Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 กุมภาพันธ์ 2558 TRUE ระบุ ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจอีบิสซิเนสมีรายได้หลักมาจากบริการ "ทรูมันนี่" โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามีรายได้กว่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากปี 2556 มียอดการชำระเงินในระบบ (ทรานแซ็กชั่น) 48,000 ล้านบาท

ประเด็นหลัก

ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจอีบิสซิเนสมีรายได้หลักมาจากบริการ "ทรูมันนี่" โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามีรายได้กว่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากปี 2556 มียอดการชำระเงินในระบบ (ทรานแซ็กชั่น) 48,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการจ่ายบิลสาธารณูปโภคต่าง ๆ มูลค่าเฉลี่ย 700-800 บาท/ครั้ง มีสัดส่วน 40%, เติมเงินโทรศัพท์มือถือ และบริการออนไลน์ต่าง ๆ เฉลี่ย 250-300 บาท/ครั้ง มีสัดส่วน 30% และการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเสมือนหรือวีการ์ด" และบริการอื่น ๆ 30% ซึ่งบัตรเครดิตเสมือนเปิดให้บริการเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ใช้งาน 30,000 ไอดี เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10,000 ไอดี/เดือน มียอดเงินหมุนเวียน 10 ล้านบาท/เดือน

บริการหลักของทรูมันนี่ประกอบด้วย กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ "อีวอลเลต" ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนใช้ 3,500,000 ไอดี มีผู้ใช้งานต่อเนื่อง (ทำธุรกรรมเฉลี่ย 1 ครั้ง/เดือน) 300,000 ไอดี, จำหน่ายบัตรเงินสดทรูมันนี่, ให้บริการตู้จ่ายบิล และมีจุดรับชำระเงินทรูมันนี่กว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศ และปี 2558 ตั้งเป้าว่ายอดเงินหมุนเวียนจะเติบโต 30% มีรายได้เพิ่ม 15% จากปี 2557 โดยจะมีการทำโปรโมชั่นกับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เพื่อให้จำนวนบัตรเครดิตเสมือนมีผู้ใช้งานถึง 120,000 ไอดี และมีแผนขยายธุรกิจไปประเทศเพื่อนบ้าน เริ่มต้นที่พม่าเป็นแห่งแรก



_____________________________________________________











ทรูผนึกซี.พี.จัดทัพธุรกิจอีบิสซิเนส ยกเครื่องระบบ-บริการทาบรัศมี"อีเบย์-เพย์พาล"

กลุ่มทรูผนึกเครือ ซี.พี.จัดทัพธุรกิจ "อีบิสซิเนส" เพิ่มดีกรีความร่วมมือพัฒนาบริการตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม ลงทุนเพิ่ม 5 เท่า เพิ่มทีมงาน-อัพเกรดระบบหลังบ้านใหม่ หวังยกระดับบริการทาบรัศมียักษ์ข้ามชาติ "เพย์พาล-อีเบย์-อเมซอน" ประเดิมแปลงโฉม "วีเลิฟช็อปปิ้ง"เลิกเก็บค่าเช่าพื้นที่ร้านค้าปลุกตลาดอีคอมเมิร์ซต่อเนื่อง ระดมโปรโมชั่น กระตุ้นยอดใช้จ่าย "ทรูมันนี่" เพิ่ม 30% ปั๊มรายได้โต 15% เร่งเกมบุกธุรกิจ "ดาต้าเซ็นเตอร์-ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง"

นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจอีบิสซิเนส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังกลุ่มทรูมีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ โดยแยกธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับโทรคมนาคมออกไป ทำให้กลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซขยับมาอยู่ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซี.พี. บริษัทแม่ด้วยการตั้งเป็นกลุ่มธุรกิจอีบิสซิเนส มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบริการต่าง ๆ ให้ใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และขยายบริการไปยังลูกค้าทั่วไปไม่จำกัดเฉพาะลูกค้าทรู

ประกอบด้วยบริการชำระเงินออนไลน์ "ทรูมันนี่", บริการอีมาร์เก็ตเพลสผ่านเว็บไซต์วีเลิฟช็อปปิ้ง, เว็บไซต์ไอทรูมาร์ทที่คัดเลือกสินค้ามาขายออนไลน์, บริการให้คำปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์ และทรูอินเทอร์เน็ต ดาต้าเซ็นเตอร์ ให้บริการศูนย์ข้อมูล และระบบคลาวด์

อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มธุรกิจอีบิสซิเนสจะอยู่ภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ แต่ยังรายงานตรงกับนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรเชั่น ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการของเครือเจริญโภคภัณฑ์

"เราอยากให้บริการแก่ผู้บริโภคทุกคน ไม่ใช่แค่ลูกค้ากลุ่มทรู นี่คือสาเหตุที่ทำให้กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซ และบริการออนไลน์ไปอยู่ในร่มของ ซี.พี.โดยตรงน่าจะเหมาะสมกว่า โดยตั้งชื่อใหม่ว่า กลุ่มธุรกิจอีบิสซิเนส โดยจำลองโครงสร้างมาจากเว็บอีคอมเมิร์ซระดับโลก อย่างทรูมันนี่เป็นเหมือนเพย์พาล หรือระบบชำระเงินกลางที่เว็บอีคอมเมิร์ซอื่น ๆ มาใช้ หรือวีเลิฟช็อปปิ้ง" เป็นเหมือนอีเบย์ และไอทรูมาร์ท เป็นเหมือนเว็บไซต์อเมซอนที่เรารวบรวมสินค้าต่าง ๆ มาขายให้ผู้บริโภค เป็นต้น"





ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจอีบิสซิเนสมีรายได้หลักมาจากบริการ "ทรูมันนี่" โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามีรายได้กว่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากปี 2556 มียอดการชำระเงินในระบบ (ทรานแซ็กชั่น) 48,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการจ่ายบิลสาธารณูปโภคต่าง ๆ มูลค่าเฉลี่ย 700-800 บาท/ครั้ง มีสัดส่วน 40%, เติมเงินโทรศัพท์มือถือ และบริการออนไลน์ต่าง ๆ เฉลี่ย 250-300 บาท/ครั้ง มีสัดส่วน 30% และการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเสมือนหรือวีการ์ด" และบริการอื่น ๆ 30% ซึ่งบัตรเครดิตเสมือนเปิดให้บริการเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ใช้งาน 30,000 ไอดี เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10,000 ไอดี/เดือน มียอดเงินหมุนเวียน 10 ล้านบาท/เดือน

บริการหลักของทรูมันนี่ประกอบด้วย กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ "อีวอลเลต" ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนใช้ 3,500,000 ไอดี มีผู้ใช้งานต่อเนื่อง (ทำธุรกรรมเฉลี่ย 1 ครั้ง/เดือน) 300,000 ไอดี, จำหน่ายบัตรเงินสดทรูมันนี่, ให้บริการตู้จ่ายบิล และมีจุดรับชำระเงินทรูมันนี่กว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศ และปี 2558 ตั้งเป้าว่ายอดเงินหมุนเวียนจะเติบโต 30% มีรายได้เพิ่ม 15% จากปี 2557 โดยจะมีการทำโปรโมชั่นกับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เพื่อให้จำนวนบัตรเครดิตเสมือนมีผู้ใช้งานถึง 120,000 ไอดี และมีแผนขยายธุรกิจไปประเทศเพื่อนบ้าน เริ่มต้นที่พม่าเป็นแห่งแรก

"บัตรเครดิตเสมือนจะมีบทบาทต่อรายได้ของเรามากขึ้น แม้เมื่อคำนวณรายได้ต่อทรานแซ็กชั่นจะไม่มากก็ตาม เพราะขณะนี้การซื้อสินค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ซในไทยมีเพียง 0.2% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งประเทศ ต่างจากในประเทศที่มีระบบอีคอมเมิร์ซสมบูรณ์แบบ เช่น สหรัฐอเมริกา มีการซื้อขายผ่านออนไลน์ 7% ของมูลค่าซื้อขายทั้งประเทศ นอกจากนี้ คนที่มีบัตรเครดิตในไทยยังมีเพียง 7 ล้านคน ดังนั้น บัตรเครดิตเสมือนจะตอบโจทย์การซื้อสินค้าออนไลน์ได้ดีขึ้นเช่นกัน"

สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซ "วีเลิฟช็อปปิ้ง" และ "ไอทรูมาร์ท" จะปรับปรุงให้เข้ายุคสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะ "วีเลิฟช็อปปิ้ง" ที่ให้บริการมากว่า 8 ปี มีรูปแบบการสร้างรายได้โดยเปิดพื้นที่เว็บไซต์ให้ผู้บริโภคทั่วไปเช่าเปิดร้านจำหน่ายสินค้าออนไลน์ ซึ่งรูปแบบนี้ไม่ตรงกับพฤติกรรมผู้ขายปัจจุบันเพราะทุกคนเปิดร้านได้ฟรีบนโซเชียลเน็ตเวิร์กต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก, ไลน์ และอินสตาแกรม จึงจะมีการปรับปรุงวีเลิฟช็อปปิ้งใหม่ และยกเลิกโมเดลการเก็บค่าเช่า

"วีเลิฟช็อปปิ้งยังใช้ชื่อเดิม มีร้านค้าลงทะเบียน 120,000 ราย ในจำนวนนี้มี 30,000-40,000 แห่งเช่าพื้นที่ขายโดยจ่ายเงิน 2,500-3,500 บาท/ปี และมีการซื้อขายทุกเดือนโดยได้ปรับปรุงให้ใช้บนมือถือได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นเทรนด์จากการที่ผู้บริโภคเข้าถึงสมาร์ทโฟนและแท็บเลตได้แพร่หลายขึ้น"

นายปุณณมาศกล่าวต่อว่า ทรูเลิฟช็อปปิ้งยังเป็นผู้นำในกลุ่มเว็บไซต์หมวดช็อปปิ้งในประเทศไทย เมื่ออ้างอิงจากข้อมูลของเว็บไซต์ทรูฮิตส์ มียอดผู้เข้าชมเว็บเฉลี่ย 350,000 ยูไอพี/วัน และอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันสมัย และทำให้แสดงผลบนสมาร์ทดีไวซ์ได้ดีกว่าเดิม คาดว่าภายในเดือน ก.พ.นี้ จะปรับปรุงระบบหลังบ้านและหน้าบ้านของเว็บไซต์ให้เสร็จทั้งหมด

"ทุกคนจะได้เห็นวีเลิฟช็อปปิ้งรูปแบบใหม่ แต่สิ่งที่เปลี่ยนแน่นอนคือค่าเช่าพื้นที่จะลดลงเพื่อตอบโจทย์ยุคอีคอมเมิร์ซในปัจจุบัน และทำให้ระบบเชื่อมต่อกับอีวอลเลตของทรูมันนี่ได้ดีขึ้นด้วย"

ส่วนเว็บไซต์ "ไอทรูมาร์ท" เน้นการยกระดับการให้บริการให้ดีขึ้น หลังมีการร้องเรียนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กเกี่ยวกับการส่งสินค้า แม้มีความเสียหายไม่ถึง 1% โดยราคาสินค้าที่จำหน่ายมีค่าเฉลี่ย 9,800 บาท เน้นสินค้ากลุ่มแก็ดเจต และสมาร์ทดีไวซ์ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของสินค้าบนเว็บไซต์มีรายได้เพิ่มขึ้น 250% จากปี 2556 แต่ปี 2558 จะเพิ่มสินค้าหมวดอื่น ๆ มากขึ้น เพื่อทำให้เป็นเว็บไซต์กลางที่รวบรวมสินค้าไว้มากที่สุด

สำหรับธุรกิจดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง และดาต้าเซ็นเตอร์เป็นการตอบโจทย์ยุคออนไลน์ เพราะผู้บริโภคใช้เวลาในโลกออนไลน์นานขึ้นจนองค์กรต่าง ๆ มองเป็นอีกช่องทางที่มีอิทธิพลต่อการทำธุรกิจ จึงจะนำทั้งสองบริการนี้เข้าไปตอบโจทย์เอสเอ็มอีจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ และจะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนรายได้ของกลุ่มในปีนี้

และในปีนี้จะมีการลงทุนระบบหลังบ้าน และการจ้างงานเพื่อพัฒนาระบบเป็นเงินหลักพันล้านบาท มากกว่าปี 2557 ถึง 5 เท่าตัว ขณะที่เป้ารายได้ของกลุ่มจะมากกว่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้ว เกือบทั้งหมดยังมาจากทรูมันนี่ เพราะกลุ่มอีบิสซิเนสมีฐานรายได้ค่อนข้างกว้าง บางส่วนยังไปทับกับธุรกิจเดิมของเครือ ซี.พี. ซึ่งในอนาคตจะมาร่วมกันพัฒนาบริการมากขึ้นในส่วนที่ทับซ้อนกัน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1424925044

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.