Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 มีนาคม 2558 (บทความ) "เคลมดิ" ซูเปอร์ฮีโร่ยุคดิจิทัล สลัดภาพ SMEs สู่สตาร์ตอัพ // เอนนี่แวร์ ทู โก.กิตตินันท์ ระบุ ปัจจุบันเมื่อมี "เคลมดิ" ไม่ต้องใช้พนักงาน เมื่อเกิดอุบัติเหตุเจ้าของรถก็แค่ถามคู่กรณีว่าใช้แอปพลิเคชั่นนี้ ก็สามารถเรียกเอกสารได้

ประเด็นหลัก


เคลมดิคือภาคล่าสุดของแอปประกันภัย ในอดีตมาเร็ว เคลมเร็วต้องใช้พนักงานในการทำเคลม แต่ปัจจุบันเมื่อมี "เคลมดิ" ไม่ต้องใช้พนักงาน เมื่อเกิดอุบัติเหตุเจ้าของรถก็แค่ถามคู่กรณีว่าใช้แอปพลิเคชั่นนี้หรือไม่ ถ้ามีก็นำโทรศัพท์มาเขย่าใกล้ ๆ กัน เขย่าเสร็จก็กลับบ้านได้เลย ทำ Knock To Knock ได้ แต่ไม่ต้องแลกกระดาษ ประหยัดค่าใช้จ่ายฝั่งบริษัทประกัน และประหยัดเวลาในฝั่งผู้ขับขี่ และลดการโกงได้ด้วย


_____________________________________________________














"เคลมดิ" ซูเปอร์ฮีโร่ยุคดิจิทัล สลัดภาพ SMEs สู่สตาร์ตอัพ



สัมภาษณ์พิเศษ

การดำรงชีวิตในปัจจุบันมีความเสี่ยงนับไม่ถ้วน ทั้งโรคภัยไข้เจ็บและอุบัติเหตุต่าง ๆ และนั่นคือจุดเริ่มต้นให้คนช่างคิดมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "กิตตินันท์ อนุพันธ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอนนี่แวร์ ทู โก จำกัด ผู้พัฒนาระบบบริหารเหตุการณ์ฉุกเฉิน และแอปพลิเคชั่น "เคลมดิ" ดังนี้

- กว่าจะมาเป็น "เคลมดิ"

ผมอยู่วงการไอทีมาเป็น 20 ปี จบศึกษาศาสตร์ ซึ่งไม่ตรงกับสายงานที่ทำเลย จบมาก็ไปเป็นเซลส์ขายคอมพิวเตอร์ ไปทำงานที่ฝ่ายไอทีในธนาคาร จนดอตคอมบูมก็ออกมาเปิดเว็บไซต์แต่ไม่สำเร็จ สุดท้ายมาลงตัวที่บริษัท อรุณสวัสดิ์ ดอท คอม จำกัด ปี 2543 สร้างระบบ Emergency Management ขายให้องค์กรต่าง ๆ

ระบบนี้เกิดจากสมัยนั้นเห็นตำรวจไทยทำโปรเจ็กต์ 191 คล้ายกับ 911 ของตำรวจนิวยอร์กที่นำโน้ตบุ๊กมาใช้ในรถ และนำคลื่นวิทยุเป็นตัวส่งข้อมูลไปยังศูนย์บัญชาการ เมื่อก่อนยังไม่มีอินเทอร์เน็ตเลยคิดว่าน่าจะพัฒนาระบบอะไรสักอย่างออกมา เป็นซูเปอร์ฮีโร่เพื่อช่วยเหลือทุกคน

โดยมีที่มาจากผลวิจัยฉบับหนึ่งที่บอกว่า 50 ล้านคนทั่วโลกตายในอุบัติเหตุทันที 10% เพราะทีมช่วยเหลือมาถึงช้า จึงคิดทำ Emergency Management

คล้าย ๆ Startup สมัยนี้ แต่ตอนนั้นไม่รู้ Startup คืออะไรเลยทำแบบเอสเอ็มอี เอาบ้านไปจำนองธนาคารได้เงินมาตั้งบริษัทจดทะเบียน มีโปรแกรมเมอร์ มีกราฟิก ทำเสร็จไปขอทุนกองทุนเอสเอ็มอีก็ได้เงินมา 1 ล้านบาท คล้าย ๆ การไปหานักลงทุนในสมัยนี้

เอสเอ็มอีสมัยก่อนกับสตาร์ตอัพสมัยนี้ไม่ได้ต่างกัน มีโปรเจ็กต์แต่ไม่มีเงิน ได้เงินมาก็สร้าง Anywhere to go, Anywhere to Claim และ Anywhere to ER ขายให้บริษัทประกันภัย ปัจจุบันมี 11 บริษัทใช้บริการ ครองตลาดในไทย 45% หมายความว่า รถทั้งหมดที่มีในไทยเกือบครึ่งเป็นลูกค้าบริษัทประกันที่เราดูแล

Anywhere to Claim คนไทยไม่รู้จัก แต่รู้จักคำว่า "มาเร็ว เคลมเร็ว" ของบริษัทสินมั่นคงประกันภัย ที่เราทำแอปให้แล้วนำไปโฆษณาในทีวีทุกคนติดปากคำนี้ ส่วน Anywhere to ER ใช้ในโรงพยาบาลกรุงเทพ พญาไท สมิติเวช เปาโล และบีเอ็นเอชรวม 40 สาขา รถฉุกเฉิน 300 คัน ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ส่งรถพยาบาลไปได้เร็วกว่าปกติ





- ได้เข้าโครงการสตาร์ตอัพกับดีแทค

ครับ เพราะดีแทคมีคุณกระทิง (เรืองโรจน์ พูนผล) เป็นผู้อำนวยการโครงการ dtac Accelerate เขาเขียนหนังสือชื่อตามล่าหาฝันในซิลิคอนวัลเลย์ ผมชื่นชอบเขาเป็นการส่วนตัว จากแนวคิดในการทำธุรกิจแบบใหม่ที่บอกว่า การขายของแบบเดิมถ้าจะขายไปต่างประเทศไม่ดีก็ต้องกลับมาปรับปรุงแล้วนำไปขายใหม่ที่เดิม แต่การขายของแบบใหม่คือ ผลิตภัณฑ์พร้อมทำให้เร็ว และทำอย่างไรต่อไป ก็ส่งไปขายได้เลยโดยไม่ต้องกลับมาปรับปรุง ไม่ได้เจ้านี้ ก็แค่ไปขายที่อื่นต่อ ไม่ต้องมาเริ่มต้นใหม่ตลอด

ได้ความรู้ ได้คอนเน็กชั่น ได้ความคิด และไอเดียใหม่ ๆ มีคำหนึ่งของ Startup คือ Fail to Fast คือล้มให้เร็วที่สุด และลุกให้เร็วที่สุด อันไหนจะดีไม่รู้แต่เมื่อดีแล้วจะประสบความสำเร็จ แองกี้เบิร์ดผลิตเกมเป็นร้อยกว่าจะลงตัวที่แองกี้เบิร์ด

เคลมดิคือภาคล่าสุดของแอปประกันภัย ในอดีตมาเร็ว เคลมเร็วต้องใช้พนักงานในการทำเคลม แต่ปัจจุบันเมื่อมี "เคลมดิ" ไม่ต้องใช้พนักงาน เมื่อเกิดอุบัติเหตุเจ้าของรถก็แค่ถามคู่กรณีว่าใช้แอปพลิเคชั่นนี้หรือไม่ ถ้ามีก็นำโทรศัพท์มาเขย่าใกล้ ๆ กัน เขย่าเสร็จก็กลับบ้านได้เลย ทำ Knock To Knock ได้ แต่ไม่ต้องแลกกระดาษ ประหยัดค่าใช้จ่ายฝั่งบริษัทประกัน และประหยัดเวลาในฝั่งผู้ขับขี่ และลดการโกงได้ด้วย

- ทำให้ได้เงินทุนก้อนแรก

ช่วงที่เข้าโครงการมีกลุ่มทุนให้ความสนใจพร้อมลงทุนกับเรา หนึ่งในนั้นคือ 500 Startup ให้เงินมาเกือบ 1 ล้านดอลลาส์สหรัฐ เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ

แต่นั่นไม่ใช่เงินก้อนแรก ตอนเริ่มต้นอรุณสวัสดิ์ฯ เดินแบบเอสเอ็มอีเอาบ้านไปจำนอง ไปขอเงินจากกองทุนเอสเอ็มอีได้มา 1 ล้านบาท ตอนนี้เป็นสตาร์ตอัพเต็มตัว

- ต้องปรับความคิดใหม่

พอจะเป็นสตาร์ตอัพเต็มตัว ไม่ใช่แค่เรื่องโปรดักต์ ความคิดทุกอย่างต้องเปลี่ยนใหม่หมด เดินแบบเอสเอ็มอีเน้นการเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ให้ได้มาก ๆ โอกาสโตในธุรกิจนี้แทบเป็นศูนย์จึงต้องคิดใหม่ เดินหน้าสู่ความเป็นคอนซูเมอร์โปรดักต์เต็มรูปแบบ ทำให้ระบบต่อเชื่อมกันได้ภายในแอป ClaimDi และวางแผนไปต่างประเทศ

- แผนธุรกิจเปลี่ยนไป

"ไคลี อัง" 1 ในผู้ก่อตั้ง 500 Startup ถามผมว่า แผนธุรกิจของคุณคืออะไร ผมตอบกลับไปว่า อยากมีแชร์ในตลาดไทยเยอะ ๆ เขาตอกกลับผมว่า เป็นเรื่องที่โง่มาก ถ้าคุณจะมีแชร์ 90% ในตลาด พร้อมกับแนะนำว่า ถ้าดีแค่มีมาร์เก็ตแชร์ไม่พอ แต่ต้องทำให้คู่แข่งไม่สามารถไล่ทันได้ และเอาแรงไปบุกตลาดต่างประเทศ จุดนั้นเองทำให้ผมลบความคิดแบบเอสเอ็มอีไปทั้งหมด และวางแผนใหม่โดยใช้พื้นฐานเรื่องความเร็วเป็นหลัก คือ ภายใน 3 ปีนับตั้งแต่เข้าโครงการของดีแทค (กลางปี 2557) บริษัทต้องมีรายได้ 450 ล้านบาท ถึงวันนั้นผมจะขายหุ้นเกือบทั้งหมดทิ้งเพื่อไปสร้างสตาร์ตอัพตัวต่อไป

- โอกาสในตลาดไทย

ถึงจะเริ่มมีคู่แข่ง แต่รถยนต์ในไทยมี 15 ล้านคันเพิ่ม 10% ทุกปี ในจำนวนนี้มี 9 ล้านคันซื้อประกันภัยแบบสมัครใจเพิ่ม 10% ผู้ที่ซื้อประกันภัยจะย้ายค่ายทุก 1 ปี ครึ่งหนึ่ง หรือ 4.5 ล้านคัน เคลมสดกับเคลมแห้ง 9 ล้านคัน หรือรวมกันแต่ละปีมีการเคลม 13.5 ล้านครั้ง

ผมขอแค่ 60% หรือ 14 บริษัทประกันมาใช้ระบบผม รายได้มาจากค่าธรรมเนียม 50 บาท/ครั้ง

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425281244

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.