Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 มีนาคม 2558 มีเดียเอเยนซี่รายใหญ่ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ช่อง 7 และช่อง 3 ที่เป็นอันดับ 1 และ 2 ยังเป็นตัวเลือกสำคัญที่มีเดียเอเยนซี่และสินค้าให้ความสนใจลงโฆษณาต่อเนื่อง โดยเรตติ้งทั้ง 2 ช่องที่ลดลง ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ

ประเด็นหลัก


เจ้าตลาดเรตติ้งลด โฆษณาไม่ลด

มีเดียเอเยนซี่รายใหญ่ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังช่องใหม่ปล่อยคอนเทนต์ออกมาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ทำให้แนวโน้มทีวีดิจิทัล (กลุ่มช่องใหม่) คึกคักขึ้น ทั้งเรตติ้งที่ขยับขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เรตติ้งของช่องเก่าอยู่ในช่วงขาลง แต่สำหรับช่อง 7 และช่อง 3 ที่เป็นอันดับ 1 และ 2 ยังเป็นตัวเลือกสำคัญที่มีเดียเอเยนซี่และสินค้าให้ความสนใจลงโฆษณาต่อเนื่อง โดยเรตติ้งทั้ง 2 ช่องที่ลดลง ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ

"เรตติ้งที่ลดลงของ 2 ช่องใหญ่ ทำให้ต้องหาทางออกอื่น ๆ เข้ามาเสริม เช่น การซื้อโฆษณาช่องทีวีดิจิทัล สื่อนอกบ้าน เพื่อสร้างความคุ้มค่าให้แก่ลูกค้า"

สำหรับเรตติ้งช่องทีวีดิจิทัลถือว่ายังไม่เสถียร แต่ถือว่าเป็นสัญญาณบวก เพราะบางช่องเริ่มมีฐานแฟนคนดูประจำแล้ว


_____________________________________________________












ศึกทีวีเดือด"ช่อง3-7"ตีกันช่องใหม่ รวมพลดาราดัง-ละครเด็ดสู้สุดฤทธิ์ป้องไพรมไทม์



ทีวีเปิดศึก "ช่อง 3-7" งัดไม้เด็ดตรึงคนดู ปล่อยละครฟอร์มยักษ์-นักแสดงแม่เหล็กประชันเกลื่อนจอ หวังตรึงคนดูต่อเนื่อง น้องใหม่-ทีวีดิจิทัล ถึงกับสะอึก สู้สายป่านไม่ไหว "เอเยนซี่" ไม่สนเรตติ้งช่องเก่าลด เดินหน้าแพลนงบฯต่อเนื่อง "นีลเส็นฯ" ระบุ เม็ดเงินโฆษณาเริ่มไหลหาทีวีดิจิทัล เฉพาะเดือนมกราคมพุ่ง 2,500 ล้านบาท ขณะที่เรตติ้ง "ช่อง 3-7" ยังนำโด่ง ฟาก "เวิร์คพอยท์-ช่อง 8" ไล่ตามติดๆ

ดีกรีแข่งขันของทีวีช่องต่างๆ อุณหภูมิร้อนแรงขึ้นทุกขณะ หลังจากกลุ่มทีวีดิจิทัล (ช่องใหม่) ทยอยปล่อยคอนเทนต์รายการแม่เหล็กออกมาเรียกคนดูเป็นระลอก ๆ ทั้งวาไรตี้ ละคร ขณะเดียวกันเริ่มเห็นสัญญาณบวกเม็ดเงินโฆษณาที่ไหลเข้าสู่ช่องใหม่บ้างแล้ว ส่งผลให้ยักษ์ใหญ่ช่อง 3 และช่อง 7 ออกมาปกป้อง เพื่อรักษาเรตติ้งและฐานคนดูเอาไว้



ช่อง 3-7 ปล่อยหมัดตรึงคนดู

ผู้บริหารสถานีทีวีรายหนึ่งกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตอนนี้กลุ่มช่องเก่า โดยเฉพาะช่อง 3 และช่อง 7 ที่ออกอากาศคู่ขนานทั้งในระบบแอนะล็อกและดิจิทัลต่างเคลื่อนไหว ในการรักษาเรตติ้งและฐานคนดูของตัวเอง สังเกตได้จากละครที่ออกอากาศในช่วงไพรมไทม์จะอัดแน่นไปด้วยดาราระดับแม่เหล็ก พร้อมกับปรับผังรายการใหม่ และส่งนักแสดงดัง ๆ เดินสายโรดโชว์ต่างจังหวัดเพื่อสร้างการรับรู้ ย้ำแบรนด์ และสร้างฐานแฟนประจำ

"สะท้อนจากแอบรักออนไลน์ที่เพิ่งจบไปมีพระ-นางระดับแม่เหล็ก ทั้ง แอน ทองประสม ปีเตอร์ คอร์ปไดเรนดัล หมาก ปริญและคิมเบอร์ลี่ ซึ่งช่องใหม่ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ เนื่องจากไม่มีนักแสดงในสังกัด รวมถึงค่าตัวนักแสดงที่ค่อนข้างสูง เท่ากับว่าช่องใหญ่กำลังเปิดเกมล้อมผู้ชม ตรึงความนิยมไว้อย่างเหนียวแน่น"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุด บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ผู้บริหารช่อง 7 เริ่มเคลื่อนไหวปรับผังอีกครั้ง โดยถอดรายการ "คันปาก" ออก และส่งรายการวาไรตี้ "โสภา พลาซ่า" ที่ผลิตโดยเจเอสแอลเข้ามาแทน ส่วน "เรื่องจริงผ่านจอ" ของกันตนาได้ปรับรูปแบบใหม่ในรอบ 16 ปี

สำหรับละครหลังข่าว ช่อง 7 จัดเต็มทั้งเนื้อหาและนักแสดงแถวหน้า ทั้งวีรภาพ สุภาพไพบูลย์ เคลลี่-ธนะพัฒน์ นิว-วงศกร เชียร์-ฑิฆัมพร รวมถึงธีรภัทร์ สัจจกุล ขวัญ-อุษามณี ใหม่-ดาวิกา แพนเค้ก-เขมนิจ

หวังตรึงเรตติ้งต่อเนื่อง

นอกจากนี้มีละครเรื่องเด็ดอีกหลายเรื่อง ที่อยู่ระหว่างถ่ายทำ เช่น บ้านทรายทอง คนละโลก เพื่อนแพง รวมถึง "เพลิงพระนาง" ที่ได้ "อั้ม-พัชราภา ไชยเชื้อ" มาสร้างกระแสตั้งแต่ยังไม่เริ่มถ่ายทำ รวมถึงเตรียมยกขบวนนักแสดงโรดโชว์ต่างจังหวัดอีกระลอกในช่วงกลางเดือนมีนาคมนี้

ช่อง 3 ขนละครฟอร์มยักษ์ชน

นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากช่องใหม่เริ่มปล่อยคอนเทนต์ออกมาเรียกผู้ชมตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ภาพการแข่งขันน่าสนใจและคึกคักขึ้น สำหรับช่อง 3 ขณะนี้เริ่มปรับผังรายการต่อเนื่องและมุ่งเน้นสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและแข็งแกร่งมากขึ้น

"การมีทีวีดิจิทัลช่องใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้เราเสียผู้ชมส่วนหนึ่งไป ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่คนต้องการทดลองรับชมของใหม่ ๆ แต่ระยะยาวคงต้องดูกันต่อไป โดยเรตติ้งที่หายไปในช่วงนี้ยังไม่มีนัยสำคัญ จากนี้ไปทุกช่องจะแข่งกันที่คอนเทนต์เป็นหลัก ถ้าคอนเทนต์ดีก็มีผู้ชม"

ขณะนี้ช่อง 3 กำลังเตรียมขนละครฟอร์มใหญ่ลงจอสำหรับช่วงเวลาหลังข่าว เช่น ลมซ่อนรัก ซีรีส์เลือดมังกร (เสือ สิงห์ กระทิง แรด หงส์) เป็นต้น ที่ได้นักแสดงแม่เหล็ก เช่น อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม เจษฎาภรณ์ ผลดี ณเดชน์ คูกิมิยะ แอนดริว เกร็กสัน

กู้ชื่อช่อง 3 เอสดี

นายสุรินทร์ กล่าวว่า ตอนแรกบริษัทวางช่อง 3 เอสดี (ช่อง 28) ให้เจาะกลุ่มแมส ซึ่งเป็นฐานผู้ชมที่บริษัทยังไม่แข็งแกร่ง ส่วนช่อง 3 เอชดี (ช่อง 33) ถูกวางให้เป็นช่องพรีเมี่ยม เจาะกลุ่มผู้ชมกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ แต่หลังจากนำช่อง 3 มาออกอากาศคู่ขนานในช่อง 33 เอชดี ทำให้ต้องปรับแผนลงทุนและบริหารงานช่อง 3 เอสดีใหม่

ทั้งนี้ ผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจตั้งแต่ปีก่อนและต่อเนื่องถึงปีนี้ ทำให้อุตสาหกรรมโฆษณาชะลอตัวลงไปด้วย ซึ่งช่อง 3 เอสดี (28) ถือเป็นช่องใหม่และไม่แตกต่างจากช่องอื่น ๆ จึงยังไม่ได้รับความสนใจจากผู้ชม

"ช่อง 3 เอสดีวันนี้มีสภาพลำบากไม่ต่างจากช่องใหม่รายอื่น ๆ แต่ในเดือนเมษายนนี้จะกลับมาสู้อีกรอบ ด้วยการใส่คอนเทนต์เด็ด ๆ ลงไปในช่องเพื่อเรียกผู้ชม"

สำหรับช่องแฟมิลี่ร่วมกับบริษัท เทอร์เนอร์ บรอดคาส ซิสเต็ม เอเชียแปซิฟิค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่เกี่ยวกับคอนเทนต์การ์ตูนระดับโลก จะเข้ามาผลิตรายการเด็กช่วงเย็นทุกวันจันทร์-ศุกร์ และช่วงเช้าทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคมนี้ ก่อนจะประเมินสถานการณ์อีกครั้ง

เจ้าตลาดเรตติ้งลด โฆษณาไม่ลด

มีเดียเอเยนซี่รายใหญ่ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังช่องใหม่ปล่อยคอนเทนต์ออกมาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ทำให้แนวโน้มทีวีดิจิทัล (กลุ่มช่องใหม่) คึกคักขึ้น ทั้งเรตติ้งที่ขยับขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เรตติ้งของช่องเก่าอยู่ในช่วงขาลง แต่สำหรับช่อง 7 และช่อง 3 ที่เป็นอันดับ 1 และ 2 ยังเป็นตัวเลือกสำคัญที่มีเดียเอเยนซี่และสินค้าให้ความสนใจลงโฆษณาต่อเนื่อง โดยเรตติ้งทั้ง 2 ช่องที่ลดลง ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ

"เรตติ้งที่ลดลงของ 2 ช่องใหญ่ ทำให้ต้องหาทางออกอื่น ๆ เข้ามาเสริม เช่น การซื้อโฆษณาช่องทีวีดิจิทัล สื่อนอกบ้าน เพื่อสร้างความคุ้มค่าให้แก่ลูกค้า"

สำหรับเรตติ้งช่องทีวีดิจิทัลถือว่ายังไม่เสถียร แต่ถือว่าเป็นสัญญาณบวก เพราะบางช่องเริ่มมีฐานแฟนคนดูประจำแล้ว

เม็ดเงินโฆษณาไหล-เรตติ้งขยับ

นายชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่า ด้วยระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี บริษัทสามารถไต่ขึ้นมามีเรตติ้งอันดับ 3 รองจากช่อง 7 และช่อง 3 ซึ่งเชื่อว่าเดินมาถูกทางแล้ว ที่ใส่คอนเทนต์เต็มสตรีม ทันทีที่ออกอากาศวันแรกเมื่อเดือนเมษายน 2557 โดยชูรายการวาไรตี้เป็นหลัก ขณะที่จากนี้ไปดีกรีการแข่งขันทีวีจะเพิ่มความรุนแรงขึ้น โดยแต่ละช่องต้องเร่งหาจุดยืนที่ชัดเจน ควบคู่กับแนวทางการสร้างชื่อช่องให้เป็นที่จดจำ

จากรายงานบริษัท นีลเส็น ประเทศไทย จำกัด พบว่าการใช้งบฯโฆษณาผ่านสื่อในเดือนมกราคม 2558 มีมูลค่ารวม 9,528 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน 16.49% โดยสื่อหลักยังคงเป็นสื่อโทรทัศน์ คิดเป็นสัดส่วนถึง 74% แบ่งเป็นทีวีแอนะล็อก (ช่อง 3-5-7-9) มูลค่า 4,248 ล้านบาท เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม 300 ล้านบาท และทีวีดิจิทัล (ช่องใหม่) 2,510 ล้านบาท เติบโตขึ้น 100% จากปีก่อนที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่เดือนเมษายน 2557

นอกจากนี้ผลสำรวจเรตติ้งล่าสุด ระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2558 ของกลุ่มผู้ชมทั่วประเทศ อายุ 15 ปีขึ้นไปของนีลเส็นฯ ยังระบุว่า เรตติ้งทีวี 10 ช่องแรก ได้แก่ ช่อง 7 มีเรตติ้ง 3.312 ช่อง 3 เรตติ้ง 2.196 เวิร์คพอยท์ทีวี 0.559 ช่อง 8 เรตติ้ง 0.331 โมโน 29 เรตติ้ง 0.283 ช่อง 9 เรตติ้ง 0.248 ช่องวัน 0.157 ช่อง 5 เรตติ้ง 0.152 ไทยรัฐทีวี 0.103 และพีพีทีวี 0.064


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425839660

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.