Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 มีนาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) กสทช. ร่วมประชุมนัดแรกของคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ดีอี) ชุดชั่วคราวในวันที่ 18 มี.ค. เร่งถาม คสช. จัดประมูลได้เมื่อไร และเพิ่มเงื่อนไขผู้เข้าประมูลค่ายเดิมต้องให้ลูกค้าละทะเบียน SIM CARD

ประเด็นหลัก



 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในการประชุมนัดแรกของคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ดีอี) ชุดชั่วคราวในวันที่ 18 มี.ค.ที่จะถึงนี้ กสทช.ในฐานะเป็นหนึ่งในคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะนำเรื่องการประมูล 4G เข้าหารือในที่ประชุมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการขอความชัดเจนจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าจะให้เดินหน้าประมูลคลื่นความถี่ทั้งย่าน 1800 MHz และย่าน 900 MHz ได้เมื่อไหร่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ต้องการให้ กสทช.เข้าไปชี้แจงรายละเอียดของหนังสือที่ กสทช.สอบถามความชัดเจนในการประมูล 4G หลังจากที่ คสช.สั่งให้ระงับการประมูลออกไป 1 ปี และจะครบกำหนดในเดือน ก.ค.นี้
     
       ‘จดหมายที่เราถามไปยัง คสช.ตอนนี้อยู่ที่ท่านรองนายกฯ แล้ว ดังนั้น ท่านจึงต้องการให้เราเข้าไปชี้แจง ซึ่งบอร์ดดีอีนี้มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ดังนั้น หากบอร์ดดีอีเห็นชอบให้ประมูลนายกฯ ซึ่งเหมือนกับสวมหมวก 2 ใบ คือ เป็นหัวหน้า คสช.ด้วยก็สามารถสั่งให้ คสช.ตอบหนังสือกลับมาอย่างเป็นทางการให้ กสทช.เดินหน้าประมูล 4G ได้ ทั้งนี้ ก็ต้องรอลุ้นผลของการประชุมที่จะถึงนี้ก่อนว่าจะมีความเห็นออกมาอย่างไร หากได้หนังสือตอบกลับ กสทช.ต้องใช้เวลาเตรียมการประมูลอีก 6 เดือน’
     
       นายฐากร กล่าวว่า กสทช.จะเสนอความเห็นในเรื่องวิธีการจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยว่าหากเป็นการใช้งานในเชิงพาณิชย์ควรใช้วิธีการประมูลเพราะเหมาะสมต่อประเทศไทยมากกว่าการคัดเลือกหรือบิวตี้ คอนเทสต์ แต่หากนำคลื่นความถี่ไปใช้เพื่อกิจการสาธารณะสามารถใช้วิธีการบิวตี้ คอนเทสต์ได้ ขณะเดียวกัน ก็จะเพิ่มเงื่อนไขในการประมูลเข้าไปด้วย หากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใดไม่ให้ความร่วมมือในการลงทะเบียนซิมการ์ดในระบบเติมเงิน (พรีเพด) ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ จะถูกตัดสิทธิออกจากการประมูล 4G และจะถูกปรับทางการปกครองเป็นเงิน 1% ของรายได้ต่อวัน หรือคิดเป็นไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทต่อวัน เนื่องจากเรื่องลงทะเบียนซิมการ์ดนี้ถูกประกาศเป็นวาระแห่งชาติแล้ว หากผู้ประกอบการไม่ทำตามถือเป็นการสร้างความเสียหายต่อประเทศซึ่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) มีบทลงโทษนี้อยู่

_____________________________________________________


















กสทช.เตรียมชงเรื่อง 4G เข้าบอร์ดดีอี 18 มี.ค.นี้



        เลขาธิการ กสทช.แจงหม่อมอุ๋ยได้รับหนังสือที่ กสทช.ถาม คสช.เรื่องประมูล 4G แล้ว เตรียมเข้าชี้แจง และถามความชัดเจนในที่ประชุมดีอีนัดแรกวันที่ 18 มี.ค.นี้ มั่นใจบอร์ดดีอีที่มีนายกฯ เป็นประธาน และเป็นหัวหน้า คสช.ด้วยจะทำให้ทราบผลการประมูลเร็วขึ้น พร้อมเดินหน้าประมูลในอีก 6 เดือนข้างหน้าหลังได้รับหนังสือตอบกลับอย่างเป็นทางการ ด้าน รมว.ไอซีที เผยกฤษฎีกาเห็นชอบ 3 พ.ร.บ.ในการผลักดันนโยบาย Digital Economy แล้ว
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในการประชุมนัดแรกของคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ดีอี) ชุดชั่วคราวในวันที่ 18 มี.ค.ที่จะถึงนี้ กสทช.ในฐานะเป็นหนึ่งในคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะนำเรื่องการประมูล 4G เข้าหารือในที่ประชุมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการขอความชัดเจนจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าจะให้เดินหน้าประมูลคลื่นความถี่ทั้งย่าน 1800 MHz และย่าน 900 MHz ได้เมื่อไหร่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ต้องการให้ กสทช.เข้าไปชี้แจงรายละเอียดของหนังสือที่ กสทช.สอบถามความชัดเจนในการประมูล 4G หลังจากที่ คสช.สั่งให้ระงับการประมูลออกไป 1 ปี และจะครบกำหนดในเดือน ก.ค.นี้
     
       ‘จดหมายที่เราถามไปยัง คสช.ตอนนี้อยู่ที่ท่านรองนายกฯ แล้ว ดังนั้น ท่านจึงต้องการให้เราเข้าไปชี้แจง ซึ่งบอร์ดดีอีนี้มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ดังนั้น หากบอร์ดดีอีเห็นชอบให้ประมูลนายกฯ ซึ่งเหมือนกับสวมหมวก 2 ใบ คือ เป็นหัวหน้า คสช.ด้วยก็สามารถสั่งให้ คสช.ตอบหนังสือกลับมาอย่างเป็นทางการให้ กสทช.เดินหน้าประมูล 4G ได้ ทั้งนี้ ก็ต้องรอลุ้นผลของการประชุมที่จะถึงนี้ก่อนว่าจะมีความเห็นออกมาอย่างไร หากได้หนังสือตอบกลับ กสทช.ต้องใช้เวลาเตรียมการประมูลอีก 6 เดือน’
     
       นายฐากร กล่าวว่า กสทช.จะเสนอความเห็นในเรื่องวิธีการจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยว่าหากเป็นการใช้งานในเชิงพาณิชย์ควรใช้วิธีการประมูลเพราะเหมาะสมต่อประเทศไทยมากกว่าการคัดเลือกหรือบิวตี้ คอนเทสต์ แต่หากนำคลื่นความถี่ไปใช้เพื่อกิจการสาธารณะสามารถใช้วิธีการบิวตี้ คอนเทสต์ได้ ขณะเดียวกัน ก็จะเพิ่มเงื่อนไขในการประมูลเข้าไปด้วย หากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใดไม่ให้ความร่วมมือในการลงทะเบียนซิมการ์ดในระบบเติมเงิน (พรีเพด) ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ จะถูกตัดสิทธิออกจากการประมูล 4G และจะถูกปรับทางการปกครองเป็นเงิน 1% ของรายได้ต่อวัน หรือคิดเป็นไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทต่อวัน เนื่องจากเรื่องลงทะเบียนซิมการ์ดนี้ถูกประกาศเป็นวาระแห่งชาติแล้ว หากผู้ประกอบการไม่ทำตามถือเป็นการสร้างความเสียหายต่อประเทศซึ่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) มีบทลงโทษนี้อยู่

กสทช.เตรียมชงเรื่อง 4G เข้าบอร์ดดีอี 18 มี.ค.นี้
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

        ***กม.ดีอีผ่านกฤษฎีกาแล้ว
     
       ด้านนายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงความคืบหน้าในการผลักดันให้เกิดกฎหมายตามนโยบาย Digital Economy ว่า ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ให้ความเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ..., ร่างประกาศ พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในขั้นตอนต่อไปภายในเดือนนี้ ทางกระทรวงไอซีทีจะนำเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว พร้อมด้วยรายชื่อ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดีอีทั้ง 30 คน ภายหลังนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง ก่อนนำเสนอไปยังที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายต่อไป ซึ่งเบื้องต้นยังไม่สามารถให้การยืนยันได้ว่า ภายใน 1-2 เดือนนี้กฎหมายดังกล่าวจะสามารถบังคับใช้ได้ทันทีหรือไม่ เนื่องจากต้องขึ้นกับ สนช. พิจารณา
     
       “ส่วนกระแสการคัดค้าน และไม่เห็นด้วยจำนวนมากเกี่ยวกับรายชื่อของคณะกรรมการดีอีที่มีแต่ตัวแทนการเมือง ข้าราชการ และฝ่ายมั่นคง แต่มีเอกชนเข้าไปร่วมแค่ 3 ตำแหน่งนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะในเบื้องต้น คณะกรรมการดีอี จำนวน 30 คน มีตัวแทนจากเอกชนถึง 8 ตำแหน่ง ซึ่งมาจากสภาอุตสาหกรรมแห่งชาติ สภาหอการค้าไทย และสมาคมธนาคาร จึงถือว่าสัดส่วนของคณะกรรมการเหมาะสมแล้ว”


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000029538

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.