Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 มีนาคม 2558 Fujitsu การเปิดตัวระบบสแกนม่านตาสำหรับสมาร์ทโฟนนี้ถือว่าล่าช้าเมื่อเทียบกับระบบสแกนลายนิ้วมือที่แอปเปิลเปิดตัวเซ็นเซอร์ “ทัชไอดี (Touch ID) โดยสมาร์ทโฟนเครื่องดังกล่าวจะต้องติดกล้องพร้อมหลอดไฟแอลอีดีอินฟราเรดไว้ที่เครื่อง



ประเด็นหลัก


      ฟูจิตสึ เปิดตัวเทคโนโลยีนี้ในงาน Mobile World Congress (MWC) ที่บาร์เซโลนา ประเทศสเปน จุดยืนของเทคโนโลยีนี้คือ การเป็นเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยชีวภาพสำหรับอุปกรณ์พกพา บนจุดขายว่า การใช้ระบบสแกนม่านตานั้นสามารถเป็นระบบทางเลือกที่นอกเหนือจากระบบสแกนลายนิ้วมือที่กลายเป็นมาตรฐานในสมาร์ทโฟนรุ่นเรือธงของแบรนด์ใหญ่ทั้งแอปเปิล (Apple) และซัมซุง (Samsung)
   
       การเปิดตัวระบบสแกนม่านตาสำหรับสมาร์ทโฟนนี้ถือว่าล่าช้าเมื่อเทียบกับระบบสแกนลายนิ้วมือที่แอปเปิลเปิดตัวเซ็นเซอร์ “ทัชไอดี (Touch ID) ในปี 2013 (ใน iPhone 5S) ปัจจุบัน ระบบทัชไอดีถูกใช้งานโดยผู้บริโภคหลายล้านคนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ฟูจิตสึ ยังหวังว่าระบบดังกล่าวจะสามารถเป็นทางเลือกให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนได้ โดยสมาร์ทโฟนเครื่องดังกล่าวจะต้องติดกล้องพร้อมหลอดไฟแอลอีดีอินฟราเรดไว้ที่เครื่อง
   
       จากวิดีโอ หลอดไฟแอลอีดีอินฟราเรดที่กล้องจะยิงแสงที่มีความปลอดภัยไปที่ดวงตาของผู้ใช้ ขณะที่กล้องดิจิตอลจะมีหน้าที่เก็บภาพม่านตาเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับรูปแบบม่านตาที่บันทึกไว้ในระบบ จุดนี้ฟูจิตสึ ย้ำว่าการอ่านค่าจากม่านตามนุษย์จะใช้จำแนกตัวบุคคลได้ปลอดภัยกว่าลายนิ้วมือ เนื่องจากลายนิ้วมือ และหัวแม่โป้งนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในบางช่วงอายุ
   
       ที่สำคัญระบบนี้ยังทำให้ผู้ใช้ในเมืองหนาวสามารถปลดล็อกอุปกรณ์ของตัวเองโดยไม่ต้องถอดถุงมือ เพิ่มความสะดวกสบายชนิดที่ระบบสแกนลายนิ้วมือให้ไม่ได้ ขณะเดียวกัน ก็ไม่มีปัญหาใดๆ ต่อผู้สวมใส่คอนเทกต์เลนส์ รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์ในที่มืด เนื่องจากอินฟราเรดยังสามารถทำงานได้ดี
   


_____________________________________________________














Fujitsu โชว์สมาร์ทโฟนต้นแบบ “ปลดล็อกด้วยการมอง”



ฟูจิตสึ (Fujitsu) ผู้ผลิตสินค้าไอทีแดนปลาดิบ เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นต้นแบบที่สามารถสแกนม่านตาผู้ใช้ได้ผ่านแสงอินฟราเรด ทำให้สมาร์ทโฟนดังกล่าวสามารถปลดล็อกหน้าจอได้ด้วยการจ้องมอง ขณะเดียวกัน ก็สามารถใช้การมองเป็นวิธีป้อนรหัสผ่านรูปแบบใหม่ในแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนได้หลากหลายประเภท
     
       ฟูจิตสึ เปิดตัวเทคโนโลยีนี้ในงาน Mobile World Congress (MWC) ที่บาร์เซโลนา ประเทศสเปน จุดยืนของเทคโนโลยีนี้คือ การเป็นเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยชีวภาพสำหรับอุปกรณ์พกพา บนจุดขายว่า การใช้ระบบสแกนม่านตานั้นสามารถเป็นระบบทางเลือกที่นอกเหนือจากระบบสแกนลายนิ้วมือที่กลายเป็นมาตรฐานในสมาร์ทโฟนรุ่นเรือธงของแบรนด์ใหญ่ทั้งแอปเปิล (Apple) และซัมซุง (Samsung)
     
       การเปิดตัวระบบสแกนม่านตาสำหรับสมาร์ทโฟนนี้ถือว่าล่าช้าเมื่อเทียบกับระบบสแกนลายนิ้วมือที่แอปเปิลเปิดตัวเซ็นเซอร์ “ทัชไอดี (Touch ID) ในปี 2013 (ใน iPhone 5S) ปัจจุบัน ระบบทัชไอดีถูกใช้งานโดยผู้บริโภคหลายล้านคนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ฟูจิตสึ ยังหวังว่าระบบดังกล่าวจะสามารถเป็นทางเลือกให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนได้ โดยสมาร์ทโฟนเครื่องดังกล่าวจะต้องติดกล้องพร้อมหลอดไฟแอลอีดีอินฟราเรดไว้ที่เครื่อง
     
       จากวิดีโอ หลอดไฟแอลอีดีอินฟราเรดที่กล้องจะยิงแสงที่มีความปลอดภัยไปที่ดวงตาของผู้ใช้ ขณะที่กล้องดิจิตอลจะมีหน้าที่เก็บภาพม่านตาเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับรูปแบบม่านตาที่บันทึกไว้ในระบบ จุดนี้ฟูจิตสึ ย้ำว่าการอ่านค่าจากม่านตามนุษย์จะใช้จำแนกตัวบุคคลได้ปลอดภัยกว่าลายนิ้วมือ เนื่องจากลายนิ้วมือ และหัวแม่โป้งนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในบางช่วงอายุ
     
       ที่สำคัญระบบนี้ยังทำให้ผู้ใช้ในเมืองหนาวสามารถปลดล็อกอุปกรณ์ของตัวเองโดยไม่ต้องถอดถุงมือ เพิ่มความสะดวกสบายชนิดที่ระบบสแกนลายนิ้วมือให้ไม่ได้ ขณะเดียวกัน ก็ไม่มีปัญหาใดๆ ต่อผู้สวมใส่คอนเทกต์เลนส์ รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์ในที่มืด เนื่องจากอินฟราเรดยังสามารถทำงานได้ดี
     
       เบื้องต้น ฟูจิตสึ วางแผนว่าจะให้บริการระบบนี้ในเชิงพาณิชย์ช่วงปีนี้ โดยคาดว่าระบบสแกนม่านตาจะถูกนำมาใช้งานแทนการป้อนรหัสผ่านบริการต่างๆ ในอุปกรณ์พกพาทั้งหมด ทั้งบริการด้านเครือข่ายสังคม บริการด้านอีคอมเมิร์ซ รวมถึงบริการด้านอื่นๆ ที่จะให้บริการได้เร็วขึ้นเพราะผู้ใช้สามารถยืนยันตัวตนได้สะดวกกว่าเดิม
     
       ฟูจิตสึนั้นเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟนที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่น แต่ในเวทีโลก ฟูจิตสึ ยังไล่ตามผู้ผลิตรายใหญ่ทั้งในเอเชียด้วยกัน และจากชาติตะวันตก โดยข่าวคราวล่าสุดของฟูจิตสึ คือ การซื้อบริษัทผลิตสมาร์ทโฟนสำหรับผู้สูงอายุสัญชาติฝรั่งเศส เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สะท้อนว่า ฟูจิตสึ กำลังพยายามจะเข้าถึงตลาดเฉพาะกลุ่มเพื่อหาที่ยืนในตลาดสมาร์โฟนให้ได้
     


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000027227

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.