Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 มีนาคม 2558 (บทความ) ทาง2แพร่ง4จีกับ'มือที่มองไม่เห็น // คาดโมเดลคือ ให้ CAT และ TOT หุบคลืนเก่าทำมาหากิน และนำคลื่น 2600 ของ MCOT มาประมูล 4G

ประเด็นหลัก


ก่อนนำเสนอ "โมเดล" ให้โอนคลื่นดังกล่าวไปให้สองหน่วยงานโดยตรงดีกว่าเพื่อที่ทั้งสองหน่วยงานจะได้ดูแลลูกค้าเก่าทั้ง 2 จีและ3 จีที่ยังคงมีอยู่ และหากรัฐต้องการจะจัดประมูลคลื่น 4 จี ก็ควรไปเอาคลื่น 2600 MHz ที่ถือครองโดยอสมท.ที่นัยว่ามีอยู่กว่า 120 เมก(MG) มาประมูลแทน


_____________________________________________________














ทาง2แพร่ง4จีกับ'มือที่มองไม่เห็น'

รัฐบาลคสช.กำลังหามาตรการที่จะขับเคลื่อนและพลิกฟื้นเศรษฐกิจ นี่คือทาง 2 แพร่งของการประมูลเพื่อออกใบอนุญาตมือถือ 4 จี

ขณะที่รัฐบาลคสช.ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังควานหามาตรการในอันที่จะขับเคลื่อนและพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่กำลังจมปรักสารพัดรูปแบบ หลังจากสร้างความผิดหวังให้กับประชาชนคนไทยจากการที่ไม่สามารถจะผลักดันให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมายในปี57 ที่ผ่านมา
นายกฯถึงกับต้องลงมาโม่แป้งเองในการยกเครื่องขั้นตอนการเบิก-จ่ายและสั่งให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิก-จ่ายโครงการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ เพื่อ"ล้างท่อ" งบประมาณรัฐที่คั่งค้างอยู่ แต่กระนั้นหลายฝ่ายยังแสดงความเป็นกังวลมาตรการที่รัฐดำเนินการอยู่จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดหรือไม่

ขณะที่ความหวังทั้งมวลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐไม่ต้องลงทุนลงแรงหรือแสวงหาเม็ดเงินที่ไหนมาลงทุนนั้นก็อยู่ที่การไฟเขียวเปิดประมูล 4 จรบนคลื่นความถี่ 1800 และ 900 MHz ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ตีฆ้องร้องป่าวจะเปิดประมูลตั้งแต่กลางปี 2557 แต่ก็ถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)กระตุกเบรกหัวทิ่มให้ระงับการประมูลไว้ก่อน

แม้ประชาชนคนไทยจะไม่มีโอกาสได้รู้ตื้นลึกหนาบาง ถึงเหตุผลที่ คสช.ระงับการประมูล 4 จีเอาไว้ข้างต้น แต่ทุกฝ่ายก็คาดว่าคสช.คงจะเร่ง"คืนความสุขแก่คนไทย" ตามที่ได้ประกาศไว้ ยิ่งเมื่อนายกฯและหัวหน้า คสช.ออกมายืนยันก่อนหน้านี้ว่าจะมีการประมูลมือถือ 4G ในปี 2558 นี้อย่างแน่นอน

แต่จากพฤติกรรมหลายๆ ประการของรัฐบาลที่แสดงออกมานั้น หลายฝ่ายเริ่มไม่แน่ใจประชาชนคนไทยจะได้เห็นการประมูล 4 จีในปีนี้กันแน่หรือ จะไม่หาวเรอเรอเก้อแบบบทเรียนในอดีตเมื่อครั้งประมูล 3 จี ในเมื่อเริ่มมี "มือที่มองไม่เห็น"(Invisible Hand) ที่กำลังหาทางยื้อการประมูลเพื่อออกใบอนุญาต 4 จีเอาไว้อย่างสุดลิ่ม ทิ่มประตูอยู่

ร้องแรกแหกกระเชอถึงขั้นที่ว่า หากเปิดประมูล 4 จีจะบนคลื่น 1800 หรือ 900 MHzไปในวันนี้ ก็คงไม่พ้นเจ้าของสัมปทานเดิม 3 ค่าย AIS, DTAC ,TRUE เท่านั้นได้ไป หน่วยงานของรัฐคือบริษัททีโอที จำกัด(มหาชน) และกสท โทรคมนาคม หรือ CAT คงได้แต่นั่งทำตาปริบๆ ไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้แน่ เพราะข้อจำกัดทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่ คงได้แต่กอดเสาและโครงข่าย 2 และ 3 จีที่ไม่มีค่าเอาไว้ เพราะไม่ได้โอนคลื่นความถี่ไปให้

ก่อนนำเสนอ "โมเดล" ให้โอนคลื่นดังกล่าวไปให้สองหน่วยงานโดยตรงดีกว่าเพื่อที่ทั้งสองหน่วยงานจะได้ดูแลลูกค้าเก่าทั้ง 2 จีและ3 จีที่ยังคงมีอยู่ และหากรัฐต้องการจะจัดประมูลคลื่น 4 จี ก็ควรไปเอาคลื่น 2600 MHz ที่ถือครองโดยอสมท.ที่นัยว่ามีอยู่กว่า 120 เมก(MG) มาประมูลแทน

ฟังดูก็เข้าท่า ...

แต่หากจะถามว่าการโอนคลื่นความถี่ไปให้สองหน่วยงานที่ว่า ประชาชนจะได้ประโยชน์จริงหรือ? บทเรียนในอดีตต่างก็ได้พิสูจน์กันไปหมดสิ้นแล้ว คลื่นที่สองหน่วยงานได้รับจัดสรรไปก่อนหน้าทั้ง 850 และ 1800 MHz นั้นนอกจากสองหน่วยงานนี้จะไม่ได้นำเอาไปใช้ประโยชน์ใด ๆ

ยัง"เซ็งลี้" ออกไปให้กลุ่มทุนการเมืองใหญ่หากินกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยทีโอทีนั้นนำคลื่นความถี่ 2100 MHz มาให้บริการ 3G ด้วยตนเอง แต่ขยายโครงข่ายล่าช้า และมีพื้นที่ให้บริการจำกัด จึงมีผู้ใช้บริการน้อย และขาดทุนมาโดยตลอด ทั้งที่เปิดให้บริการ3G มาก่อนใครเพียงรายเดียว

ขณะที่ กสท นำคลื่นความถี่ 850 MHz มาทำธุรกิจร่วมกับพันธมิตรคือกลุ่มบริษัททรู และสามารถสร้างโครงข่าย 3G ครอบคลุมทั่วประเทศ แซงหน้าทีโอทีที่เริ่มต้นทำโครงข่าย 3G มาก่อน อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกแก่กลุ่มบริษัททรูที่สามารถให้บริการ 3G โดยไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่

ขณะที่สภาพของ 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้งสองเป็นอย่างไร ทุกฝ่ายต่างก็เห็นกันอยู่วันนี้ยังต้องจัดทำแผนฟื้นฟูองค์กรกันอยู่แล้ว แล้วจะยังมาเพรียกหาที่จะขอฮุบคลื่นความถี่ใหม่ไปอีกโดยไม่ต้องประมูล ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม "ไลเซ่น"ใดๆ กันอีกหรือ?

ไม่แปลกใจเหตุใด "หมอลี่-นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กรรมการกสทช.ถึงออกมาแสดงความกังวลคนไทยอาจต้องหาวเรอรอ 4 จีไปถึงปีหน้า เพราะจนป่านนี้ กสทช.ยังไม่เห็นสัญญานใดๆ จากคสช.ว่า หากพ้นกำหนดคำสั่งชะลอการประมูลที่จะมีผลไปจนถึงเดือนกรกฎาคม นี้จะสามารถเปิดประมูลได้ทันทีเลย หรือไม่ ต้องรอไปจนถึงนาทีสุดท้ายคือวันที่ 17 ก.ค.2558 ค่อยให้กสทช. เริ่มต้่นกระบวนการประมูล 4 จีกันเลยหรือไม่?

เพราะหากต้องทำตามโรดแม็พที่ว่าจริง นพ.ประวิทย์ บอกว่า กสทช.ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทำคลอด มาตรการ คุ้มครอง ผู้ใช้บริการคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เป็นการชั่วคราว(ประกาศฯห้ามซิมดับ)ทั้งของ 1800 เดิมและของเอไอเอส 900 MHz อีก กำหนดหลักเกณฑ์การประมูล และขั้นตอนอะไรต่อมิอะไร ซึ่งต้องกินเวลา 4-5 เดือนหลังจากนั้น กว่าจะประมูลและออกใบอนุญาตได้คงจะล่วงเข้าปลายปี 58 เผลอ ๆ อาจล่วงเข้าสู่ปี 2559 ไปแล้ว

นี่ยังไม่นับถึงเรื่องที่ กสทช.อาจต้องส่งเรื่องให้ "คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" ที่รัฐบาล คสช.และกระทรวงไอซีที กำลังโม่แป้งเร่งจัดตั้งกันอยู่ ซึ่งในกฎหมายกำหนดให้ กสทช.ต้องนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการชุดนี้ด้วยอีก

ทั้งหลายทั้งปวงคงขึ้นอยู่กับ"บิ๊กตู๋-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะชั่งน้ำหนัก ทาง 2 แพร่งของ 4 จี แต่หากจะถามประชาชนคนไทยแล้ว การประมูลเพื่อออกใบอนุญาตมือถือ 4 จี
นี่แหล่ะคือประชานิยมที่ประชาชนคนไทยเพรียกหา เป็นหนทางคืนความสุขเพื่อคนไทยที่คสช.ป่าวประกาศมาโดยตลอด!
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/637740#sthash.37PSQbdJ.dpuf

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.