Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 เมษายน 2558 กสทช.สุภิญญา ระบุ โมเดลเกาหลี ญี่ปุ่นสร้างไทยสู่ดิจิทัล อีโคโนมี ผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องปรับแนวทางการผลิตให้รวดเร็ว และมีแนวคิดการผลิตที่สร้างสรรค์ และเป็น ครีเอทีฟ อีโคโนมี

ประเด็นหลัก



ขณะเดียวกันเทรนด์ของสื่อในโลกนับจากนี้ไปจะก้าวเข้าสู่การรับชมผ่านมือถือและอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น ดังนั้น การส่งข้อมูลและเนื้อหา (คอนเทนต์) ผ่านมือถือจึงมีความสำคัญสูงสุด ต้องส่งเสริมให้มีการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ออกมาสู่ประเทศไทย และสื่อที่เป็น ครีเอทีฟ อีโคโนมี รวมถึงคลื่นความถี่ในโลก ก็ถูกนำมาใช้ในการทำกิจการโทรคมนาคมต่างๆ เพื่อรองรับการรับชมผ่านมือถือเพิ่มมากขึ้นฃนายพนา ทองมีอนาคม สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า ในขณะนี้กำลังเข้าสู่การเป็น เจเนอเรชั่น นาว ที่ทุกอย่างต้องดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว ผู้บริโภคคนไทยต้องสินค้าที่เร็วมากขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องปรับแนวทางการผลิตให้รวดเร็ว และมีแนวคิดการผลิตที่สร้างสรรค์ และเป็น ครีเอทีฟ อีโคโนมี



_____________________________________________________














แนะดึงโมเดลเกาหลี ญี่ปุ่นสร้างไทยสู่ดิจิทัล อีโคโนมี



แนะดึงโมเดลเกาหลี ญี่ปุ่นสร้างไทยสู่ดิจิทัล อีโคโนมี

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยในงาน เสวนาเรื่อง “แนวทางปฏิรูปกฎหมายจาก สนช. สู่ World Digital Economy ด้วยกลไลโทรทัศน์ดิจิทัล” จัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วมกับ กตป. ด้านกิจการกระจายเสียงและด้านกิจการโทรทัศน์ว่า อยากให้ประเทศไทยใช้รูปแบบการผลักดัน ดิจิทัล อีโคโนมีที่ประสบความสำเร็จจากประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ใต้หวัน มาใช้พัฒนาดิจิทัล อีโคโนมีให้แก่เศรษฐกิจในประเทศและประเทศไทย

ทั้งนี้โมเดลของประเทศดังกล่าวที่ประสบความสำเร็จ จึงมีผลต่อทั้งอุตสาหกรรมในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตรวดเร็ว และมีผลต่อคนในประเทศพัฒนาพร้อมกับขยายตัวของเศรษฐกิจ ส่วนประเทศไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องการกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐ และความไม่พร้อมภายในประเทศต่างๆ หากประเทศไทยสามารถใช้โมเดลของประเทศดังกล่าวที่ประสบความสำเร็จมาพัฒนาประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่ ดิจิทัล อีโคโนมีและครีเอทีฟ อีโคโนมีได้ตามแผน

ขณะเดียวกันเทรนด์ของสื่อในโลกนับจากนี้ไปจะก้าวเข้าสู่การรับชมผ่านมือถือและอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น ดังนั้น การส่งข้อมูลและเนื้อหา (คอนเทนต์) ผ่านมือถือจึงมีความสำคัญสูงสุด ต้องส่งเสริมให้มีการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ออกมาสู่ประเทศไทย และสื่อที่เป็น ครีเอทีฟ อีโคโนมี รวมถึงคลื่นความถี่ในโลก ก็ถูกนำมาใช้ในการทำกิจการโทรคมนาคมต่างๆ เพื่อรองรับการรับชมผ่านมือถือเพิ่มมากขึ้นฃนายพนา ทองมีอนาคม สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า ในขณะนี้กำลังเข้าสู่การเป็น เจเนอเรชั่น นาว ที่ทุกอย่างต้องดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว ผู้บริโภคคนไทยต้องสินค้าที่เร็วมากขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องปรับแนวทางการผลิตให้รวดเร็ว และมีแนวคิดการผลิตที่สร้างสรรค์ และเป็น ครีเอทีฟ อีโคโนมี

นางศิริกุล เลากัยกุล กรรมการกลยุทธ์องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทย , ที่ปรึกษาอนุกรรมการ ประชาสัมพันธ์สภาปฏิรูปแห่งชาติ และประธานบริหาร บริษัท แบรนด์บีอิ้ง กล่าวว่า สิ่งสำคัญสำหรับการก้าวเข้าสู่ ดิจิทัล อีโคโนมีคือ การสร้างคอนเทนต์ที่ดีและตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำให้ผู้รับชมได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดการพัฒนาคนในประเทศ และส่งผลให้ประเทศก้าวเข้าสู่ ดิจิทัล อีโคโนมีได้อย่างแท้จริง

นายขจร วีระใจ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า กระทรวงกำลังเร่งทำข้อมูลการท่องเที่ยวในประเทศให้รองรับการก้าวเข้าสู่ ดิจิทัล อีโคโนมี ทั้งสร้างข้อมูลแบบเรียลไทม์ การเสนอข้อมูลผ่านกูเกิ้ล แมพ และการทำข้อมูล สตรีท วีว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่นิยมเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเองในสัดส่วน 70-80% และศึกษาข้อมูลผ่านสื่อโชเชียลมีเดียต่างๆ รวมทั้งทำให้นักท่องเที่ยวเช็คข้อมูลท่องเที่ยวต่างๆ ผ่านออนไลน์ได้หมด

ทั้งนี้หากประเทศไทยสามารถผลักดันประเทศสู่ ดิจิทัล อีโคโนมี ทำให้ทุกครัวเรือนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ในปี 2559 ก็จะส่งผลดีต่อตลาดท่องเที่ยวในประเทศไทยและเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล โดยกระทรวงตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวในปีนี้ไว้ที่ 29 ล้านคน และสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 2.2 ล้านล้านบาท ส่วนตลาดนักท่องเที่ยวทั่วโลก ประเมินว่าจะเติบโต 4-5% ต่อปี จากปีก่อนที่มีนักท่องเที่ยวทั่วโลกประมาณ 1,138 ล้านคน




http://m.posttoday.com/articlestory/356893/0005

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.