Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 มีนาคม 2558 TOT เร่งยุติกรณีพิพาทกับ AIS หากเจรจากันจบและสามารถนำเสาโทรคมนาคมมาปล่อยเช่า จะมีรายได้ อยู่ที่สถานีฐานละ 8,000-10,000 บาทต่อเดือน

ประเด็นหลัก



     สำหรับรูปแบบการเจรจาเพื่อหาข้อยุติกรณีพิพาทร่วมกันนั้น ทีโอทีจะทำในรูปแบบเดียวกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ได้เจรจากัน ซึ่งเรื่องแรกที่ทีโอทีจะเจรจากับเอไอเอสคือเรื่องทรัพย์สินในส่วนของเสาโทรคมนาคม เพื่อนำทรัพย์สินมาต่อยอดธุรกิจ โดยปัจจุบัน เสาโทรคมนาคมที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 2G บนคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตามสัญญาสร้าง-โอน-บริหาร (บีทีโอ) ที่เป็นข้อพิพาทเนื่องจากเอไอเอสยังไม่ยอมโอนให้ทีโอทีประมาณ 13,000 เสาโทรคมนาคม
   
       อย่างไรก็ตาม หากเจรจากันจบและสามารถนำเสาโทรคมนาคมมาปล่อยเช่า ทีโอทีจะมีรายได้ อยู่ที่สถานีฐานละ 8,000-10,000 บาทต่อเดือน แต่ในบางพื้นที่อาจสร้างรายได้ถึงสถานีฐานละ 15,000 บาทต่อเดือน
   

_____________________________________________________














ทีโอที เตรียมสางปมข้อพิพาทเอไอเอสตามคำสั่ง คนร.




        ทีโอที เร่งยุติข้อพิพาทกับเอไอเอสตามคำสั่ง คนร.ภายในเดือน มี.ค.นี้ ชูโมเดล กสท โทรคมนาคม กับ ดีแทค หวังเคลียร์ปัญหาเสาโทรคมนาคมนำทรัพย์สินมาสร้างรายได้ ลั่นหากไม่ได้ข้อยุติจะไม่เดินหน้าเจรจาการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน
     
       นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากที่มติคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เมื่อวันที่ 2 มี.ค. เห็นชอบการปรับปรุงการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามนโยบาย Digital Economy เพื่อทำให้รัฐวิสาหกิจสามารถอยู่รอดได้ โดยในส่วนของทีโอทีนั้น คนร.มีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการ 5 ข้อ เพื่อให้ทีโอทีสามารถดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และให้ทีโอทีดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดในอนาคตได้ ซึ่งเบื้องต้น คนร.ต้องการให้ทีโอที ยุติข้อพิพาททั้งหมดที่มีกับคู่สัญญาสัมปทาน คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเจรจาเดินหน้าจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันต่อไป โดยการเจรจาข้อพิพาททั้งหมดจะต้องเสร็จสิ้นภายในเดือนมี.ค.นี้
     
       ที่ผ่านมา ทีโอทีมีข้อพิพาทกับเอไอเอสที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโต ตุลาการ จำนวน 8 คดี เป็นทั้งเรื่องที่ทีโอทีฟ้องเอไอเอสและเอไอเอสฟ้องทีโอที โดยมีทั้งเรื่องค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือ ไอซี และเรื่องเสาโทรคมนาคม ซึ่งหากเอไอเอสไม่ถอนฟ้องข้อพิพาทที่มีอยู่กับทีโอทีทั้งหมด ทีโอทีจะไม่เดินหน้าเจรจาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเอไอเอส
     
       “ตอนนี้ยังไม่เห็นหนังสือจาก คนร.ที่เป็นข้อเสนอแนะมาให้ทีโอที แต่เบื้องต้นเข้าใจว่า คนร.ต้องการให้ทีโอทีเคลียร์ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเอไอเอส สิ่งนี้เป็นคำสั่งที่เราต้องเคลียร์ให้ชัดเจนให้เร็วที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องเสนอบอร์ดก่อน สามารถทำคู่ขนานได้เลย หากเอไอเอสไม่ยอมยุติข้อพิพาท สิ่งที่เรากำลังเจรจาเพื่อเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันจะไม่เดินหน้าต่อ”
     
       สำหรับรูปแบบการเจรจาเพื่อหาข้อยุติกรณีพิพาทร่วมกันนั้น ทีโอทีจะทำในรูปแบบเดียวกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ได้เจรจากัน ซึ่งเรื่องแรกที่ทีโอทีจะเจรจากับเอไอเอสคือเรื่องทรัพย์สินในส่วนของเสาโทรคมนาคม เพื่อนำทรัพย์สินมาต่อยอดธุรกิจ โดยปัจจุบัน เสาโทรคมนาคมที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 2G บนคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตามสัญญาสร้าง-โอน-บริหาร (บีทีโอ) ที่เป็นข้อพิพาทเนื่องจากเอไอเอสยังไม่ยอมโอนให้ทีโอทีประมาณ 13,000 เสาโทรคมนาคม
     
       อย่างไรก็ตาม หากเจรจากันจบและสามารถนำเสาโทรคมนาคมมาปล่อยเช่า ทีโอทีจะมีรายได้ อยู่ที่สถานีฐานละ 8,000-10,000 บาทต่อเดือน แต่ในบางพื้นที่อาจสร้างรายได้ถึงสถานีฐานละ 15,000 บาทต่อเดือน
     
       *** เปิดไอเดียดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ
     
       นายชิต ในฐานะผู้ช่วยที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ยังได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย Digital Economy ว่า ในส่วนของทีโอที และกสท โทรคมนาคม ที่ต่างมีศูนย์บริการข้อมูลอินเทอร์เน็ต (ไอดีซี) และศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตพร้อมกับมีวงจรเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออกต่างประเทศ (ไอไอจี) ของตัวเอง ดังนั้น เพื่อความมั่นคงของประเทศทีโอทีกับ กสท โทรคมนาคม ควรมีหน้าที่ให้บริการเป็นไอดีซีและศูนย์ข้อมูลสำรอง (ดีอาร์ซี) ให้กับกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการคลัง
     
       รวมทั้งยังเห็นว่า ควรมีศูนย์ไอดีซีแห่งใหม่เพิ่มเติมอีก 2,000 ตารางเมตร โดยคาดว่าจะวางแรคเก็บข้อมูลได้ 500 แรค เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนราว 30,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะมีหน้าที่ในการเสนอความต้องการใช้ไอดีซีให้กับนักลงทุนต่างชาติ ที่จะเข้ามาลงทุน ซึ่งเบื้องต้นอาจมีการการันตีว่าจะมีการเช่าแรคดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 50%




http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000025498

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.