Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 เมษายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) CAT.วิโรจน์ ระบุ มีความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 4G หากมีการประกาศหลักเกณฑ์การประมูลออกมาแล้วก็พร้อมเสนอ ครม. ซึ่งจะใช้รูปแบบคล้ายกับ MCOT ที่เสนอขออนุมัติประมูลช่องทีวีดิจิทัล

ประเด็นหลัก



ด้านนายวิโรจน์ โตเจริญวานิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 4G หากมีการประกาศหลักเกณฑ์การประมูลออกมาแล้วก็พร้อมเสนอ ครม. ซึ่งจะใช้รูปแบบคล้ายกับ บมจ.อสมท ที่เสนอขออนุมัติประมูลช่องทีวีดิจิทัล โดยในแง่การลงทุนมีกระแสเงินสดในมือมากพอที่จะสู้ได้





สำหรับแผนการตลาดในปีนี้จะเน้นไปยังธุรกิจที่มีส่วนสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นบริการบรอดแบนด์ที่จะทำตลาดในเชิงรุกมากขึ้นและขยายโครงข่ายไปถึงระดับตำบลและหมู่บ้านในต่างจังหวัด เจาะกลุ่มองค์กรระดับตำบล อาทิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และโรงเรียน ทั้งมีแผนเปิดตัวบริการบรอดแบนด์ใหม่อีกครั้งด้วยการเปิดตัวโฆษณาใหม่ และแคมเปญตลาดด้วยราคาที่จูงใจในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้

ปัจจุบันมีลูกค้าบรอดแบนด์ราว 80,000 ราย ราคาเฉลี่ย 700-800 บาท/เดือน และ 90% เป็น FTTX อีกทั้งในปีนี้เตรียมลงทุนโครงข่ายเพิ่มอีก 100,000 พอร์ต เพื่อให้รองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่รองรับการใช้งานได้ 150,000 พอร์ต

"การแข่งขันในตลาดสูง แต่เราเน้นลูกค้าองค์กรระดับตำบลในพื้นที่ห่างออกไปหน่อย ซึ่งเอกชนรายหลักไม่ค่อยมาเพราะลากสายหลายกิโลเมตร แต่ กสทฯมีศูนย์บริการกระจายทั่วประเทศอยู่แล้วจึงไม่มีปัญหา โดยจะเข้าไปเจรจากับหน่วยงานต้นสังกัดที่ดูแลในระดับภูมิภาค เพื่อเข้าไปติดตั้งให้หน่วยงานนั้น ๆ เป็นรายภาค ล่าสุดได้งานสาธารณสุขในภาคอีสาน เมื่อได้งานแล้วจึงค่อยลากสายไปให้หลังจากนั้น ก็จะรับลูกค้ารายอื่น ๆเพิ่มได้อีก"

นอกจากนี้ บริษัทยังเข้าไปเจรจากับผู้ให้บริการเคเบิลทีวีท้องถิ่น เพื่อรวมบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนโครงข่ายของสมาชิกสมาคมเคเบิลทีวี พร้อมเข้าไปเจรจากับกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมู่บ้านจัดสรร และคอมมิวนิตี้มอลล์เพื่อให้บริการโทรคมนาคมครบวงจรอีกด้วย

ส่วนธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G/HSPA 850 MHz ภายใต้แบรนด์ "my" ในปีนี้จะรุกหนักขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีงบฯการตลาด 200 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มฐานลูกค้าเป็น 1,200,000 ราย จากที่มี500,000 ราย เน้นทำราคาให้โดนใจผู้บริโภค และสร้างแพ็กเกจดาต้าเพื่อเพิ่มทางเลือก พร้อมเพิ่มช่องทางจำหน่ายซิมและเติมเงิน ล่าสุดเติมเงินได้ที่เซเว่นอีเลฟเว่น ส่วนการหาผู้เช่าใช้โครงข่าย(MVNO) เพื่อขายส่งบริการ 3G ในปีนี้ตั้งเป้าเพิ่ม 3-4 ราย

"รายได้ของ my3G ปีที่แล้วอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 2,286 ล้านบาท ขณะที่บริการบรอดแบนด์เมื่อรวมทั้งรายได้จากโครงข่ายและวงจรเช่า ปีที่แล้วมีรายได้ 7,000 ล้านบาท เป้าปีนี้อยู่ที่ 7,500 ล้านบาท ในแง่งบฯการตลาดตัดลงจากปีก่อน 10% ตามนโยบายรัฐบาล จะใช้ทั้งสื่อหลักและเจาะลงไปที่กลุ่มเป้าหมายเป็นรายผลิตภัณฑ์ ซึ่งเราจะพยายามดันแบรนด์ให้ดูพรีเมี่ยมขึ้น ให้ลูกค้ารับรู้ว่ามีบริการหลายส่วนที่ตอบสนองการใช้งานที่เน้นคุณภาพสูง ทั้ง FTTX และไอทีโซลูชั่นต่าง ๆ"






_____________________________________________________














เร่งเกมฟื้นแชร์ "บรอดแบนด์-มือถือ" "ทีโอที-แคท" ฮึดเจาะลูกค้ารายย่อยกัดฟันสู้แข่งดุ

"ทีโอที-กสทฯ" บุกตลาดสู้ศึก "บรอดแบนด์-มือถือ" ปั้นฐานลูกค้า "ทีโอที" ควัก 300 ล้านบาทอัดฉีดกิจกรรม-ปูพรมคาราวานถึงย่านชุมชน ตั้งเป้าเพิ่มลูกค้าไฮสปีดเน็ตอีก 2.5 แสนราย ดันยอด 3G โต 25% ฟาก "กสทฯ" รีลอนช์บริการ "CAT ON NET" ลงทุนโครงข่ายเพิ่มขยายลงลึกระดับตำบลทั่วประเทศ พร้อมปักธงดันยอด my3G ทะลุ 1.2 ล้านราย


นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการ บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บอร์ดกำลังพิจารณาแนวคิดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่ให้ทีโอทีและ กสท โทรคมนาคมเข้าประมูลใบอนุญาต 4G ที่ กสทช.จะจัดขึ้นปลายปีนี้ โดยเจรจานำทรัพย์สินสัมปทานที่พิพาทกับเอกชนมาแปลงเป็นทุนเพื่อหุ้นกันเข้าประมูล ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเห็นว่ามีความเป็นไปได้ เพราะทีโอทีมีโครงสร้างพื้นฐานอยู่มาก และเป็นอีกทางออกในการยุติข้อพิพาทด้วย แต่ให้ทีโอทีเข้าไปประมูลเดี่ยวคงไม่ได้ ทั้งการหาพาร์ตเนอร์จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการบริหารและการจัดซื้อจัดจ้างให้คล่องตัวและรัดกุมขึ้น ไม่ให้มีปัญหาเหมือนตอนที่ลงทุน 3G

นายเชาว์ พันธ์รุ่งจิตติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทเดียวกัน เปิดเผยว่า แผนการตลาดปีนี้จะเน้นไปที่การขยายฐานลูกค้ารายย่อย โดยเน้นขยายฐานลูกค้าอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ทั้งบนเทคโนโลยี ADSL และ FTTX ตั้งเป้าลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 250,000 ราย จากปัจจุบันมี 1,500,000 ราย รวมถึงขยายฐานผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ 3G เพิ่มอีก 25% จากที่มีอยู่ 500,000 ราย

"งบประมาณการตลาดรวมอยู่ที่ 300 ล้านบาท ซึ่งตลาดบรอดแบรนด์มีคู่แข่งหลายราย และแข่งขันกันรุนแรงเราจึงต้องหาช่องทางขายที่สะดวกกับลูกค้ามากขึ้น ทั้งมีการบันเดิลบริการเพื่อจูงใจลูกค้าใหม่ และรักษาฐานลูกค้าที่มีอยู่ไว้ให้ได้ โดยจะลงไปเจาะลูกค้ารายหมู่บ้าน และจัดคาราวานไปตามแหล่งชุมชน ทั้งเพิ่มจุดจำหน่ายสินค้า นอกจากทีโอทีช็อปทั่วประเทศ 119 แห่ง รวมถึงขยายไปยังช่องทางออนไลน์ และปรับเปลี่ยนการทำตลาดให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคให้มากขึ้น"

ทั้งเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตรงความต้องการของลูกค้าอาทิกล่องรับสัญญาณทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต "ทีโอที ไอพีทีวี" ปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 200,000 ราย มีรายได้ในปีที่ผ่านมา 262 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้ารายได้เป็น 300 ล้านบาท และเป็นครั้งแรกที่ร่วมกับ www.lazada.co.th ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ พร้อมจัดแคมเปญ "คุ้มครบจบในกล่องเดียว" ให้ลูกค้าซื้อกล่องทีโอที ไอพีทีวีขายขาด ราคา 3,500 บาท ไม่มีค่าบริการรายเดือน และใช้ร่วมกับอินเทอร์เน็ตของผู้บริการรายอื่นได้ ดูรายการได้ 108 ช่อง ถือเป็นเจ้าแรกที่ขายขาดแบบไม่มีรายเดือน






ด้านนายวิโรจน์ โตเจริญวานิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 4G หากมีการประกาศหลักเกณฑ์การประมูลออกมาแล้วก็พร้อมเสนอ ครม. ซึ่งจะใช้รูปแบบคล้ายกับ บมจ.อสมท ที่เสนอขออนุมัติประมูลช่องทีวีดิจิทัล โดยในแง่การลงทุนมีกระแสเงินสดในมือมากพอที่จะสู้ได้





สำหรับแผนการตลาดในปีนี้จะเน้นไปยังธุรกิจที่มีส่วนสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นบริการบรอดแบนด์ที่จะทำตลาดในเชิงรุกมากขึ้นและขยายโครงข่ายไปถึงระดับตำบลและหมู่บ้านในต่างจังหวัด เจาะกลุ่มองค์กรระดับตำบล อาทิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และโรงเรียน ทั้งมีแผนเปิดตัวบริการบรอดแบนด์ใหม่อีกครั้งด้วยการเปิดตัวโฆษณาใหม่ และแคมเปญตลาดด้วยราคาที่จูงใจในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้

ปัจจุบันมีลูกค้าบรอดแบนด์ราว 80,000 ราย ราคาเฉลี่ย 700-800 บาท/เดือน และ 90% เป็น FTTX อีกทั้งในปีนี้เตรียมลงทุนโครงข่ายเพิ่มอีก 100,000 พอร์ต เพื่อให้รองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่รองรับการใช้งานได้ 150,000 พอร์ต

"การแข่งขันในตลาดสูง แต่เราเน้นลูกค้าองค์กรระดับตำบลในพื้นที่ห่างออกไปหน่อย ซึ่งเอกชนรายหลักไม่ค่อยมาเพราะลากสายหลายกิโลเมตร แต่ กสทฯมีศูนย์บริการกระจายทั่วประเทศอยู่แล้วจึงไม่มีปัญหา โดยจะเข้าไปเจรจากับหน่วยงานต้นสังกัดที่ดูแลในระดับภูมิภาค เพื่อเข้าไปติดตั้งให้หน่วยงานนั้น ๆ เป็นรายภาค ล่าสุดได้งานสาธารณสุขในภาคอีสาน เมื่อได้งานแล้วจึงค่อยลากสายไปให้หลังจากนั้น ก็จะรับลูกค้ารายอื่น ๆเพิ่มได้อีก"

นอกจากนี้ บริษัทยังเข้าไปเจรจากับผู้ให้บริการเคเบิลทีวีท้องถิ่น เพื่อรวมบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนโครงข่ายของสมาชิกสมาคมเคเบิลทีวี พร้อมเข้าไปเจรจากับกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมู่บ้านจัดสรร และคอมมิวนิตี้มอลล์เพื่อให้บริการโทรคมนาคมครบวงจรอีกด้วย

ส่วนธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G/HSPA 850 MHz ภายใต้แบรนด์ "my" ในปีนี้จะรุกหนักขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีงบฯการตลาด 200 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มฐานลูกค้าเป็น 1,200,000 ราย จากที่มี500,000 ราย เน้นทำราคาให้โดนใจผู้บริโภค และสร้างแพ็กเกจดาต้าเพื่อเพิ่มทางเลือก พร้อมเพิ่มช่องทางจำหน่ายซิมและเติมเงิน ล่าสุดเติมเงินได้ที่เซเว่นอีเลฟเว่น ส่วนการหาผู้เช่าใช้โครงข่าย(MVNO) เพื่อขายส่งบริการ 3G ในปีนี้ตั้งเป้าเพิ่ม 3-4 ราย

"รายได้ของ my3G ปีที่แล้วอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 2,286 ล้านบาท ขณะที่บริการบรอดแบนด์เมื่อรวมทั้งรายได้จากโครงข่ายและวงจรเช่า ปีที่แล้วมีรายได้ 7,000 ล้านบาท เป้าปีนี้อยู่ที่ 7,500 ล้านบาท ในแง่งบฯการตลาดตัดลงจากปีก่อน 10% ตามนโยบายรัฐบาล จะใช้ทั้งสื่อหลักและเจาะลงไปที่กลุ่มเป้าหมายเป็นรายผลิตภัณฑ์ ซึ่งเราจะพยายามดันแบรนด์ให้ดูพรีเมี่ยมขึ้น ให้ลูกค้ารับรู้ว่ามีบริการหลายส่วนที่ตอบสนองการใช้งานที่เน้นคุณภาพสูง ทั้ง FTTX และไอทีโซลูชั่นต่าง ๆ"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1427947278

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.