Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มีนาคม 2558 กสทช.สุภิญญา ระบุ บอร์ด กสท. จันทร์หน้า (23 มี.ค.) กรณี SLC - NATION จะออกมาอย่างไร ผู้ที่ได้รับผลกระทบและเสียหายทั้ง 2 ฝ่าย คงเลือกไปจบลงที่ศาล

ประเด็นหลัก



“การประชุม บอร์ด กสท. จันทร์หน้า (23 มี.ค.) บอร์ดควรจะต้องพิจารณาและมีมติต่อกรณีเอสแอลซีและเนชั่น เชื่อว่าไม่ว่ามติเรื่องนี้ที่ออกเป็นคำสั่งทางปกครอง จะออกมาอย่างไร ผู้ที่ได้รับผลกระทบและเสียหายทั้ง 2 ฝ่าย คงเลือกไปจบลงที่ศาล” นางสาวสุภิญญา กล่าว

_____________________________________________________













เคาะ‘SLC-เนชั่น’23เมย. ‘สุภิญญา’ชี้ผู้เสียหายจ่อร้องศาล

บอร์ด กสท. ไม่พิจารณากรณี “เอสแอลซี-เนชั่น” แจงอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลสัดส่วนถือหุ้น “สุภิญญา”ชี้จันทร์23มี.ค. ต่างฝ่ายเดินหน้าร้องศาล

หลังจากสำนักงานส่งเสริมการแข่งขันและกำกับดูแล และสำนักกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เสนอผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2558 กรณีบริษัทโซลูชั่น คอนเนอร์(1998) จำกัด (มหาชน) หรือ SLC ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ช่องสปริงนิวส์ทีวี ผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ประเภทช่องข่าวและสาระ ซื้อหุ้นของบริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG สัดส่วน 12.27% โดยเนชั่น เป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทเอ็นบีซี เน็กซ์วิชั่น จำกัด (NNV) ซึ่งได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ช่องข่าวและสาร “เนชั่นทีวี”

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่าการประชุมบอร์ด กสท. วานนี้ (16 มี.ค.) กรรมการยัง “ไม่พิจารณา” กรณีเอสแอลซี ซื้อหุ้นเนชั่น โดยก่อนหน้านี้ สำนักงานฯ ได้สรุปผลวิเคราะห์กรณีดังกล่าวว่า เอสแอลซี มีสัดส่วนถือหุ้นในเนชั่น “เข้าข่าย”ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันและเป็นการถือครองใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ในหมวดหมู่เดียวกันเกินสัดส่วนตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ พ.ศ.2556

โดยประกาศฯ ข้อ 7.2 กำหนดว่าผู้ขอรับใบอนุญาตที่มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลจะต้องไม่เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยการพิจารณาให้เป็นไปตามภาคผนวก ก และ ข แล้วแต่กรณี ภาคผนวก ข ได้บัญญัตินิยาม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือผู้ถือหุ้นในผู้เข้าร่วมการประมูลเกินกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้เข้าร่วมการประมูลนั้น การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งสำนักงานฯ วิเคราะห์ตามความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กสทช. ที่ระบุว่าประกาศฯ หลักเกณฑ์ประมูลฯ มีผลบังคับใช้ต่อเนื่องตลอดอายุใบอนุญาต 15 ปี

คาดผู้เสียหายร้องศาล
การประชุมบอร์ด กสท. วานนี้ ที่ยังไม่มีการพิจารณากรณีเอสแอลซีและเนชั่น เนื่องจาก พลโท พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการ กสทช. และกรรมการ กสท. ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลและหลักเกณฑ์การถือหุ้นเนชั่นของเอสแอลซี ว่าต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้นทางตรงผ่านบริษัทแม่เนชั่น หรือการถือหุ้นผ่านเอ็นบีซี ซึ่งมีบริษัทย่อยเป็นผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล

“การประชุม บอร์ด กสท. จันทร์หน้า (23 มี.ค.) บอร์ดควรจะต้องพิจารณาและมีมติต่อกรณีเอสแอลซีและเนชั่น เชื่อว่าไม่ว่ามติเรื่องนี้ที่ออกเป็นคำสั่งทางปกครอง จะออกมาอย่างไร ผู้ที่ได้รับผลกระทบและเสียหายทั้ง 2 ฝ่าย คงเลือกไปจบลงที่ศาล” นางสาวสุภิญญา กล่าว

หลัง บอร์ด กสท. มีมติกรณีเอสแอลซีและเนชั่น และผู้ได้รับกระทบ 2 ฝ่าย คงเลือกใช้กระบวนการศาลให้ตัดสินเรื่องดังกล่าว และเชื่อว่าจะเป็นบรรทัดฐานในการกำกับดูแลกิจการทีวีดิจิทัลต่อไปในอนาคต

นางสาวสุภิญญา กล่าวว่าการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีเอสแอลซีและเนชั่น สำนักงานฯ พิจารณาจากความเห็นของอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ที่ให้ความเห็นว่า ประกาศหลักเกณฑ์ประมูลฯ มีผลบังคับใช้ จากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนิด้า ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูล และผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ได้เข้ามาร่วมตรวจสอบกรณีเอสแอลซีและเนชั่น โดยให้ความเห็นว่าการพิจารณาความเชื่อมโยงการถือหุ้นของผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ใช้หลักเกณฑ์ความสัมพันธ์ 5 ชั้น ไม่ได้พิจารณาเฉพาะ บริษัทแม่และบริษัทลูกเท่านั้น แต่พิจารณาชั้นบริษัทปู่ย่า พ่อแม่ ลูก หลาน ที่เชื่อมโยงกัน ดังนั้นกรณีนี้สำนักงานฯแข่งขัน จึงใช้หลักเกณฑ์พิจารณาการถือหุ้นของ เอสแอลซี ในบริษัทเนชั่นที่สัดส่วน 12.27% ไม่ได้พิจารณาสัดส่วนที่เอสแอลซี ถือหุ้นในเอ็นบีซี

ยุบอนุกรรมการเหลือ10ชุด
นางสาวสุภิญญา กล่าวว่าการประชุมบอร์ด กสท. วานนี้มีการปรับโครงสร้างการทำงานของ กสท. ใหม่ โดยยุบคณะอนุกรรมการ จาก 22 ชุด เหลือ 10 ชุด โดย กรรมการ 1 คน จะเป็นประธาน คณะอนุฯ 2 ชุด ประกอบด้วย พันเอกนที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท. ดูอนุกรรมการ ด้านเทคโนโลยี และใบอนุญาตกิจการวิทยุ ,พลโท พีระพงษ์ มานะกิจ ดูแลอนุกรรมการ ด้านใบอนุญาตกิจการโทรทัศน์กลุ่มไม่ใช้คลื่นความถี่ (เคเบิลและดาวเทียม) และกำกับเนื้อหาผังรายการ

พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า ดูแลอนุกรรมการด้านกฎหมายและคดีความทางปกครอง และพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ของผู้ประกอบการรายเดิม ,นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ดูแลอนุกรรมการด้านส่งเสริมการแข่งขัน และมูลค่าคลื่นความถี่ และตนเองดูแลอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและการกำกับดูแลกันเอง
การปรับโครงสร้างดังกล่าวเพื่อลดค่าใช้จ่ายการทำงานของอนุกรรมการที่มีจำนวนมาก โดยจะเสนอบอร์ด กสทช. พิจารณาเพื่อเห็นชอบต่อไป

นอกจากนี้สำนักงานฯ ได้รายงานผลการสุ่มตรวจคุณภาพกล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัลที่จำหน่ายในท้องตลาด พบว่ามี 4 แบรนด์ จำนวน 6 รุ่น จำหน่ายสินค้าไม่ตรงกับมาตรฐานที่เสนอต่อสำนักงานฯ โดยพบว่าใช้ระบบเสียงไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยสำนักงานฯ เตรียมเรียกผู้ประกอบการทั้ง 4 แบรนด์มาชี้แจ้งโดยด่วน
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/639495#sthash.5ph2Ns2j.dpuf


http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/639495

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.