Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) จัสมิน ในการให้บริการ 4G จะอาศัยศักยภาพเดิมของกลุ่มที่มีความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีอินเตอร์เนตความเร็วสูงที่ให้บริการภายใต้แบรนด์ “3BB” ที่ มีทีมพนักงานวิศวกรที่เชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังมีศูนย์บริการมากกว่า 300 แห่ง

ประเด็นหลัก



ด้าน พิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ทางบริษัทตั้งใจเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตเช่นกัน โดยประเมินเงินลงทุนไว้ว่าจะต้องใช้ราว 25,000-35,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้เริ่มเจรจากับ ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างประเทศจำนวน 3 ราย จากเกาหลีใต้ และญี่ปุ่นเพื่อจะร่วมเป็นพันธมิตรเข้าประมูล โดยรูปแบบการลงทุนจะเป็นบริษัทร่วมทุน ให้สิทธิ์เข้ามาถือหุ้นราว 25-40%

ส่วนกลยุทธ์ของ จัสมิน ในการให้บริการ 4G จะอาศัยศักยภาพเดิมของกลุ่มที่มีความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีอินเตอร์เนตความเร็วสูงที่ให้บริการภายใต้แบรนด์ “3BB” ที่ มีทีมพนักงานวิศวกรที่เชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังมีศูนย์บริการมากกว่า 300 แห่งด้วย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของจัสมินจะเน้นที่ลูกค้าระดับบนที่ใช้สมาร์ทโฟนเป็นหลัก และต้องการใช้อินเตอร์เนตที่มีความเร็วสูง


_____________________________________________________











5ค่ายใหญ่โหมโรงชิงประมูล4G ‘เอไอเอส-ดีแทค-ทรู-กสท’ เอาแน่


5ค่ายใหญ่โหมโรงชิงประมูล4G

‘เอไอเอส-ดีแทค-ทรู-กสท’ เอาแน่

‘จัสมิน’ชูจุดแข็งโครงข่าย ‘3BB’

ในที่สุดแผนประมูลคลื่นความถี่ 4G ก็ลงตัว ล่าสุดอย่างน้อย 5 ราย ประกาศออกมาแล้วว่า พร้อมกระโดดเข้าชิงใบอนุญาต(ไลเซ่นส์)จาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช.แล้ว

โดย สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส เบอร์หนึ่งในตลาดนี้ บอกว่า ทางเอไอเอส มีความพร้อมอย่างยิ่งแล้วที่จะเข้าประมูล 4G ล่าสุดได้ร่างแผนงานธุรกิจในการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเตรียมเสนอต่อบอร์ดพิจารณาในขั้นตอนต่อไป ซึ่งข้อมูลดังกล่าวยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดให้ได้ในเวลานี้

ส่วนจำนวนเงินที่จะนำไปใช้ในการประมูล จะใช้เท่าใดนั้น ต้องรอ กสทช. กำหนดราคาตั้งต้นการประมูล 4G ให้แล้วเสร็จ รวมทั้งมีหนังสือชี้ชวนการลงทุน (ไอเอ็ม) ออกมาเสียก่อน จึงจะกำหนดจำนวนเงินในส่วนดังกล่าวได้

พร้อมมองว่าย่านความถี่ที่ เอไอเอส สนใจเข้าประมูลเป็นทั้งคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์(MHz) และ 900 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากเอไอเอส ต้องการย่านความถี่ทั้งสูง และต่ำ โดยย่านความถี่สูงอย่างคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะให้ประโยชน์ที่สามารถรองรับปริมาณการใช้งานของลูกค้าต่อ 1 สถานีฐาน ได้มากกว่าคลื่นความถี่ย่านต่ำ

ส่วนคลื่น 900 ที่มีย่านความถี่ต่ำจะให้ประโยชน์ในด้านการทะลุทะลวงของคลื่น ส่งผลให้สามารถลงทุนสร้างสถานีฐานในจำนวนที่น้อยกว่าคลื่นที่มีย่านความถี่สูง แต่สามารถให้บริการโครงข่ายที่มีการครอบคลุมเท่ากันได้

“เอไอเอส มองว่า ในการประมูลคลื่นความถี่หากประมูลชนะได้คลื่นมาเพียงปริมาณ 10 เมกะเฮิรตซ์ ก็เพียงพอต่อการให้บริการ 4G แต่ที่เอไอเอส ต้องการจริงๆ คือคลื่นปริมาณ 20 เมกะเฮิรตซ์ เพราะเป็นจำนวนที่สามารถให้บริการ 4G แก่ลูกค้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ลูกค้าได้มีประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีที่สุด”

ขณะที่ ซิคเว่ เบรคเก้ รองประธานกรรมการเทเลนอร์กรุ๊ป และเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด เทเลนอร์ เอเชีย กล่าวว่า แม้ปัจจุบัน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ ดีแทค ที่อยู่ในเครือของเทเลนอร์กรุ๊ป จะเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ที่คงความได้เปรียบในด้านปริมาณคลื่นความถี่ที่มีมากกว่าผู้ให้บริการรายอื่น ทั้งในระบบสัญญาสัมปทาน และใบอนุญาต แต่ขอยืนยันว่าในการประมูล 4G ดีแทคจะเข้าประมูลทั้งคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ อย่างแน่นอน ซึ่งเทเลนอร์กรุ๊ป ที่มีประสบการณ์ เทคนิค และความรู้ จากการเข้าประมูลคลื่นความถี่ในหลายประเทศทั่วโลก ก็พร้อมจะให้การสนับสนุนดีแทคอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของจำนวนเงินที่ใช้ในการประมูล ซึ่งเทเลนอร์กรุ๊ปเอง ไม่มีปัญหาในการให้เงินลงทุนในส่วนนี้แต่อย่างใด

ส่วน ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มทรู มีความพร้อมแล้วที่จะเข้าประมูล 4G และเชื่อว่า การประมูล 4G ครั้งนี้ จะสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี

ขณะที่ วิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานตลาดและการขายบริษัท กสท โทรคมนาคมจำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ในการประประมูล 4G ทาง กสท ได้ให้ความสนใจที่จะเข้าประมูล โดยมีการตั้งทีมศึกษามา
ระยะหนึ่งแล้วเพื่อไม่ให้ตกขบวนของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี รวมทั้งได้มีการทาบทามและเจรจาเพื่อหาพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศในการเข้าประมูล และให้บริการเช่นกัน คาดสามารถรู้ผลได้ในเร็วๆ นี้ ก่อนจะมีการตั้งบริษัทลูกร่วมกันต่อไป



ส่วนแผนในการเข้าประมูล ทาง กสท จะยึดรูปแบบของ บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) ที่เป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เข้าประมูลทีวีดิจิตอลจาก กสทช. พร้อมจะกรอบวงเงินการประมูลคร่าวๆ แก่ ครม. และเมื่อได้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายหลังจากการชนะการประมูลแล้ว จึงค่อยแจ้งจำนวนเงินที่แน่นอนแก่ ครม. อีกครั้ง

“ในส่วนของจำนวนเงินที่จะใช้ในการประมูล เชื่อว่าในเวลานี้ กสท มีกระแสเงินสดสะสมจากผลประกอบการจำนวนที่มากพอ หรือไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท ฉะนั้นหากราคาประมูลท้ายสุดออกมาเท่ากับ 3G ก็เชื่อว่าทาง กสท จะสามารถชนะได้สบาย รวมทั้งจุดเด่นของ กสท ยังอยู่ที่ไม่เป็นหนี้ และไม่มีความจำเป็นต้องกู้เงินใครด้วยเช่นกัน” คุณวิโรจน์ กล่าว

ด้าน พิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ทางบริษัทตั้งใจเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตเช่นกัน โดยประเมินเงินลงทุนไว้ว่าจะต้องใช้ราว 25,000-35,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้เริ่มเจรจากับ ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างประเทศจำนวน 3 ราย จากเกาหลีใต้ และญี่ปุ่นเพื่อจะร่วมเป็นพันธมิตรเข้าประมูล โดยรูปแบบการลงทุนจะเป็นบริษัทร่วมทุน ให้สิทธิ์เข้ามาถือหุ้นราว 25-40%

ส่วนกลยุทธ์ของ จัสมิน ในการให้บริการ 4G จะอาศัยศักยภาพเดิมของกลุ่มที่มีความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีอินเตอร์เนตความเร็วสูงที่ให้บริการภายใต้แบรนด์ “3BB” ที่ มีทีมพนักงานวิศวกรที่เชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังมีศูนย์บริการมากกว่า 300 แห่งด้วย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของจัสมินจะเน้นที่ลูกค้าระดับบนที่ใช้สมาร์ทโฟนเป็นหลัก และต้องการใช้อินเตอร์เนตที่มีความเร็วสูง

นั้นคือความพร้อมของแต่ละค่ายที่ประกาศเปิดศึกชิงคลื่น 4G ในปลายปีนี้


http://www.naewna.com/business/153678

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.