Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 เมษายน 2558 กสทช.สุภิญญา ระบุ ช่วงหลังสงกรานต์ ให้พักใช้ใบอนุญาต ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี ที่โฆษณาผิดกฎหมาย อาหารและยา แบบซ้ำซาก ประมาณ 10-15 ช่อง เป็นเวลา 1 เดือน หลังพบยังออกอากาศผลิตภัณฑ์ ต่อเนื่อง

ประเด็นหลัก


เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2558 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยว่า เตรียมเสนอคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ช่วงหลังสงกรานต์ ให้พักใช้ใบอนุญาต ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี ที่โฆษณาผิดกฎหมาย อาหารและยา แบบซ้ำซาก ประมาณ 10-15 ช่อง เป็นเวลา 1 เดือน หลังพบยังออกอากาศผลิตภัณฑ์ ต่อเนื่องแล้วยังไม่แก้ไข หลังขอให้ผู้ประกอบการดูแลเอง ผ่านมาเกือบ 3 ปี ยังไม่ได้แก้ปัญหา

กรรมการ กสท.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคฯ กล่าวต่อว่า ขณะที่เครือข่ายภาคประชาชน ของ กสทช.ตั้งทีมไว้เพื่อมอนิเตอร์พบว่า ยังมีกว่า 90 ช่อง ที่โฆษณาสุ่มเสี่ยงผิด ก.ม.อย. แต่ช่องเหล่านี้ จะใช้มาตรการตักเตือนก่อน เพราะเพิ่งพบว่า อาจทำผิด แต่ช่องที่โฆษณาต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่ตักเตือนไปแล้ว ยังไม่แก้ไข ก็จำเป็นต้องใช้การบังคับทางปกครองที่เข้มงวดมากขึ้น


_____________________________________________________














กสท.เตรียมเสนอพักไลเซนส์ช่องเคเบิล-ดาวเทียม โฆษณา ผิด อย.



กรรมการ กสท.เตรียมเสนอ พักใช้ใบอนุญาต ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี ที่โฆษณาผิดกฎหมาย อาหารและยา แบบซ้ำซาก ประมาณ 15 ช่องเป็นเวลา 1 เดือน หลังพบยังออกอากาศผลิตภัณฑ์ ต่อเนื่องแล้วยังไม่แก้ไข...

เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2558 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยว่า เตรียมเสนอคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ช่วงหลังสงกรานต์ ให้พักใช้ใบอนุญาต ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี ที่โฆษณาผิดกฎหมาย อาหารและยา แบบซ้ำซาก ประมาณ 10-15 ช่อง เป็นเวลา 1 เดือน หลังพบยังออกอากาศผลิตภัณฑ์ ต่อเนื่องแล้วยังไม่แก้ไข หลังขอให้ผู้ประกอบการดูแลเอง ผ่านมาเกือบ 3 ปี ยังไม่ได้แก้ปัญหา

กรรมการ กสท.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคฯ กล่าวต่อว่า ขณะที่เครือข่ายภาคประชาชน ของ กสทช.ตั้งทีมไว้เพื่อมอนิเตอร์พบว่า ยังมีกว่า 90 ช่อง ที่โฆษณาสุ่มเสี่ยงผิด ก.ม.อย. แต่ช่องเหล่านี้ จะใช้มาตรการตักเตือนก่อน เพราะเพิ่งพบว่า อาจทำผิด แต่ช่องที่โฆษณาต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่ตักเตือนไปแล้ว ยังไม่แก้ไข ก็จำเป็นต้องใช้การบังคับทางปกครองที่เข้มงวดมากขึ้น

นางสาวสุภิญญา กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังเชิญตัวแทนด้านเนื้อหาและผังรายการวิทยุจากวิทยุกองทัพบกและสถานีวิทยุ กระจายเสียงแห่งประเทศไทย เข้าหารือทำความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ ว่า ประเด็นการนำเสนอเนื้อหารายการที่สร้างสรรค์สังคมหรือรายการ สำหรับเด็กและเยาวชนที่ต้องมีอย่างน้อยวันละ 60 นาที  และต้องนำเสนอเนื้อหา ที่จัดให้มีบริการเพื่อผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสให้เข้าถึง บริการ เช่น การอ่านหนังสือเสียงผ่านรายการวิทยุ เพราะพบว่าในช่วงเวลาดัง กล่าวนำเสนอเนื้อหาสร้างสรรค์สังคมหรือรายการสำหรับเด็กและเยาวชนและผู้ด้อย โอกาสในสัดส่วนน้อยเกินไป.


http://www.thairath.co.th/content/490321

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.