Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กุมภาพันธ์ 2558 THNIC เปิดตัว BKNIX เป็นทางเลือกหนึ่งในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ช่วยประหยัดทราฟฟิก และเพิ่มความสะดวกให้ไอเอสพีแต่ต้องจูงใจให้มีไอเอสพีหลายรายมาเชื่อมต่อให้ได้เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อจำนวนมาก

ประเด็นหลัก


ด้านนางมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ บมจ.อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (ไอเน็ต) กล่าวว่า บีเคนิกซ์เป็นทางเลือกหนึ่งในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ช่วยประหยัดทราฟฟิก และเพิ่มความสะดวกให้ไอเอสพีแต่ต้องจูงใจให้มีไอเอสพีหลายรายมาเชื่อมต่อให้ได้เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อจำนวนมาก

นายเซบาสเตียน โลฮอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัลคาเทล-ลูเซ่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การมีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นกลางขึ้นช่วยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ขณะที่ไอเอสพีต้องการความเร็วในการเชื่อมต่อข้อมูลที่มากขึ้นในราคาที่ลดลง ซึ่งโมเดลแบบบีเคนิกซ์หากสำเร็จจะช่วยให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยดีขึ้น เหมือนในประเทศอื่น ๆ เช่น ยูโร-อิกซ์ (Euro-IX) ที่ช่วยการเชื่อมต่อข้อมูลในยุโรปมาแล้ว


_____________________________________________________












ลงขันเปิด "บีเคนิกซ์" ลดต้นทุนไอเอสพี-เพิ่มความเร็วเน็ต


"ทีเอชนิค" จับมือพันธมิตร เปิดตัว "บีเคนิกซ์" ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางแห่งแรกในไทยช่วยลดตุ้นทุน "ไอเอสพี" และเพิ่มความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตภายในประเทศ

นางสาวกาญจนา กาญจนสุต รองประธานมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) กล่าวว่า ปัจจุบันการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเติบโตขึ้นมาก มีการพัฒนาและเข้าถึงเนื้อหาในประเทศสูงขึ้นทำให้การจราจรบนเครือข่ายในประเทศหนาแน่น ซึ่งการเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) แต่ละรายยังซับซ้อนต้องมีการเดินทางของข้อมูลทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจึงร่วมกับพันธมิตรหลายรายจัดตั้งบีเคนิกซ์ (Bangkok Neutral Internet exchange) ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตสำหรับไอเอสพีที่เป็นกลางแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการรับส่งข้อมูลและค่าใช้จ่ายได้ ทำให้ต้นทุนอินเทอร์เน็ตลดต่ำลง แต่ความเร็วสูงขึ้นโดยบีเคนิกซ์เป็นการระดมทุนของทีเอชนิค และพันธมิตร ได้แก่ อัลคาเทล-ลูเซ่น, ซิสโก้, ไอไอเจ (Internet Initiative Japan), องค์กรประชาคมอินเทอร์เน็ตสากล และเอ็นเอสอาร์ซี (Network Startup Resource Center) เป็นต้น ที่สนับสนุนเงินทุน และอุปกรณ์ ทำให้ปีแรกไม่คิดค่าใช้บริการเพื่อจูงใจให้ไอเอสพีมาเชื่อมต่อ และปีถัดไปจะเก็บตามค่าใช้จ่ายจริง ซึ่งจะช่วยให้ไอเอสพีลดต้นทุนได้ 30-40% เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา มีผู้เชื่อมต่อพอร์ตแล้ว 2 ราย ได้แก่ เครือข่ายเพื่อการศึกษาวิจัย (ยูนิเน็ต) และบริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (ไอเน็ต)

ด้านนางมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ บมจ.อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (ไอเน็ต) กล่าวว่า บีเคนิกซ์เป็นทางเลือกหนึ่งในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ช่วยประหยัดทราฟฟิก และเพิ่มความสะดวกให้ไอเอสพีแต่ต้องจูงใจให้มีไอเอสพีหลายรายมาเชื่อมต่อให้ได้เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อจำนวนมาก

นายเซบาสเตียน โลฮอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัลคาเทล-ลูเซ่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การมีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นกลางขึ้นช่วยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ขณะที่ไอเอสพีต้องการความเร็วในการเชื่อมต่อข้อมูลที่มากขึ้นในราคาที่ลดลง ซึ่งโมเดลแบบบีเคนิกซ์หากสำเร็จจะช่วยให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยดีขึ้น เหมือนในประเทศอื่น ๆ เช่น ยูโร-อิกซ์ (Euro-IX) ที่ช่วยการเชื่อมต่อข้อมูลในยุโรปมาแล้ว


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1424146021

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.