Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 กุมภาพันธ์ 2558 (บทความ) พบแอปแบบใหม่ สะกดรอยผู้ใช้จาก “แบตเตอรี่” // วิจัย ระบุ ทีมได้พัฒนาอัลกอริธึมที่สามารถแยกแยะกิจกรรมเหล่านั้นออกจากกิจกรรมที่ต้องการวิเคราะห์ได้ โดยอิงกับการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของสมาร์ทโฟนเป็นสำคัญ

ประเด็นหลัก




 
       อย่างไรก็ดี กิจกรรมเช่น ฟังเพลง ถ่ายรูป เล่นวิดีโอคอล หรือใช้โซเชียลมีเดีย ต่างทำให้แบตเตอรี่ลดลงได้ทั้งสิ้น แต่ทางทีมได้พัฒนาอัลกอริธึมที่สามารถแยกแยะกิจกรรมเหล่านั้นออกจากกิจกรรมที่ต้องการวิเคราะห์ได้ โดยอิงกับการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของสมาร์ทโฟนเป็นสำคัญ



_____________________________________________________














พบแอปแบบใหม่ สะกดรอยผู้ใช้จาก “แบตเตอรี่”



        การใช้โทรศัพท์ยิ่งอยู่ห่างจากเสาส่งสัญญาณมากเท่าไร ก็ยิ่งใช้พลังงานมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ความจริงข้อนี้ อาจมีหลายคนเคยทราบ และความจริงข้อนี้อีกเช่นกันที่ทำให้มนุษย์เราถูกติดตามตัวได้โดยที่ไม่ต้องใช้ GPS หรือ สัญญาณ Wi-Fi หากแต่เป็นข้อมูลการสิ้นเปลืองพลังงานของโทรศัพท์มือถือ
     
       โดยมีการศึกษาพบว่า ผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่รันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สามารถถูกติดตามตัวได้โดยไม่ต้องพึ่งพิง GPS และสัญญาณไวไฟอีกต่อไป แต่มาจากการมอนิเตอร์การสิ้นเปลืองพลังงานของตัวเครื่องนั่นเอง
     
       จากความจริงข้อนี้ ทำให้นักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้มีการพัฒนาแอปที่ออกแบบมาเพื่อสะสมข้อมูลเกี่ยวกับการสิ้นเปลืองพลังงานโดยเฉพาะ
     
       “แอปที่ไม่ประสงค์ดีมักจะไม่ได้รับอนุญาตให้แอคเซสกับ GPS หรือเครือข่าย Wi-Fi” นั่นคือเหตุผลที่ Yan Michalevsky, Dan Boneh และ Aaron Schulman นักวิจัยสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเผยถึงเหตุผลในการทำวิจัยเรื่องดังกล่าว
     
       โดยในการวิจัยนี้ ทางทีมตั้งสมมติฐานว่า ในการติดตั้งแอป มีการขอข้อมูลเพียงสองประเภท ระหว่างการขอข้อมูลการเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์กกับการขอข้อมูลการใช้พลังงานของตัวเครื่อง ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นการร้องขอพื้นฐานจากแอปส่วนใหญ่ และมักไม่ทำให้เหยื่อเกิดความรู้สึกผิดปกติว่ากำลังถูกสะกดรอย
     
       นอกจากนั้น จากการสำรวจ ทีมวิจัยพบว่า ปัจจุบันมีแอปอยู่ 179 ตัวใน Google Play ที่ร้องขอการเข้าถึงข้อมูลการสิ้นเปลืองพลังงาน
     
       อย่างไรก็ดี กิจกรรมเช่น ฟังเพลง ถ่ายรูป เล่นวิดีโอคอล หรือใช้โซเชียลมีเดีย ต่างทำให้แบตเตอรี่ลดลงได้ทั้งสิ้น แต่ทางทีมได้พัฒนาอัลกอริธึมที่สามารถแยกแยะกิจกรรมเหล่านั้นออกจากกิจกรรมที่ต้องการวิเคราะห์ได้ โดยอิงกับการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของสมาร์ทโฟนเป็นสำคัญ
     
       “หากการใช้เสียงนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของโทรศัพท์ มันก็จะไม่ถูกนำมารวมไว้ในการวิจัย”
     
       ด้านศาสตราจารย์ Alan Woodward จาก Surrey University ผู้เชี่ยวชาญด้านซีเคียวริตี้กล่าวถึงการวิจัยดังกล่าวว่า
     
       “ปัจจุบัน อุปกรณ์สื่อสารกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป ปัญหาใหญ่ของวันนี้ก็คือ มันสามารถแปลงร่างเป็นเครื่องมือติดตามตัวมนุษย์ได้ในแบบที่เราอาจไม่เคยคาดคิดมาก่อน”
     
       “ผมคิดว่าบางทีมนุษย์เราคงลืมไปว่า ที่จริงแล้วสมาร์ทโฟนก็คืออุปกรณ์ที่มาพร้อมเซนเซอร์ต่างๆ มากมาย รวมถึง GPS ที่ถูกใช้มากกว่าไมโครโฟนและกล้องดิจิตอล”
     
       “งานวิจัยชิ้นล่าสุดแสดงให้เห็นว่า หากรู้จักใช้เซนเซอร์เหล่านั้นให้ดีๆ แม้แต่เรื่องพื้นฐานอย่างเช่นการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟนก็ยังมีโอกาสทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลหลุดรอดออกไปได้”
     
       “ทางที่ปลอดภัยที่สุดในการใช้งานสมาร์ทโฟนโดยไม่ให้ถูกติดตามได้จึงอาจเป็นการใช้งานโดยถอดแบตเตอรี่ออก ซึ่งไม่มีโทรศัพท์เครื่องไหนยอมให้ทำเช่นนั้นหรอก”

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000022310

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.