Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 BeeTalk เปิดให้บริการมา 1 ปี มีฐานผู้ใช้ประมาณ 12 ล้านไอดี ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะการแข่งขันสูง และมีเจ้าตลาดเดิมอยู่ ทำให้วางตนเองเป็นทางเลือกตั้งแต่แรก

ประเด็นหลัก


นางสาวรวมพร ศิระธนาพันธ์ ผู้จัดการทั่วไป บีทอล์ค ประเทศไทย ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น "บีทอล์ค" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เปิดให้บริการมา 1 ปี มีฐานผู้ใช้ประมาณ 12 ล้านไอดี ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะการแข่งขันสูง และมีเจ้าตลาดเดิมอยู่ ทำให้วางตนเองเป็นทางเลือกตั้งแต่แรก รวมถึงมีฟีเจอร์บางอย่างที่คู่แข่งไม่มี เช่น การหาไอดีคนที่อยู่ใกล้ และรุกทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้สามารถมีพื้นที่ในตลาดได้ และในปีนี้จะปรับรูปแบบจาก "แชต" เป็นแอปพลิเคชั่น "โซเชียล" หรือแอปที่รวมเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ พร้อมกับเพิ่มฟีเจอร์ Club หรือการตั้งกลุ่มเพื่อพูดคุยในเรื่องต่าง ๆ และกดค้นหาได้ทันทีโดยไม่ต้องเชิญเข้ากลุ่ม เพื่อสร้างความเป็นสังคมออนไลน์ โดยผู้ใช้แต่ละรายสามารถเข้ากลุ่มได้เพียง 6 กลุ่ม นอกจากนี้ยังพัฒนาฟีเจอร์ Forum หรือกระดานสนทนาคล้ายกับการใช้งานบนหน้าเว็บไซต์ เพื่อพูดคุยเรื่องต่าง ๆ ส่วนฟีเจอร์ Whisper ที่เมื่อส่งข้อความแล้วจะหายไปในเวลาที่กำหนด เป็นอีกจุดแข็งที่ดึงดูดผู้บริโภค

"ปีนี้จะใช้งบประมาณและวิธีทำตลาดเหมือนปีที่ผ่านมา ที่ยิงโฆษณาทางทีวี 3 เรื่อง ลงประชาสัมพันธ์ในสื่อหลัก และใช้ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง เพิ่มยอดดาวน์โหลด ทั้ง 3 วิธีนี้ช่วยเพิ่มยอดใช้งาน ไม่รวมการเพิ่มโดยปากต่อปาก เพราะมีระบบ Flip และ Radar ช่วยหาเพื่อนคุยได้ง่าย ทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ก่อนขยายมาวัยทำงานด้วยฟีเจอร์ Club และ Forum จนอายุผู้ใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 15-35 ปี"



_____________________________________________________











สมรภูมิ"แอปแชต"ปรอทแตก หน้าใหม่โหมหนักท้าชน"ไลน์"



สมรภูมิแอปฯ "แชต" คึกคัก ยักษ์ใหญ่-หน้าใหม่โหมกระตุ้นตลาด "บี ทอล์ค" เพิ่มฟีเจอร์ใหม่โปรโมตแบรนด์ "วีแชต" รุกรักษาตำแหน่งเบอร์ 2 พี่ใหญ่ "ไลน์" เติมสารพัดบริการต่อยอดธุรกิจ

นางสาวรวมพร ศิระธนาพันธ์ ผู้จัดการทั่วไป บีทอล์ค ประเทศไทย ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น "บีทอล์ค" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เปิดให้บริการมา 1 ปี มีฐานผู้ใช้ประมาณ 12 ล้านไอดี ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะการแข่งขันสูง และมีเจ้าตลาดเดิมอยู่ ทำให้วางตนเองเป็นทางเลือกตั้งแต่แรก รวมถึงมีฟีเจอร์บางอย่างที่คู่แข่งไม่มี เช่น การหาไอดีคนที่อยู่ใกล้ และรุกทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้สามารถมีพื้นที่ในตลาดได้ และในปีนี้จะปรับรูปแบบจาก "แชต" เป็นแอปพลิเคชั่น "โซเชียล" หรือแอปที่รวมเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ พร้อมกับเพิ่มฟีเจอร์ Club หรือการตั้งกลุ่มเพื่อพูดคุยในเรื่องต่าง ๆ และกดค้นหาได้ทันทีโดยไม่ต้องเชิญเข้ากลุ่ม เพื่อสร้างความเป็นสังคมออนไลน์ โดยผู้ใช้แต่ละรายสามารถเข้ากลุ่มได้เพียง 6 กลุ่ม นอกจากนี้ยังพัฒนาฟีเจอร์ Forum หรือกระดานสนทนาคล้ายกับการใช้งานบนหน้าเว็บไซต์ เพื่อพูดคุยเรื่องต่าง ๆ ส่วนฟีเจอร์ Whisper ที่เมื่อส่งข้อความแล้วจะหายไปในเวลาที่กำหนด เป็นอีกจุดแข็งที่ดึงดูดผู้บริโภค

"ปีนี้จะใช้งบประมาณและวิธีทำตลาดเหมือนปีที่ผ่านมา ที่ยิงโฆษณาทางทีวี 3 เรื่อง ลงประชาสัมพันธ์ในสื่อหลัก และใช้ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง เพิ่มยอดดาวน์โหลด ทั้ง 3 วิธีนี้ช่วยเพิ่มยอดใช้งาน ไม่รวมการเพิ่มโดยปากต่อปาก เพราะมีระบบ Flip และ Radar ช่วยหาเพื่อนคุยได้ง่าย ทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ก่อนขยายมาวัยทำงานด้วยฟีเจอร์ Club และ Forum จนอายุผู้ใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 15-35 ปี"

ปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบการสร้างรายได้ เน้นพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าเพิ่มผู้ใช้งานเป็น 20 ล้านไอดีภายในปีนี้ สำหรับเงินลงทุนมาจาก "การีน่า" ผู้ให้บริการเกมออนไลน์จากสิงคโปร์ แต่สาขาในประเทศไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน ทั้งการตลาดและการบริหารงาน

"เรื่องภาพลักษณ์ที่มองว่าเราเป็นแอปหาคู่ และมีการหลอกลวงไปมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันลบออกจากความคิดของผู้ใช้งานส่วนใหญ่แล้ว เพราะมีทีมงานคอยมอนิเตอร์เนื้อหาเพื่อป้องกันการล่อลวง"

ด้านนายกฤตธี มโนลีหกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด ผู้ดูแลการตลาดแอปพลิเคชั่น "วีแชต" เปิดเผยว่า หลังทำตลาดมากว่า 2 ปี แอปเริ่มติดตลาดแล้ว ปัจจุบันมีผู้ใช้งานทุกวัน (แอ็กทีฟ) เป็นอันดับที่ 2 แต่ไม่สามารถเปิดเผยจำนวนได้ เนื่องจากเป็นนโยบาย "เทนเซนต์" บริษัทแม่ ส่วนการทำตลาดปีนี้จะชะลอลง และไปเพิ่มน้ำหนักในบริการอื่น ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ในการใช้ "สนุกดอทคอม" ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น บริการซื้อขายสินค้าออนไลน์ และเกมบนโทรศัพท์มือถือ

"สนุกฯทำตลาดวีแชตมา 2 ปี พาร์ตเนอร์กับสินค้าและบริการอื่น ๆ เช่น ลดราคาค่ารถไฟฟ้าบีทีเอสและเอ็มอาร์ที รวมถึงมีการพัฒนาระบบเพิ่มเติม เช่น ส่งข้อความแล้วมีภาพเคลื่อนไหว รวมถึงบริการหาเพื่อนในพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้มีการดาวน์โหลดมาใช้อย่างแพร่หลาย ในปีนี้คงชะลอการทำตลาดลงมา เพราะวัตถุประสงค์ของวีแชตคือ เพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคเชื่อมต่อบริการของสนุกดอทคอมมากขึ้น โดยในแอปจะมีฟีดข่าวสารที่สร้างโดยสนุกดอทคอมเข้าไปตลอด"

นอกจากนี้ "วีแชต" ยังไม่มีแผนสร้างรายได้ เนื่องจากต้องการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเงินลงทุนมาจากบริษัทแม่ทั้งหมด และเป้าหมายปีนี้อยู่ที่การรักษาตำแหน่งแอปพลิเคชั่นแชตที่มีผู้ใช้งานแอ็กทีฟเป็นอันดับ 2

นางสาวปวริศา ชุมวิกรานต์ หัวหน้าฝ่ายการตลาดและผลิตภัณฑ์ใหม่ บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มการแข่งขันในตลาดแอปพลิเคชั่นแชตในประเทศไทยยังดุเดือดอย่างต่อเนื่อง แต่ละรายส่งฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภค รวมถึงการทำโปรโมชั่นกับแบรนด์สินค้าต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้มาใช้งานแม้บางแอปจะไม่มีรายได้ แต่การได้ผู้ใช้จำนวนมากย่อมต่อยอดบริการต่าง ๆ ได้มากขึ้น ทุกรายจึงทยอยส่งบริการใหม่ ๆ ออกมาต่อเนื่อง คาดว่าตลาดจะเติบโตตามการใช้สมาร์ทโฟนของคนไทย ที่ปัจจุบันเกือบครึ่งของจำนวนหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยที่มีมากกว่า 100% ของประชากร

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเดือน ต.ค. 2557 ที่ผ่านมา แอปพลิเคชั่นแชตชื่อดังจากเกาหลีได้เข้ามาเปิดให้บริการในเมืองไทยอีกราย ได้แก่ "กาเกา ทอล์ก" ข้อมูล ณ สิ้นปีที่ผ่านมา มีผู้ดาวน์โหลดแอปไปใช้งาน 3.5 ล้านไอดี รุกทำตลาดผ่านสื่อโฆษณาออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงมีพรีเซ็นเตอร์เพื่อเจาะกลุ่มผู้ใช้วัยรุ่น มีจุดเด่นเรื่องการส่งสติ๊กเกอร์พร้อมเสียง และสร้างกลุ่มแชตได้สูงสุด 999 คน

ก่อนหน้านี้นายจอห์น ปาร์ก หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลยุทธ์ตลาดโกลบอล บริษัท ดาวม์ กาเกา จำกัด ผู้ให้บริการ "กาเกา ทอล์ก" กล่าวว่า ตั้งเป้าผู้ใช้งานในประเทศไทยในปีนี้ไว้ที่ 10 ล้านไอดี ล่าสุดได้เปิดตัวสติ๊กเกอร์ "คิตตี้" เวอร์ชั่นภาษาไทยให้ดาวน์โหลดฟรีจากปกติ 60 บาท พร้อมสติ๊กเกอร์ดารา "เจมส์จิ" ที่เคลื่อนไหว และส่งเสียงได้เพื่อกระตุ้นผู้บริโภคให้เข้ามาดาวน์โหลด และทำตลาดกับกลุ่มแฟนคลับ

ฟากนางสาววารดี วสวานนท์ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ไลน์ ประเทศไทย จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น "ไลน์" เปิดเผยว่า ไลน์ในประเทศไทยมีฐานผู้ใช้ 33 ล้านไอดี ถือเป็นแอปแชตที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด และสร้างรายได้ให้กับบริษัทผ่านการเพิ่มบริการใหม่ ๆ นอกเหนือจากการจำหน่ายสติ๊กเกอร์ และรับทำการตลาดออนไลน์ด้วยการสร้างออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ และ LINE@ สำหรับเอสเอ็มอี, ผู้มีชื่อเสียงบนโลกอินเทอร์เน็ต และดารานักแสดงที่หันมาใช้โปรโมตข่าวสาร และส่งโปรโมชั่นสินค้า

"ปีนี้ยังไม่ได้ตั้งเป้าว่าต้องมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นแค่ไหน เราต้องการสร้างอีโคซิสเต็มให้ครบ เพื่อให้ผู้ใช้ที่กดเข้ามาภายในแอป ใช้งานได้มากกว่าแค่สื่อสารกับเพื่อน ปัจจุบันมีทั้งบริการรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งผ่าน LINE TV และอ่านการ์ตูนผ่าน LINE Webtoon ฟรี รวมถึงซื้อสินค้าราคาพิเศษผ่าน LINE Hot Deal ฝั่งธุรกิจก็โตต่อเนื่อง คาดว่ามีผู้สมัครใช้ออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันมีกว่า 100 แบรนด์สินค้า"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จำนวนคนใช้แอปแชตในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 70 ล้านราย และ 2 อันดับแรก คือ ไลน์ และเฟซบุ๊ก


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428915394

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.