Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 มีนาคม 2558 (บทความ) บริษัทสื่อ (1) Air conditioners ต้องปรับอย่างไรเมื่อองค์กรต้องเปลี่ยนจากบริษัทค่ายเพลงสู่บริษัทสื่อ (1) // ลูกค้าปลายทางเปลี่ยนพฤติกรรมไปฟังจากแผ่นละเมิดลิขสิทธิ์ในช่วงแรกและดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ละเมิดในช่วงหลัง

ประเด็นหลัก


ลูกค้าปลายทางเปลี่ยนพฤติกรรมไปฟังจากแผ่นละเมิดลิขสิทธิ์ในช่วงแรกและดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ละเมิดในช่วงหลัง ประเด็นคือสิ่งที่เคยถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์และถูกรักษาดูแลอยู่ในคลังสินค้าเหล่านั้น เราจะกล้ายอมรับว่ามันได้กลายเป็นของที่แทบไม่มีมูลค่าและเราควรกำจัดมันออกไปจากบัญชีหรือไม่


_____________________________________________________















(



 altหลังจากที่คุยเรื่องทีวีดิจิตอลกันมาหลายครั้งและได้เสนอความคิดเห็นส่วนตัวที่หลายคนบอกว่าโหดร้ายและทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายท่านไม่พอใจ ดิฉันก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ เพราะวิเคราะห์ไปตามหลักการและเหตุผล ไม่ได้มีอคติใดๆ อีกทั้งไม่ได้พาดพิงผู้ประกอบการรายใดเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่กล่าวถึงในลักษณะของโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ต่อความเข้าใจของผู้อ่านเป็นที่ตั้ง
    altมาวันนี้เลยจะเปลี่ยนหัวข้อมาเล่าถึงการปรับเปลี่ยนขององค์กรเพื่อการอยู่รอดและเติบโตในภาวะที่อุตสาหกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะเชื่อว่าประสบการณ์จากการเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงอาร์เอส จากบริษัทค่ายเพลงสู่การเป็นผู้เล่นรายสำคัญในอุตสาหกรรมสื่อ น่าจะพอแบ่งปันแนวคิดที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านได้บ้าง
    จากการล่มสลายของธุรกิจเพลงในรูปแบบเดิมที่จัดจำหน่ายสินค้าเพลงในรูปแบบของซีดี วิซีดี ของทั้งโลก ทำให้วิธีการดำเนินธุรกิจของค่ายเพลงทั่วโลกแทบไม่เหลือเค้าโครงใดๆ ไว้ให้ศึกษาและเลียนแบบ อาร์เอสเองก็ต้องดิ้นรนในเบื้องต้นเพื่อแก้ปัญหาในธุรกิจเพลงแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังต้องเสาะแสวงหาธุรกิจใหม่ที่สามารถเอาความสามารถหลักขององค์กรไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำถามคือในช่วงเวลายากลำบากแบบนั้น เราต้องทำอย่างไรและต้องเปลี่ยนอะไรกันบ้างเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้า
    ดิฉันมองว่าในทุกปัญหาที่เราต้องการแก้ไข สิ่งแรกที่เราต้องทำก่อนคือยอมรับว่าเรามีปัญหานั้น เราไม่สามารถจะแก้ปัญหาใดๆ ได้ หากไม่ยอมรับก่อนว่ามีปัญหานั้นอยู่ แน่นอนว่ามันเจ็บปวดและบั่นทอนกำลังใจมหาศาลในเวลาที่ทุกอย่างดูมืดมนและปัญหามันถาโถมเข้ามา หากจำกันได้ในยุครุ่งเรืองของธุรกิจเพลง เราจะถามกันว่าอัลบั้มชุดนี้ขายได้กี่แผ่น เพราะนั่นคือดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงานแต่ละชิ้นที่ผลิตออกสู่ตลาด แต่เมื่อเข้าสู่ขาลง จำนวนแผ่นที่เคยมีมูลค่าเหล่านั้นก็กลับกลายมาเป็นภาระอันหนักอึ้งของสินค้าคงเหลือ ที่คงค้างอยู่ในคลังสินค้าที่นับวันจะมีแต่ถดถอยลงไปแง่ของมูลค่า ในช่วงท้ายๆ ของยุครุ่งเรืองของธุรกิจเพลงคือเมื่อประมาณเกือบ 10 ปีที่แล้ว ดิฉันจำได้ว่าเรามีสินค้าคงเหลือ ณ สิ้นปีอยู่ในหลักเกือบ 10 ล้านแผ่น ซึ่งรวมถึงสินค้าที่อยู่ในมือลูกค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายที่เราเรียกกันว่า ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ทั่วประเทศ เพราะสินค้าเพลงนั้นเป็นสินค้าฝากขาย ลูกค้าสั่งไปลองตลาดก่อน ถ้าขายดีก็สั่งเพิ่ม ขายไม่ดีก็คืนได้ 100% ไม่ต้องรับความเสี่ยงใดๆ  เมื่อเข้าสู่ยุคขาลง การคืนสินค้าจากลูกค้าเหล่านี้จึงเป็นงานยากของเราที่จะประเมินความเสียหายที่เราต้องแบกรับในวันที่อัลบั้มเหล่านั้นขายไม่ได้เพราะลูกค้าปลายทางเปลี่ยนพฤติกรรมไปฟังจากแผ่นละเมิดลิขสิทธิ์ในช่วงแรกและดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ละเมิดในช่วงหลัง ประเด็นคือสิ่งที่เคยถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์และถูกรักษาดูแลอยู่ในคลังสินค้าเหล่านั้น เราจะกล้ายอมรับว่ามันได้กลายเป็นของที่แทบไม่มีมูลค่าและเราควรกำจัดมันออกไปจากบัญชีหรือไม่
    เพราะการยอมรับนั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหา แม้ความจริงนั้นจะเจ็บปวดเพราะในทางบัญชีเราต้องทำการตัดทรัพย์สินเหล่านั้นและบันทึกขาดทุนในงบกำไรขาดทุนทันที อันนำมาซึ่งการสูญเสียความเชื่อมั่นจากทั้งภายในและภายนอก การกระทำแบบนี้เราได้ยินกันบ่อยในภาษาอังกฤษว่า Bite the bullet คือจะยอมอดทนกับความเจ็บปวดจากการยอมรับปัญหานั้น เพื่อจะนำไปสู่การแก้ไขและหาทางออกที่นำพาองค์กรไปสู่แสงสว่างต่อไปหรือไม่ ต้องบอกก่อนว่าการที่แผ่นซีดี วีซีดี ขายไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าคนฟังเพลงน้อยลง หรือ เพลงหมดคุณค่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้คนฟังเพลงมากขึ้นด้วยซ้ำ หากแต่รูปแบบการทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเพลงนั้นเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของพวกเราในฐานะผู้บริหารขององค์กรว่าจะปรับตัวอย่างไรให้เดินไปข้างหน้าพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนั้น
    แม้ว่าเราจะตัดสินใจยอมรับปัญหาและ bite the bullet ที่ว่า แต่ความลึกและหนักของปัญหาที่ตามมานั้นสาหัสและใช้เวลาของทีมบริหารไปอย่างมากมาย จนทำให้เราแทบไม่มีเวลาเหลือพอที่จะไปคิดหากลยุทธ์ที่จะพาองค์กรเดินไปข้างหน้า หลังจากสะสางปัญหาที่สะสมมาตลอดหลายสิบปีของการทำธุรกิจเพลงในรูปแบบของการฝากขาย ณ จุดนั้น ดิฉันมองว่าสิ่งที่องค์กรต้องมีคือความเข้มแข็งของผู้นำและกำลังใจที่ดีจากทีมงานหลัก เพราะนี่เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก แน่นอนว่าไม่ต้องพูดถึงการสรรหาคนเก่งมาเพิ่มเติมเพื่อช่วยกันนำพาบริษัทไปข้างหน้า ลำพังการจะรักษาบุคลากรที่มีอยู่เดิมยังยากเย็นแสนเข็ญ ดังนั้นในเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ทัศนคติและความเข้มแข็งของผู้นำจึงมีความสำคัญมาก คราวหน้าเราจะมาคุยกันต่อว่าหลังจากที่อาร์เอสจัดการกับปัญหาสินค้าคงคลังอันเป็นภาระที่สืบเนื่องมาจากธุรกิจเพลงในยุคอะนาล็อกไปจนจบแล้ว เราเข้าสู่ธุรกิจเพลงในยุคดิจิตอลและสื่อดิจิตอลอย่างไรค่ะ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,035  วันที่ 15 - 18  มีนาคม  พ.ศ. 2558





http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=268919:-1&catid=251:-word-of-digital-tv&Itemid=637#.VQZo10JAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.