Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 กุมภาพันธ์ 2558 Trend Micro เปิด 'เทรนด์แลป ' ในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นศูนย์วิจัยขนาดใหญ่เนื่องจากเหมือนเป็นศูนย์กลาง ทำให้การเดินทางไปสำนักงานใหญ่ที่อเมริกาทำได้ง่าย เดินทางไปเอเชียก็ง่าย และมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี

ประเด็นหลัก


       เทรนด์ไมโครเปิด 'เทรนด์แลป ' ในประเทศฟิลิปปินส์ให้สื่อมวลชนไทยได้สัมผัสกันแบบส่วนตัว ที่นี่เป็นแลป 1 ใน 13 แห่ง ของเทรนด์ไมโครที่กระจายอยู่ทั่วโลกใน 11 ประเทศ ทำหน้าที่หลักคือการเฝ้าระวังไวรัสและทำงานแบบ 24x7 เพื่อคอยตรวจจับมัลแวร์และไวรัสที่กระจายอยู่ทั่วไปทั้งบนเซิร์ฟเวอร์ เวอร์ชวลไลเซชัน และคลาวด์ โดยมีเทรนด์แลปในไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น เป็นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์
     
       'เทรนด์แลป' ถือเป็นหนึ่งในการสร้างนวัตกรรมโซลูชันด้านความปลอดภัย ทำให้เทรนด์ไมโครเป็นผู้นำความปลอดภัยในเซิร์ฟเวอร์ เวอร์ชวลไลเซชันและคลาวด์ โดยมีบริษัทระดับท็อป 50 ชั้นนำของโลกเลือกใช้ ปัจจุบันเทรนด์ไมโครมีพนักงาน 5,200 คนใน 38 ประเทศทั่วโลก มีลูกค้ากว่า 50,000 รายทั่วโลก และให้การปกป้องมากกว่า 155,000,000 ล้านจุด
     
       ดันญ่า ธัคการ์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท เทรนด์ ไมโคร จำกัด กล่าวว่า การเลือกฟิลิปปินส์เป็นศูนย์วิจัยขนาดใหญ่เนื่องจากเหมือนเป็นศูนย์กลาง ทำให้การเดินทางไปสำนักงานใหญ่ที่อเมริกาทำได้ง่าย เดินทางไปเอเชียก็ง่าย และมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี รวมไปถึงคนฟิลิปปินส์มีเซอร์วิสมายด์สูง ที่นี่จะเน้นเทคนิคอลซัปพอร์ตเป็นหลัก ไม่ใช่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์


_____________________________________________________













บุก 'เทรนด์แลป' ฟิลิปปินส์ ส่องไวรัสมาแรงปี 2558(Cyber Weekend)


        นับวันระบบความปลอดภัยเริ่มจะกลายเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ไม่แพ้กับเทคโนโลยีที่เริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตอย่างคลาวด์ เผลอๆ วันหนึ่งอาจจะสำคัญกว่าเพราะเมื่อทุกอย่างพร้อม แต่ระบบความปลอดภัยไม่พร้อมก็คงไม่มีประโยชน์
     
       เทรนด์ไมโครเปิด 'เทรนด์แลป ' ในประเทศฟิลิปปินส์ให้สื่อมวลชนไทยได้สัมผัสกันแบบส่วนตัว ที่นี่เป็นแลป 1 ใน 13 แห่ง ของเทรนด์ไมโครที่กระจายอยู่ทั่วโลกใน 11 ประเทศ ทำหน้าที่หลักคือการเฝ้าระวังไวรัสและทำงานแบบ 24x7 เพื่อคอยตรวจจับมัลแวร์และไวรัสที่กระจายอยู่ทั่วไปทั้งบนเซิร์ฟเวอร์ เวอร์ชวลไลเซชัน และคลาวด์ โดยมีเทรนด์แลปในไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น เป็นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์
     
       'เทรนด์แลป' ถือเป็นหนึ่งในการสร้างนวัตกรรมโซลูชันด้านความปลอดภัย ทำให้เทรนด์ไมโครเป็นผู้นำความปลอดภัยในเซิร์ฟเวอร์ เวอร์ชวลไลเซชันและคลาวด์ โดยมีบริษัทระดับท็อป 50 ชั้นนำของโลกเลือกใช้ ปัจจุบันเทรนด์ไมโครมีพนักงาน 5,200 คนใน 38 ประเทศทั่วโลก มีลูกค้ากว่า 50,000 รายทั่วโลก และให้การปกป้องมากกว่า 155,000,000 ล้านจุด
     
       ดันญ่า ธัคการ์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท เทรนด์ ไมโคร จำกัด กล่าวว่า การเลือกฟิลิปปินส์เป็นศูนย์วิจัยขนาดใหญ่เนื่องจากเหมือนเป็นศูนย์กลาง ทำให้การเดินทางไปสำนักงานใหญ่ที่อเมริกาทำได้ง่าย เดินทางไปเอเชียก็ง่าย และมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี รวมไปถึงคนฟิลิปปินส์มีเซอร์วิสมายด์สูง ที่นี่จะเน้นเทคนิคอลซัปพอร์ตเป็นหลัก ไม่ใช่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พนักงาน 1,200 คน ส่วนใหญ่จะเป็นวิศวกรด้านความปลอดภัย
     
       *** วิวัฒนาการไวรัสจากพื้นๆ เริ่มซับซ้อนมากขึ้น
     
       ปัจจุบันเทรนด์ไมโครมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทั้งธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก และธุรกิจขนาดใหญ่ และถือเป็นบริษัทซีเคียวริตี้ที่ใหญ่ที่สุดในด้านซอฟต์แวร์ซีเคียวริตี้เพียงอย่างเดียว ซึ่งการมี เทรนด์แลป ที่กระจายอยู่ทั่วโลกนอกจากจะเน้นการหาไวรัสทั่วโลกแล้วยังเป็นการกระจายความเสี่ยงทางด้านภัยธรรมชาติต่างๆ ที่จะเข้ามากระทบกับ เทรนด์แลปในบางแห่ง เพื่อให้การมอนิเตอร์มัลแวร์ในหลักเทราไบต์ ในแต่ละวัน เป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกที่ทั่วโลก
     
       'ยุคแรกไวรัสธรรมดาแพร่จากเครื่องสู่เครื่องด้วยการกอปปี้ไฟล์ซึ่งยังไม่ซับซ้อนมาก ยุคต่อมาเป็นยุคเวิร์มซึ่งต่างจากไวรัสตรงที่ เวิร์มอยู่ในเน็ตเวิร์กก็ทำงานแล้ว แต่ไวรัสต้องไปประกอบร่างในพีซีแล้วทำให้ระบบอื่นช้า แชร์ไฟล์ไม่ได้ ล็อกอินไม่ได้ ยุคต่อมาเป็นยุคเว็บเธรด โดยเฉพาะในปี 2009 ที่คนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ทำให้ไวรัส 80% มาจากเว็บ ทำให้ต้องมีการบล็อกเว็บเลย และที่สำคัญในยุคนี้คือแฮกเกอร์จะเริ่มเป็นองค์กรอาชญากรรมมากขึ้น พุ่งเป้าที่องค์กรธุรกิจมากขึ้นและต้องการเงินค่าไถ่'
     
       ยุคโซเชียล ซึ่งเป็นยุคที่เอาลิงค์ไปฝากไว้ที่เฟซบุ๊ก แล้วให้คลิ๊กทำให้โดนไวรัส และล่าสุดยุค การโจมตีแบบเฉพาะเจาะจง เลือกเป้าว่าจะจัดการกับใคร เป็นสิ่งที่ต้องระวังอยู่ในขณะนี้
     
       *** สรุปความเสี่ยงของเมืองไทยมีอะไรบ้าง
     
       ไมร่า พิเลา ผู้อำนวยการ ทีม Core Technology - ศูนย์เทรนด์แลป บริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าวว่า เทรนด์แลปพบว่ามัลแวร์ Downad และ Sality มีมากในไทย ซึ่งมาจากวินโดวส์เอ็กซ์พีที่ยังมีการใช้งานในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริษัทหรือองค์กรใหญ่ๆ นอกจากนี้ยังพบว่ามีไวรัสในมือถือมากขึ้นถึง 2.3 ล้านตัว ใน 9 เดือนแรกของปี 2014 ส่วนใหญ่จะเป็นการหลอกให้ดาวน์โหลดเว็บไซต์
     
       ส่วนในปีนี้จะมีความเสี่ยงในส่วนของโมบายแบงก์กิงกับออนไลน์แบงก์กิงโตขึ้นอย่างแน่นอน และโมบายแอปของแอนดรอยด์จะมีมัลลีเชียสตัวใหม่ๆ เกิดขึ้นอีก 8 ล้านตัว ในปีนี้ เพราะผู้ใช้มีการใช้งานมือถือเพิ่มมากขึ้น โดยสูงกว่าปี 2014 เท่าตัว ซึ่งอยู่ที่ 4 ล้านตัว และปีนี้ไวรัสระบบปฏิบัติการแมคอินทอชจะมาแน่นอนเนื่องจากจะมีการเติบโตของการใช้งานเพิ่มขึ้นทำให้อาชญากรไซเบอร์พุ่งเป้าไปมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการอาศัยช่องโหว่ของเลเยอร์แอปพลิเคชันมากขึ้น และมุ่งเข้าถึงโอเพ่นซอร์สมากขึ้น
     
       'ไวรัสตัวใหม่จะมีการเจาะจงมากขึ้น ไม่รวดเร็ว แต่จะต้องเอาให้ได้เพิ่มมากขึ้น และการใช้โมบายเพิ่มมากขึ้น ก็ทำให้การโจมตีมากขึ้นด้วย ในเมืองไทยนั้นความเสี่ยงของมือถือจะมาจากไลฟ์สไตล์ของคนและภาษาที่ใช้ โดยมักจะเกี่ยวข้องกับในธุรกิจของสถาบันการเงินและธุรกิจค้าปลีก เพราะคนไทยชอบใช้งานธุรกรรมผ่านมือถือ และการซื้อของผ่านมือถือ ทำให้ธุรกิจอย่างสถาบันการเงินและค้าปลีกที่ให้บริการในด้านนี้มีความเสี่ยง ซึ่งเทรนด์ไมโครมีโซลูชันที่ปกป้องในเรื่องนี้'
     
       เทรนด์ไมโครมีการคาดการณ์ในแต่ละปีว่าจะมีอะไรบ้างที่เป็นเว็บเธรด และหากพบว่าเป็นเว็บเธรดจริงก็จะแจ้งเตือนลูกค้าเลย เวลามีการแจ้งเตือนจะมีการไล่ไปหายังต้นตอ ว่าจะเกิดได้จากอะไรบ้าง ส่งไปหาทีมบนเว็บบล็อก ซึ่งกลุ่มลูกค้าของไทยจะเป็นในส่วนของภาครัฐ การศึกษาและองค์กรใหญ่ รวมไปถึงแมนูแฟคเจอริ่ง
     
       'ในการตรวจจับภัยคุกคามใหม่ๆจะเป็นการเก็บตัวอย่างไฟล์จาก honeypot เครือข่ายทางด้าน security รวมไปจนถึงไฟล์ที่ได้รับจากทางลูกค้า โดยข้อมูลจัดเก็บรวมไปถึงข้อมูลการโจมตีบนเครือข่ายเช่นต้นตอและปลายทาง รูปแบบการโจมตีแบบใหม่ๆ หลังจากนั้นข้อมูลที่ได้จะถูกส่งไปยัง TrendLabs 13 แห่งทั่วโลกเพื่อให้นักวิจัยทำการออก pattern ที่ใช้ในการตรวจจับ คลีนอัพ และป้องกัน'
     
       *** ปีนี้ระวังมัลแวร์เรียกค่าไถ่แบบเข้ารหัสข้อมูล
     
       ในปีที่ผ่านมาบริษัทอย่างเช่น Facebook, Google และ Microsoft ได้เริ่มหันมาใช้วิธีการยืนยันตัวตนของผู้ใช้สองระดับ (Two-Factor Authentication) ส่วน Apple มีความก้าวหน้าอย่างมากในแง่ของการคุ้มครองอุปกรณ์และข้อมูลส่วนตัวหลังจากที่เริ่มมีการโดนแฮกบ้างแล้ว
     
       ส่วนที่น่าจับตาคือมีการตรวจพบมัลแวร์เรียกค่าไถ่แบบเข้ารหัสข้อมูล (Crypto-Ransomware) ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และจะต่อเนื่องถึงปีนี้ โดยมัลแวร์ชนิดนี้จะมีพฤติกรรมเข้ารหัสไฟล์เอกสารของผู้ใช้ส่งผลให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์หรือคอมพิวเตอร์ได้ และแสดงข้อความขู่ให้ผู้ใช้โอนเงินให้แก่ผู้ควบคุมมัลแวร์เพื่อแลกกับการถอดรหัสเพื่อกู้ข้อมูลคืนมา โดยพบในภูมิภาคอย่างทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป แต่ก็พบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและยังพบมัลแวร์ในลักษณะนี้แต่เป็นรุ่นเก่าในทวีปเอเชียบ้าง แต่ก็แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการแพร่กระจายที่เพิ่มมากขึ้นของมัลแวร์เรียกค่าไถ่แบบเข้ารหัสข้อมูลในอนาคตอันใกล้
     
       การติดมัลแวร์เหล่านี้ก็เกิดจากนิสัยการท่องเว็บที่ไม่เหมาะสม และไม่ได้ติดตั้งโซลูชันรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย ที่ผ่านมารายชื่อประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกเหนือจากสหรัฐฯ และยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ประเทศอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่อมัลแวร์ลักษณะนี้ก็ยังมี อินเดีย ไทย อินโดนีเซีย ไต้หวัน เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์และนิวซีแลนด์
     
       เทรนด์ไมโครเตือนว่าแม้มัลแวร์จะอ้างว่าจะถอดรหัสไฟล์ข้อมูลคืนให้หลังจากที่ได้รับเงิน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีโอกาสน้อยมากที่จะได้รับข้อมูลกลับคืน แม้ว่าผู้ใช้จะยอมจ่ายค่าไถ่ให้ก็ตามวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกัน Ransomware ประเภทนี้เสียแต่เนิ่นๆ โดยหลีกเลี่ยงการติดมัลแวร์ CTB Locker ด้วยการหลีกเลี่ยงการคลิกลิงค์ที่น่าสงสัย แบ็กอัพข้อมูลสำคัญ ตรวจสอบชื่อผู้ส่งอีเมล ตรวจสอบเนื้อหาและไฟล์แนบในอีเมล์อย่างรอบคอบ ก่อนที่จะดำเนินการคลิ๊กหรือเปิดไฟล์ใดๆ
     



http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000020490

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.