Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 เมษายน 2558 สพธอ.เผย กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลจ่อประกาศใช้ 5 ฉบับ พ.ค.นี้ สปช.เห็นชอบผลศึกษาร่างพ.ร.บ.กม.ดิจิทัล พบมีปัญหาเรื่องการใช้อำนาจ

ประเด็นหลัก




สพธอ.เผย กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลจ่อประกาศใช้ 5 ฉบับ พ.ค.นี้ สปช.เห็นชอบผลศึกษาร่างพ.ร.บ.กม.ดิจิทัล พบมีปัญหาเรื่องการใช้อำนาจ และความไม่ชัดเจนในเรื่องขององค์กร
นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหา

ชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยว่า ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล โดยการออกกฎหมายจำนวนทั้งสิ้น 10 ฉบับ ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้ความชอบร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ..., ร่างประกาศ พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. ... และ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งทั้ง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ จะดำเนินการรวมเป็น พ.ร.บ. 1 ชุด

รวมทั้ง ครม.ยังเห็นชอบ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..., พ.ร.บ.จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … และองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … หรือ (พ.ร.บ.กสทช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในขั้นตอนต่อไป ครม.จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 5 ฉบับดังกล่าว ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายต่อไปก่อนประกาศใช้กฎหมายต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในร่างกฎหมายดังกล่าว เร็วๆ นี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะดำเนินการเผยแพร่ข้อมูล แต่จะเผยแพร่เฉพาะในส่วนของชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจทัล 3 ฉบับ และ พ.ร.บ.กสทช.เท่านั้น เนื่องจากกฎหมายฉบับอื่นยังคงเป็นเรื่องอ่อนไหวเกินกว่าจะเผยแพร่ ทั้งนี้ คาดกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ จะสามารถเสร็จสิ้นการพิจารณาจาก สนช. ได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ก่อนเดินหน้าประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวต่อไป


_____________________________________________________

















กม.ดิจิทัลจ่อใช้5ฉบับพ.ค.นี้ สปช.เปิดผลศึกษาห่วงอำนาจล้นฟ้า

สพธอ.เผย กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลจ่อประกาศใช้ 5 ฉบับ พ.ค.นี้ สปช.เห็นชอบผลศึกษาร่างพ.ร.บ.กม.ดิจิทัล พบมีปัญหาเรื่องการใช้อำนาจ และความไม่ชัดเจนในเรื่องขององค์กร
นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหา

ชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยว่า ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล โดยการออกกฎหมายจำนวนทั้งสิ้น 10 ฉบับ ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้ความชอบร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ..., ร่างประกาศ พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ. ... และ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งทั้ง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ จะดำเนินการรวมเป็น พ.ร.บ. 1 ชุด

รวมทั้ง ครม.ยังเห็นชอบ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..., พ.ร.บ.จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … และองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … หรือ (พ.ร.บ.กสทช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในขั้นตอนต่อไป ครม.จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 5 ฉบับดังกล่าว ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายต่อไปก่อนประกาศใช้กฎหมายต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในร่างกฎหมายดังกล่าว เร็วๆ นี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะดำเนินการเผยแพร่ข้อมูล แต่จะเผยแพร่เฉพาะในส่วนของชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจทัล 3 ฉบับ และ พ.ร.บ.กสทช.เท่านั้น เนื่องจากกฎหมายฉบับอื่นยังคงเป็นเรื่องอ่อนไหวเกินกว่าจะเผยแพร่ ทั้งนี้ คาดกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ จะสามารถเสร็จสิ้นการพิจารณาจาก สนช. ได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ก่อนเดินหน้าประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวต่อไป

ในวันเดียวกันที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สปช. เกี่ยวกับกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับ โดยนายจุมพล รอดคำดี ประธานกมธ. กล่าวว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคม รวมถึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการสำนักงานและองค์กรขึ้นมาใหม่หลายคณะและหลายหน่วยงาน แต่ยังขาดความชัดเจนในเรื่องสถานะความรับผิดชอบ และรูปแบบขององค์กรว่าเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน และยังพบอีกว่า ในการบริหารจัดการ มีการกำหนดให้สามารถถือหุ้นเข้าเป็นหุ้นส่วน หรือเข้าร่วมทุนกับบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการหรือหลักเกณฑ์

นอกจากนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวทั้ง 10 ฉบับมีบทบัญญัติที่เพิ่มอำนาจหน้าที่เหมือนตำรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างไร้ขอบเขต และไม่มีมาตรการหรือกลไกปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งขัดต่อหลักการตามรัฐธรรมนูญ โดยหลังจากนี้ กมธ.จะนำข้อสังเกตข้อเสนอแนะของสมาชิกไปปรับปรุงรายงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป.


http://www.thaipost.net/?q=กมดิจิทัลจ่อใช้5ฉบับพคนี้-สปชเปิดผลศึกษาห่วงอำนาจล้นฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.