Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 สุรางคณา วายุภาพ ชี้ ปรับคุณสมบัติ กสทช. หากเป็นตัวแทนผู้บริโภคต้องมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 20 ปี กรณีเป็นหัวหน้าส่วนราชการต้องระดับกรมขึ้นไป ภาคเอกชนต้องเป็นระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทมหาชนทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท

ประเด็นหลัก



เปิดทางเอกชนสมัครได้

นอกจากนี้ ได้ปรับคุณสมบัติ กสทช. หากเป็นตัวแทนผู้บริโภคต้องมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 20 ปี กรณีเป็นหัวหน้าส่วนราชการต้องระดับกรมขึ้นไป ภาคเอกชนต้องเป็นระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทมหาชนทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ไม่น้อยกว่า 3 ปี ภาควิชาการต้องเป็นรองศาสตราจารย์ขึ้นไป กรณีทหารตำรวจต้องมียศตั้งแต่พลโท

ส่วนการทำงานจะไม่แบ่งกรรมการเป็นด้านบรอดแคสต์ และโทรคมนาคม ยังมีอำนาจในการกำหนดแผนแม่บทต่าง ๆเอง แต่ต้องสอดคล้องกับนโยบายของ ครม. และบอร์ดดิจิทัลฯ พร้อมให้กำหนดกลไกในการเรียกคืนคลื่นความถี่และการเยียวยาผลกระทบโดยใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช.ได้

การจัดสรรคลื่นความถี่ยังเป็นอำนาจของ กสทช. ยกเว้นการประสานงานคลื่นในกิจการดาวเทียมที่อยู่กับบอร์ดดิจิทัล คลื่นเชิงพาณิชย์ยังให้ใช้วิธีประมูล แต่ต้องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและผู้บริโภคด้วย สำหรับเงินที่ได้จากการประมูล 25% ให้ส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่จะตั้งขึ้นมาใหม่ ที่เหลือส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

_____________________________________________________











โค้งท้ายชุด กม.ดิจิทัลลอตแรก พ.ค. ยกเครื่องสรรหา "กสทช." เพิ่มเอกชนนั่งบอร์ดดิจิทัล


เปิดร่างกฎหมายดิจิทัล ฉบับผ่านวาระ 2 กฤษฎีกา ปรับปรุงคุณสมบัติ "กสทช." เปิดทางเอกชนลงสมัครได้ระบุตำแหน่งรองเอ็มดีในบริษัทระดับพันล้านบาทขึ้น ตั้งประธาน 3 ศาล-ป.ป.ช.-คตง.เป็นกรรมการสรรหา ยุบ "กตป." ตั้งตัวแทนภาครัฐตรวจสอบแทน หนุนเพิ่มสัดส่วนภาคเอกชนในบอร์ดดิจิทัล คาด ชงพ.ร.บ. "กสทช.-บอร์ดดิจิทัล-ก.ดิจิทัล" เข้า สนช. พ.ค.นี้ ส่วนร่าง พ.ร.บ.คอมพ์-ไซเบอร์-ข้อมูลส่วนบุคคล ยังต้องรออีก 3 เดือน

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยความคืบหน้าการยกร่างชุดกฎหมายเพื่อรองรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลว่า ไม่เกินเดือน พ.ค.นี้จะสามารถส่งร่างกฎหมาย 3 ฉบับที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว เสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) และร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งรวมร่างกฎหมาย 3 ฉบับที่ผ่าน ครม. คือ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และร่าง พ.ร.บ.การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล


"ถือเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของชุดกฎหมายนี้แล้ว กฤษฎีกาได้นำร่างฉบับผ่านวาระที่ 2 ออกมารับฟังความคิดเห็นแบบปิด เพื่อปรับแก้เป็นครั้งสุดท้าย ถัดไปราว มิ.ย." และร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะทยอยเข้า สนช. ยกเว้นกฎหมายเทคนิคอย่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ซีเคียวริตี้, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน ถึงจะเข้ากระบวนการของ สนช.ได้ เพราะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการนิยามตามกฎหมายที่อาจต่างกับกฎหมายอื่นที่ประกาศใช้มาก่อนนี้

อย่างไรก็ตามในแต่ละกระบวนการปรับปรุงแก้ไขจะเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันให้มากที่สุดไม่ให้มีความเข้าใจผิดเกิดขึ้นอีกและนอกจาก 10 ฉบับนี้แล้ว ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายใหม่อีก 30-40 ฉบับเพื่อรองรับดิจิทัลอีโคโนมี

ยกเครื่องสรรหา กสทช.

ในส่วนร่าง พ.ร.บ.กสทช. ฉบับผ่านวาระ 2 ของกฤษฎีกา มีสาระสำคัญคือ ลดกรรมการ กสทช.จาก 11 เหลือ 7 คน โดยไม่กำหนดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านรวม แต่เปิดให้คณะกรรมการสรรหาเป็นผู้กำหนดเอง ซึ่ง ผอ.สพธอ.กล่าวว่า หลังจากนำไปรับฟังความเห็นแล้ว คาดว่าจะแก้ไขให้ กสทช. มี 11 คนตามเดิม และให้ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ต่อจนหมดวาระ

ขณะที่การสรรหาได้ปรับปรุงให้ตั้งคณะกรรมการสรรหา ประกอบด้วย ประธานของศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประธานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรเสนอชื่อให้วุฒิสภาพิจารณาคัดเลือกต่อไปโดยให้เสนอชื่อเป็น 2 เท่า

เปิดทางเอกชนสมัครได้

นอกจากนี้ ได้ปรับคุณสมบัติ กสทช. หากเป็นตัวแทนผู้บริโภคต้องมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 20 ปี กรณีเป็นหัวหน้าส่วนราชการต้องระดับกรมขึ้นไป ภาคเอกชนต้องเป็นระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทมหาชนทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ไม่น้อยกว่า 3 ปี ภาควิชาการต้องเป็นรองศาสตราจารย์ขึ้นไป กรณีทหารตำรวจต้องมียศตั้งแต่พลโท

ส่วนการทำงานจะไม่แบ่งกรรมการเป็นด้านบรอดแคสต์ และโทรคมนาคม ยังมีอำนาจในการกำหนดแผนแม่บทต่าง ๆเอง แต่ต้องสอดคล้องกับนโยบายของ ครม. และบอร์ดดิจิทัลฯ พร้อมให้กำหนดกลไกในการเรียกคืนคลื่นความถี่และการเยียวยาผลกระทบโดยใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช.ได้

การจัดสรรคลื่นความถี่ยังเป็นอำนาจของ กสทช. ยกเว้นการประสานงานคลื่นในกิจการดาวเทียมที่อยู่กับบอร์ดดิจิทัล คลื่นเชิงพาณิชย์ยังให้ใช้วิธีประมูล แต่ต้องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและผู้บริโภคด้วย สำหรับเงินที่ได้จากการประมูล 25% ให้ส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่จะตั้งขึ้นมาใหม่ ที่เหลือส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

ยกเลิกซูเปอร์บอร์ด

สำหรับกองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช. ยังไม่ยุบ แต่ระบุให้ กสทช.โอนภารกิจและเงินในส่วนนี้ให้หน่วยงานอื่นทำได้ และหากกระทรวงการคลังเห็นว่า เงินในกองทุนเกินความจำเป็นหรือหมดความจำเป็นให้เรียกคืนได้ ขณะที่การจัดทำงบประมาณของ กสทช. และสำนักงาน ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด หากโครงการใดไม่ดำเนินการภายใน 9 เดือน ให้ยกเลิกไป รวมถึงเปิดเผยค่าตอบแทนต่างๆ ให้ละเอียด

ส่วนการตรวจสอบการทำงาน ได้ยกเลิก"กตป." คณะกรรมการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช.เดิม แต่ตั้งคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของ กสทช. ประกอบด้วยตัวแทนหน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลฯป.ป.ช. สตง. โดยกรรมการชุดนี้จะตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลที่เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลงามาทำหน้าที่ พร้อมทำรายงานต่อกสทช.และรัฐสภา รวมถึงติดตามการแก้ไขหรือปรับปรุงให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะด้วย

เปิดทางเอกชนเป็นบอร์ดดิจิทัล

ในส่วนของบอร์ดดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมผอ.สพธอ.ระบุว่าตามร่างกฎหมายในวาระ 2 ได้ลดจำนวนกรรมการโดยตำแหน่งจาก 25 คนเหลือ 11 คน ให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ ครม. ตั้ง 5-8 คน แต่ในการรับฟังความเห็นแล้วอาจจะมีการปรับแก้ในวาระ 3 เพื่อเพิ่มจำนวนกรรมการจากฝั่งเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

ส่วนกองทุนพัฒนาดิจิทัลฯ จะมีรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเป็นประธานกรรมการ โดยจะเป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายบอร์ดดิจิทัลให้แก่หน่วยงานรัฐ เอกชน และบุคคลทั่วไป ทั้งในรูปแบบเงินอุดหนุน เงินทุนวิจัย เงินเพื่อให้การกู้ยืมโดยมีหรือไม่มีดอกเบี้ย สำหรับที่มาของเงินจะมาจากทุนประเดิมของรัฐ และรายได้ 25% ของ กสทช. ทั้งให้ดึงเงินที่ได้จากการประมูลคลื่นมาสมทบเข้าเพิ่มเติมให้เพียงพอต่อการทำงานได้ ส่วนการตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนได้ตัดการตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานของกองทุนออก โดยให้ใช้กลไกของ สตง.แทน

โยกศูนย์เตือนภัยไปสำนักนายกฯ

การตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เดิม ส่วนใหญ่จะคงหน่วยงานเดิมไว้แต่ปรับโครงสร้างใหม่ ยกเว้นศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ที่จะถูกโอนไปอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะที่ "ซิป้า" สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ จะถูกโอนไปยังสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล แต่ถ้าไม่ผ่านการประเมินเพื่อบรรจุเป็นพนักงานของสำนักงานใหม่ จะมีการจ่ายเงินชดเชยต่อไป

และเนื่องจากร่างกฎหมายดิจิทัลจะทยอยประกาศใช้ จึงให้โอนอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน บุคลากรที่อยู่ใต้สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที ไปอยู่ใต้สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯก่อน แล้วค่อยทยอยโอนย้ายไปยังหน่วยงานที่จะตั้งขึ้นมาใหม่อีก

ผอ.สพธอ.กล่าวว่า แม้ว่าจะผ่านกระบวนการของ สนช. และประกาศใช้แล้ว แต่ในกฎหมายจะให้เวลาเตรียมตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านราว 90 วัน ดังนั้น คาดว่ากว่ากฎหมายใหม่จะเริ่มบังคับใช้น่าจะเป็นช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้หรือต้นปี 2559




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1429159298

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.