Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 กุมภาพันธ์ 2558 ดร.พัชรสุทธิ์ สุริตตานนท์ ระบุ โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม การจัดสรรคลื่นความถี่ต้องคำนึงถึง 3 ด้าน คือ 1. ต้องมีประสิทธิภาพ 2. คลื่นที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ต้องดึงกลับมาจัดสรรใหม่ให้ได้ และ 3. ต้องไม่ให้เกิดการกักตุนคลื่นความถี่

ประเด็นหลัก


ขณะที่ ดร.พัชรสุทธิ์ สุริตตานนท์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า การสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยเช่นโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ต้องสร้างให้ผู้เล่นตลาดแข่งขันได้อย่างเต็มที่ ปัจจุบันประเทศยังมีปัญหาในพื้นที่ห่างไกลที่คลื่นความถี่ไม่เพียงพอ ดังนั้นการจัดสรรคลื่นความถี่ต้องคำนึงถึง 3 ด้าน คือ 1. ต้องมีประสิทธิภาพ 2. คลื่นที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ต้องดึงกลับมาจัดสรรใหม่ให้ได้ และ 3. ต้องไม่ให้เกิดการกักตุนคลื่นความถี่ ดังนั้นต้องใช้ระบบตลาดให้เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาโครงสร้าง



_____________________________________________________










การกำกับดูแลตลาดและการแข่งขันที่เหมาะสมสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอล” ว่า เรื่องของดิจิตอล อีโคโนมี ในแง่หนึ่งมีเรื่องที่ต้องระบุว่าอะไรแข่งขันได้ อะไรไม่ต้องแข่งขัน


นักวิชาการชี้เศรษฐกิจดิจิตอลจะโตได้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมฯ ต้องดี ไอซีทีเผยอีก 1 เดือน รู้ความชัดเจนนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล

สถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณกับธุรกิจและกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชมรมคอลัมนิสต์ และนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดสัมมนาเรื่อง “ทิศทางโครงสร้างพื้นฐานโทร คมนาคมไทย หลังการปฏิรูปเศรษฐกิจดิจิตอล” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง นักวิชาการ ภาครัฐและเอกชน ร่วมงานสัมมนาเพื่อวิเคราะห์ถึงแนวโน้มในอนาคตของโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมของประเทศหลังการปฏิรูปเศรษฐกิจดิจิตอล จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจบนฐานดิจิตอลหรือ “ดิจิตอล อีโคโนมี” จำนวน 8 ฉบับ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการยกร่างแก้ไขกฎหมาย

ผศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในหัวข้อ“การกำกับดูแลตลาดและการแข่งขันที่เหมาะสมสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอล” ว่า เรื่องของดิจิตอล อีโคโนมี ในแง่หนึ่งมีเรื่องที่ต้องระบุว่าอะไรแข่งขันได้ อะไรไม่ต้องแข่งขัน เพราะมีบางเรื่องที่เอกชนทำไม่ได้และรัฐต้องทำเอง ดังนั้นต้องขีดเส้นแบ่งให้ชัดเจน หากก้าวสู่ดิจิตอล อีโคโนมี ตลาดจะไม่เติบโตถ้าไม่มีเอกชนเข้าไปเกี่ยวข้อง

ขณะที่ ดร.พัชรสุทธิ์ สุริตตานนท์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า การสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยเช่นโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ต้องสร้างให้ผู้เล่นตลาดแข่งขันได้อย่างเต็มที่ ปัจจุบันประเทศยังมีปัญหาในพื้นที่ห่างไกลที่คลื่นความถี่ไม่เพียงพอ ดังนั้นการจัดสรรคลื่นความถี่ต้องคำนึงถึง 3 ด้าน คือ 1. ต้องมีประสิทธิภาพ 2. คลื่นที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ต้องดึงกลับมาจัดสรรใหม่ให้ได้ และ 3. ต้องไม่ให้เกิดการกักตุนคลื่นความถี่ ดังนั้นต้องใช้ระบบตลาดให้เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาโครงสร้าง

“ในต่างประเทศส่วนใหญ่จัดสรรคลื่นความถี่ด้วยการประมูล และใช้วิธีหลากหลาย ซึ่งประเทศไทยยังอยู่ในช่วงตั้งไข่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันศึกษา ออกความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ โดยคลื่นความถี่บางประเภทอาจไม่เหมาะสมกับการประมูล แต่ขึ้นอยู่กับโมเดลในการสร้างแรงจูงใจด้านเศรษฐกิจ เช่น คลื่นความถี่ที่ใช้ในสาธารณะ ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องใช้ ดังนั้นอาจให้เอกชนประมูลคลื่นความถี่ได้แต่ต้องกันคลื่นความถี่ส่วนหนึ่งไว้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เมื่อเกิดภัยต่อสาธารณะที่ต้องมีการแจ้งเตือนภัย (Public Security )” ดร.พัชรสุทธิ์ กล่าว

ดร.พัชรสุทธิ์ กล่าวต่อว่า เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายใหม่ให้ดูแลเรื่องคลื่นความถี่ ดังนั้นคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอลต้องตอบคำถามให้ได้ว่า การจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยการคัดเลือก (บิวตี้คอนเทส) กับการประมูล แบบไหนให้ประโยชน์มากกว่ากัน เมื่อเทียบกับเงื่อนไข 5 ข้อ คือ เรื่องประสิทธิ ภาพ รายได้จากการจัดสรร ความโปร่งใส ความยุติธรรม และความเข้าใจง่ายในการจัดสรร เพราะการจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมายใหม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิตอล

นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่กระทรวงไอซีทีต้องฟังทุกความเห็น ส่วนนโยบายเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอลคาดว่าภายใน 1 เดือน รัฐบาลน่าจะประกาศความชัดเจนออกมา.



http://www.dailynews.co.th/Content/IT/302033/เศรษฐกิจดิจิตอลจะโตโครงสร้างโทรคมฯต้องดี

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.