Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 มีนาคม 2558 AIS.ปรัธนา ระบุ ความพร้อมในการเปิดซื้อ-ขายสินค้าทางออนไลน์ว่า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ จากการที่เอไอเอสเปิดเว็บไซต์เพื่อจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสาร อาทิ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต ตลอด 24 ชั่วโมง และการเปิดบริการเอ็มเปย์ (mPay) บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ

ประเด็นหลัก



นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวถึงความพร้อมในการเปิดซื้อ-ขายสินค้าทางออนไลน์ว่า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ จากการที่เอไอเอสเปิดเว็บไซต์เพื่อจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสาร อาทิ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์ได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งพบว่าการซื้ออุปกรณ์สื่อสารผ่านเว็บไซต์ของเอไอเอสเมื่อเทียบกับปีที่แล้วโตขึ้นสองเท่า และการเปิดบริการเอ็มเปย์ (mPay) บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อรองรับการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซไทย

“บริการเอ็มเปย์ ช่วยสร้างการซื้อขายออนไลน์ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยลูกค้าที่ต้องชำระเงินผ่านออนไลน์ก็มั่นใจในความปลอดภัย ขณะที่ผู้ประกอบการสามารถรองรับเงินได้จากทุกธนาคาร บริการเอ็มเปย์เปิดให้บริการตั้งแต่ปีที่แล้วผลตอบรับดี ในปีนี้มีแผนเปิดระบบใหม่อีก 1-2 ตัว เพื่อรองรับความต้องการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์”


_____________________________________________________














?‘เอไอเอส-ดีแทค’ สร้างบรรยากาศตลาดออนไลน์?
เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากคำว่า “เศรษฐกิจดิจิตอล” และก้าวสู่บรรยากาศตลาดออนไลน์


เมื่อพูดถึงเรื่อง “เศรษฐกิจดิจิตอล หรือ ดิจิตอล อีโคโนมี” นโยบายสร้างกระแสของรัฐบาลชุดนี้ ก็ต้องหันไปถามผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอปอเรเตอร์) ว่า เตรียมพร้อมรับนโยบาย “เศรษฐกิจดิจิตอล” ของรัฐบาลอย่างไรบ้าง เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากคำว่า “เศรษฐกิจดิจิตอล” และก้าวสู่บรรยากาศตลาดออนไลน์

เริ่มที่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการอยู่ที่ 44.3 ล้านเลขหมาย จากจำนวนผู้เปิดใช้บริการเลขหมายโทรศัพท์มือถือทั้งหมด 97 ล้านเลขหมาย

เอไอเอส พร้อมรับการขยายตัวของอี-คอมเมิร์ซ

นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวถึงความพร้อมในการเปิดซื้อ-ขายสินค้าทางออนไลน์ว่า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ จากการที่เอไอเอสเปิดเว็บไซต์เพื่อจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสาร อาทิ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์ได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งพบว่าการซื้ออุปกรณ์สื่อสารผ่านเว็บไซต์ของเอไอเอสเมื่อเทียบกับปีที่แล้วโตขึ้นสองเท่า และการเปิดบริการเอ็มเปย์ (mPay) บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อรองรับการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซไทย

“บริการเอ็มเปย์ ช่วยสร้างการซื้อขายออนไลน์ให้สะดวกสบายมากขึ้น โดยลูกค้าที่ต้องชำระเงินผ่านออนไลน์ก็มั่นใจในความปลอดภัย ขณะที่ผู้ประกอบการสามารถรองรับเงินได้จากทุกธนาคาร บริการเอ็มเปย์เปิดให้บริการตั้งแต่ปีที่แล้วผลตอบรับดี ในปีนี้มีแผนเปิดระบบใหม่อีก 1-2 ตัว เพื่อรองรับความต้องการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์”

นายปรัธนา กล่าวว่า เรื่องของเศรษฐกิจดิจิตอล สาระสำคัญอยู่ที่โครงสร้างโครงข่าย หรือเน็ตเวิร์ก ซึ่งปีนี้เอไอเอสจะลงทุนเรื่องของ 3จี ซูเปอร์ไว-ไฟ ฟิกซ์บรอดแบนด์ และรองรับการใช้งานในส่วนของเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง ขณะที่เรื่องของดิจิตอลเซอร์วิสก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนเรื่องของเศรษฐกิจดิจิตอล อาทิ บริการโมบายมันนี่ เช่น ระบบเอ็มเปย์ ที่ให้บริการอยู่ และบริการเอ็มทูเอ็ม (แมชชีนทูแมชชีนคอมมูนิเคชั่น) ซึ่งให้บริการเชื่อมต่อกันเองของอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านแอพพลิเคชั่น เช่น การเชื่อมต่อมิเตอร์ไฟฟ้าเพื่อดูการใช้งานและคิดค่าไฟแทนการให้พนักงานไปเดินจดการใช้งานและออกบิลค่าไฟ

ดีแทค กับร้านค้าออนไลน์

นายทิม เวอร์โรเดน ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริการด้านอินเทอร์เน็ต บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวถึงการก้าวสู่บรรยากาศซื้อขายออนไลน์ของดีแทคว่า เริ่มขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยการออกแบบร้านค้าออนไลน์ (Online Store) รวมถึงบริการด้านดิจิตอลต่าง ๆ ของ ดีแทคโดยมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าซึ่งใช้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ ก่อนขยายไปสู่ผู้ที่ใช้งานผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมีการทดสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้

เว็บไซต์และออนไลน์ สโตร์ ของดีแทคถูกออกแบบให้ตอบสนองการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือรวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารที่มีหน้าจอขนาดเล็ก โดยมากกว่า 80% ของการเข้าใช้บริการ และมากกว่า 40% ของยอดจำหน่ายสินค้ามาจากการทำรายการผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยดีแทคจะให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวก ให้ลูกค้าสามารถทำการซื้อได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย อาทิ การคลิกเพียงครั้งเดียวในการซื้อ และคลิกไม่เกิน 3 ครั้งในการทำรายการให้เสร็จสิ้น

“ดีแทคเปิดดีแทค ออนไลน์ สโตร์ ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก ซึ่งแผนในอนาคตคือเพิ่มความสามารถในการให้บริการได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และปีนี้ มีแผนจะขยายขอบเขตของการให้บริการด้านดิจิตอลโดยร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์”

ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ดีแทคเตรียมรองรับเศรษฐกิจดิจิตอล โดยลงทุนเพื่อเพิ่มความสามารถของการให้บริการผ่านเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือ พร้อมทั้งพัฒนาเว็บไซต์ที่เอื้อให้ลูกค้าหาข้อมูลที่ต้องการ ซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ และทำรายการด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเติมเงิน หรือชำระค่าบริการได้อย่างสะดวก

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ดีแทคทำผ่านโซเชียลมีเดียซึ่งประสบผลสำเร็จทั้งในด้านการตลาดและการให้บริการลูกค้า ดังนั้นดีแทคจึงมุ่งสร้างระบบนิเวศในการให้บริการ เพื่อช่วยให้ประเทศได้พัฒนาไปสู่ความเป็นดิจิตอล และวางแผนที่จะพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ปัจจุบันดีแทคมีจำนวนผู้ใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ 28 ล้านราย

วันนี้เรื่องของการซื้อขายในตลาดออนไลน์ และการใช้บริการต่าง ๆ ผ่านออน ไลน์เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนยุคดิจิตอลอีโคโนมีต้องเรียนรู้.

นํ้าเพชร จันทา
@phetchan



http://www.dailynews.co.th/Content/IT/305023/‘เอไอเอส-ดีแทค’+สร้างบรรยากาศตลาดออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.