Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 มีนาคม 2558 กสทช.ธวัชชัย ระบุ ส่วนตัวก็พร้อมจะเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช. ให้ยกเลิก ประกาศมัสต์แฮฟ หากผู้ประกอบการโทรทัศน์ทั้งอุตสาหกรรมสามารถตกลงกันได้ว่าหากยกเลิกแล้วจะเป็นการรวมกลุ่มกันประมูลซื้อลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะการถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิก 2016 ระหว่างวันที่ 5-21 สิงหาคม 2559

ประเด็นหลัก


นายธวัชชัยกล่าวว่า หากช่องโทรทัศน์ฟรีทีวีรายใด หรือกลุ่มพันธมิตรช่องรายการทีวีเพียงไม่กี่ช่อง อย่างโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทีวีพูล) ของช่องฟรีทีวีรายเดิม 6 ช่องในระบบอนาล็อกชนะประมูลก็จะเป็นผู้บริหารจัดการลิขสิทธิ์ทั้งหมด ในทางกฎหมายสามารถจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้จากช่องโทรทัศน์ที่นำเสนอภาพข่าวที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ?ผลของกฎหมาย คือแม้เป็นแค่การทำข่าวโอลิมปิกก็ถูกคิดค่าลิขสิทธิ์ทุกเม็ด และหากช่องไหนต้องการเสนอภาพข่าวจริงๆ จะโดนขายในราคาที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น รวมยังอาจกลายเป็นการผูกขาดเพราะทีวีพูลจะมีอำนาจต่อรองและกล้าเสนอราคาประมูลในราคาสูง? นายธวัชชัย กล่าว

นายธวัชชัยกล่าวยอมรับอีกว่า เวลาที่เหลือไม่ถึง 1 เดือนก่อนการประมูลคงไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของประกาศดังกล่าวได้ เนื่องจากตามกระบวนการแก้ไขประกาศฯ ตามกฎหมายต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน เพราะต้องมีการนำไปทำการประชาพิจารณ์ที่ใช้เวลากว่า 45 วัน ดังนั้นทางแก้ปัญหาที่เร็วที่สุดในเวลานี้ คือการยกเลิกประกาศฯ แต่การยกเลิกประกาศ ก็อาจเป็นการเปิดช่องให้ ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม หรือเคเบิ้ลทีวี สามารถเข้าไปประมูลลิขสิทธิ์ และหากผู้ประกอบการดังกล่าวชนะ ก็จะดำเนินการบังคับให้คนไทยดูผ่านกล่องทีวีดาวเทียมของผู้ประการรายนั้นๆ ได้ ทั้งนี้ ส่วนตัวก็พร้อมจะเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช. ให้ยกเลิก ประกาศมัสต์แฮฟ หากผู้ประกอบการโทรทัศน์ทั้งอุตสาหกรรมสามารถตกลงกันได้ว่าหากยกเลิกแล้วจะเป็นการรวมกลุ่มกันประมูลซื้อลิขสิทธิ์ หรือตกลงราคากันให้เรียบร้อย ซึ่งจะไม่เป็นการผูกขาดจากผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใด


_____________________________________________________


















"มัสต์แฮฟ" ป่วนถ่ายทอดโอลิมปิก ให้ฟรีทีวีประมูลลิขสิทธิ์ทำผูกขาด พร้อมเลิกใช้หากทุกฝ่ายตกลงได้


กสทช.กลุ้มกฎมัสต์แฮฟทำผูกขาด ระบุให้ฟรีทีวีเป็นผู้ประมูลลิขสิทธิ์ สบช่องโขกราคาภาพข่าวถ่ายทอดสดโอลิมปิก 2016 แก้เกณฑ์ไม่ทันเหตุขั้นตอนเยอะ พร้อมประกาศยกเลิก หากผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม-เคเบิ้ล ยอมให้ทุกระบบดูได้ ไม่ซ้ำรอยในอดีตบังคับดูผ่านกล่อง

นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยว่า กรณีกลุ่มบริษัท เดนท์สุ จากประเทศญี่ปุ่น ในฐานะผู้ถือครองลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิก 2016 ในภูมิภาคเอเชีย เตรียมจัดประมูลผู้ถือครองลิขสิทธิ์ในประเทศไทยในช่วงเดือนมีนาคมนี้ เพื่อเป็นผู้ทำการถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิก 2016 ระหว่างวันที่ 5-21 สิงหาคม 2559 ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล โดยตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์ที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (มัสต์แฮฟ) ที่บรรจุรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็น 1 ในรายการเฉพาะ จึงสามารถการันตีได้ว่าคนไทยทุกคนจะสามารถชมการแข่งขันรายการกีฬาดังกล่าวได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านช่องฟรีทีวี แต่ยอมรับว่าประกาศดังกล่าวก็มีข้อพลาดด้วยที่ระบุให้ช่องฟรีทีวีเป็นผู้ถ่ายทอด อาจตีความได้ว่าให้ช่องฟรีทีวีต้องเป็นผู้ประมูลลิขสิทธิ์เท่านั้น

นายธวัชชัยกล่าวว่า หากช่องโทรทัศน์ฟรีทีวีรายใด หรือกลุ่มพันธมิตรช่องรายการทีวีเพียงไม่กี่ช่อง อย่างโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทีวีพูล) ของช่องฟรีทีวีรายเดิม 6 ช่องในระบบอนาล็อกชนะประมูลก็จะเป็นผู้บริหารจัดการลิขสิทธิ์ทั้งหมด ในทางกฎหมายสามารถจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้จากช่องโทรทัศน์ที่นำเสนอภาพข่าวที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ?ผลของกฎหมาย คือแม้เป็นแค่การทำข่าวโอลิมปิกก็ถูกคิดค่าลิขสิทธิ์ทุกเม็ด และหากช่องไหนต้องการเสนอภาพข่าวจริงๆ จะโดนขายในราคาที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น รวมยังอาจกลายเป็นการผูกขาดเพราะทีวีพูลจะมีอำนาจต่อรองและกล้าเสนอราคาประมูลในราคาสูง? นายธวัชชัย กล่าว

นายธวัชชัยกล่าวยอมรับอีกว่า เวลาที่เหลือไม่ถึง 1 เดือนก่อนการประมูลคงไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของประกาศดังกล่าวได้ เนื่องจากตามกระบวนการแก้ไขประกาศฯ ตามกฎหมายต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน เพราะต้องมีการนำไปทำการประชาพิจารณ์ที่ใช้เวลากว่า 45 วัน ดังนั้นทางแก้ปัญหาที่เร็วที่สุดในเวลานี้ คือการยกเลิกประกาศฯ แต่การยกเลิกประกาศ ก็อาจเป็นการเปิดช่องให้ ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม หรือเคเบิ้ลทีวี สามารถเข้าไปประมูลลิขสิทธิ์ และหากผู้ประกอบการดังกล่าวชนะ ก็จะดำเนินการบังคับให้คนไทยดูผ่านกล่องทีวีดาวเทียมของผู้ประการรายนั้นๆ ได้ ทั้งนี้ ส่วนตัวก็พร้อมจะเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช. ให้ยกเลิก ประกาศมัสต์แฮฟ หากผู้ประกอบการโทรทัศน์ทั้งอุตสาหกรรมสามารถตกลงกันได้ว่าหากยกเลิกแล้วจะเป็นการรวมกลุ่มกันประมูลซื้อลิขสิทธิ์ หรือตกลงราคากันให้เรียบร้อย ซึ่งจะไม่เป็นการผูกขาดจากผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใด





ที่มา : นสพ.มติชน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425120353

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.