Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 กุมภาพันธ์ 2558 กสทช.ประวิทย์ ชี้ค่ายมือถือคิดค่าบริการเป็นวินาที มันแพงกว่าคิดเป็นนาที พบสูงสุดอยู่ที่ 1.80 บาทต่อนาที ทั้งที่ระเบียบเพดานราคาหากใช้คลื่น 2100 ต้องไม่เกิน 0.84 บาทต่อนาที ส่วนคลื่นความถี่ย่านอื่นต้องไม่เกิน 0.99 บาทต่อนาที

ประเด็นหลัก



    ทั้งนี้ จากการพิจารณาแพ็กเกจทั้งหมดที่ออกมาทำตลาด มีข้อสังเกตได้ว่า แพ็กเกจที่ออกมายังเป็นลักษณะทางเลือกเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการให้ทุกแพ็กเกจคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที ซึ่งค่าบริการเมื่อมาคำนวณเฉลี่ยเป็นนาทีแล้วพบว่ายังมีค่าบริการที่สูงกว่าแพ็กเกจเดิมที่คิดค่าโทร.เป็นนาที อาทิ บางแพ็กเกจมีค่าบริการอยู่ที่ 0.94 บาทต่อนาที หรือที่พบสูงสุดอยู่ที่ 1.80 บาทต่อนาที ซึ่งขัดแย้งกับระเบียบเพดานราคาขั้นสูงที่กำหนดให้คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 3 จี ค่าบริการต้องไม่เกิน 0.84 บาทต่อนาที ส่วนคลื่นความถี่ย่านอื่นต้องไม่เกิน 0.99 บาทต่อนาที

_____________________________________________________










กสทช.พบค่ายมือถือหมกเม็ดโปรวินาที


  หมอลี่โวยโปรคิดค่าโทร.ตามจริงวินาทีแพง ชี้ผู้บริโภคอาจไม่ใช้ เหตุดาต้าคิดการใช้งานเป็นนาที วอนค่ายมือถือยกเลิกการปัดเศษทุกกรณี
    นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า จากคำสั่งของ กสทช. ที่ให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ออกโปรโมชั่นแพ็กเกจการใช้งานเสียงที่คิดค่าโทร.ตามจริงเป็นวินาทีต้องดำเนินการก่อนวันที่ 1 มี.ค.58 ตอนนี้ทุกค่ายได้ออกแพ็กเกจดังกล่าวมาแล้ว
    ทั้งนี้ จากการพิจารณาแพ็กเกจทั้งหมดที่ออกมาทำตลาด มีข้อสังเกตได้ว่า แพ็กเกจที่ออกมายังเป็นลักษณะทางเลือกเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการให้ทุกแพ็กเกจคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที ซึ่งค่าบริการเมื่อมาคำนวณเฉลี่ยเป็นนาทีแล้วพบว่ายังมีค่าบริการที่สูงกว่าแพ็กเกจเดิมที่คิดค่าโทร.เป็นนาที อาทิ บางแพ็กเกจมีค่าบริการอยู่ที่ 0.94 บาทต่อนาที หรือที่พบสูงสุดอยู่ที่ 1.80 บาทต่อนาที ซึ่งขัดแย้งกับระเบียบเพดานราคาขั้นสูงที่กำหนดให้คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 3 จี ค่าบริการต้องไม่เกิน 0.84 บาทต่อนาที ส่วนคลื่นความถี่ย่านอื่นต้องไม่เกิน 0.99 บาทต่อนาที
    และยังพบว่า ผู้ประกอบการทำผู้บริโภคสับสน จากการที่โฆษณาเป็นวินาที ทำให้ประชาชนสับสนจึงไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะคุ้มค่ากว่าหรือไม่ ต่างจากในต่างประเทศที่จะโฆษณาค่าบริการเป็นนาที แต่คิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที อีกทั้งบางค่ายคิดค่าบริการแบบปัดเศษทุก 6 วินาที ซึ่งวิธีดังกล่าวจะทำให้ผู้บริโภคที่ตั้งค่าการตรวจวัดเวลาการใช้งานได้ด้วยตนเอง เมื่อวัดแล้วผลลัพธ์ที่ออกมาจะไม่ตรงกับผู้ให้บริการ และอาจเกิดปัญหาฟ้องร้องภายหลังได้
    สำหรับในส่วนของค่าบริการเชื่อมต่อข้อมูลอินเทอร์เน็ต (ดาต้า) 3 จี หรือ 4 จี บางค่ายมือถือมีการเปลี่ยนวิธีคิดค่าบริการเป็นแบบคิดเป็นนาที และคิดเป็นจำนวนเมกะบิตโดยไม่กำหนดความเร็วขั้นต่ำ ซึ่งอาจทำให้ค่าใช้บริการส่วนนี้สูงขึ้นกว่าปกติได้ อาจทำผู้บริโภคไม่กล้าเปลี่ยนไปใช้งาน
    "อยากขอให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยกเลิกการปัดเศษทุกกรณี มีการประชาสัมพันธ์โฆษณาแบบเป็นนาที เพิ่มความหลากหลายของแพ็กเกจมากขึ้นให้เป็นทุกแพ็กเกจที่ออกต่อจากนี้ ต้องคิดค่าบริการเป็นวินาที และขอให้ลดราคาค่าใช้บริการให้ถูกลงตามที่ กสทช.กำหนด" นายประวิทย์ กล่าว.


http://www.thaipost.net/news/200215/103235


_______________________



แพ็กเกจค่าโทรวินาทีถูกไม่จริง กสทช.เผยคำนวณเทียบนาทีแพงกว่า จี้ค่ายมือถือทำใหม่ให้ตรงเงื่อนไข

Prev1 of 1Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 20 ก.พ. 2558 เวลา 11:40:05 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

กสทช.คุ้มครองผู้บริโภคจวกค่ายมือถือออกแพ็กเกจคิดค่าโทรเป็นวินาทีแพงกว่าเดิม ขัดระเบียบเพดานราคาขั้นสูงที่กำหนดไว้ แถมคิดค่าใช้อินเตอร์เน็ตสูงกว่าเก่า ขู่ที่สุดไม่จัดการให้ถูกต้อง จะตรวจสอบแพ็กเกจอย่างละเอียด

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า จากกรณีที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย ได้ออกแพ็กเกจที่ให้บริการตามจริงเป็นวินาทีออกมาทำตลาดครบทุกรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามคำสั่งของ กสทช.ที่ให้ดำเนินการก่อนวันที่ 1 มีนาคมนี้ โดยจากการพิจารณาแพ็กเกจทั้งหมดที่ออกมาทำตลาดในเวลานี้ พบว่า 1.แพ็กเกจที่ออกมายังเป็นลักษณะทางเลือกเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการให้ทุกแพ็กเกจที่จะออกต่อไปนี้เป็นแบบคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที 2.ค่าบริการเมื่อมาคำนวณเฉลี่ยเป็นนาทีแล้วพบว่ายังมีค่าบริการที่สูงกว่าแพ็กเกจเดิมที่คิดค่าโทรเป็นนาที อาทิ บางแพ็กเกจมีค่าบริการต่อนาทีอยู่ที่ 94 สตางค์ต่อนาที หรือที่พบสูงที่สุดอยู่ที่ 1.80 บาท ซึ่งขัดกับระเบียบเพดานราคาขั้นสูงที่กำหนดให้คลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ ค่าบริการต่อนาทีต้องไม่เกิน 84 สตางค์ต่อนาที ส่วนคลื่นความถี่ย่านอื่นๆ ต้องไม่เกิน 99 สตางค์ต่อนาที

นพ.ประวิทย์กล่าวว่า ประเด็นที่ 3.ผู้ประกอบการทำผู้บริโภคสับสน จากการโฆษณาทำตลาดเป็นวินาที ทำให้ประชาชนสับสนเมื่อเทียบกับการคำนวณราคาแบบนาที จึงไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะคุ้มค่ากว่าหรือไม่ ต่างจากต่างประเทศที่จะโฆษณาค่าบริการเป็นนาทีแต่คิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที 4.ผู้ให้บริการบางรายคิดค่าบริการแบบปัดเศษทุก 6 วินาที ซึ่งวิธีดังกล่าว จะทำให้ผู้บริโภคที่มีโทรศัพท์ที่สามารถวัดเวลาการใช้งานได้ด้วยตนเอง พอวัดแล้วผลลัพธ์ที่ออกมาจะไม่ตรงกับผู้ให้บริการ และอาจเกิดปัญหาฟ้องร้องภายหลังได้ และ 5.ในส่วนของค่าบริการเชื่อมต่อข้อมูล (ดาต้า) ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 3จี หรือ 4จี ผู้ให้บริการบางรายมีการเปลี่ยนวิธีคิดค่าบริการเป็นแบบคิดเป็นนาที และคิดเป็นจำนวนเมกะบิตโดยไม่กำหนดความเร็วขั้นต่ำ ซึ่งอาจทำให้ค่าใช้บริการสูงขึ้นกว่าปกติได้

"อยากให้ค่ายมือถือออกแพ็กเกจคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาทีมากขึ้น และหลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ที่ยังถือว่าค่าบริการสูงอยู่ ผู้บริโภคอาจไม่เปลี่ยนการใช้งาน และท้ายสุดอาจทำให้ค่ายมือถือพูดได้ว่า การคิดค่าโทรเป็นวินาทีไม่เวิร์ก ก็เป็นได้" นพ.ประวิทย์กล่าว และว่า ส่วนตัวอยากให้ผู้ให้บริการยกเลิกการปัดเศษทุกกรณี และขอให้ลดราคาค่าใช้บริการถูกลงตามที่ กสทช.กำหนด และท้ายสุดอาจให้สำนักงาน กสทช. ตรวจสอบว่าแพ็กเกจที่ออกมา ตอบสนองมติที่ประชุมสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสังคม จริงหรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นค่าบริการต่อนาทีที่เกินกว่า กสทช.กำหนด




ที่มา : นสพ.มติชน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1424406260

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.