเทศได้หลายล้านเหรียญสหรัฐ เอเชียกลายเป็นภูมิภาคที่ผลิตสตาร์ตอัพได้มากเป็นที่สนใจในระดับโลก คนไทยต้องมีทักษะการนำเสนอ ต้องเตรียมพร้อมให้แข่งขันระดับโลกได้

"เมื่อคนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้นไม่ควรแค่เล่นอินเทอร์เน็ตทั่วไป ต้องเรียนรู้การใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ สร้างทักษะการเรียนรู้มากขึ้น กล้าลองกล้าคิดนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ ไม่ใช่เล่นอย่างเดียว หากใช้ในทางที่ถูกต้องจะเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมดิจิทัลอีโคโนมี"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1423715943

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.