Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 Kantar พบ ในย่านชุมชนเมืองของจีน มีการใช้งานไอโฟนประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ก่อนหน้านี้ แอปเปิลได้เคยออกมาเปิดเผยว่ายอดขายของตนเองนจีนนั้นสูงถึง 16 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ประเด็นหลัก


       รายงานล่าสุดเกี่ยวกับตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นภาพของตลาดสมาร์ทโฟนในจีนได้หลาย ๆ ด้าน เช่น ในย่านชุมชนเมืองของจีน พบว่ามีการใช้งานไอโฟนประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ (ตัวเลขจากไตรมาสที่ 1 ของปี ค.ศ. 2015 อ้างอิงจาก Kantar บริษัทวิจัยชั้นนำของโลก) ขณะที่ก่อนหน้านี้ แอปเปิลได้เคยออกมาเปิดเผยว่ายอดขายของตนเองนจีนนั้นสูงถึง 16 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่เพียงเท่านั้น ในกลุ่มผู้ซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องแรก (first-time smartphone buyer) ของจีน ก็เลือกซื้อไอโฟนแทนสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์เพิ่มมากขึ้นทุกทีด้วย
     
       จากตัวเลขการใช้งาน และรายได้ที่จะได้รับเหล่านี้นี่เองที่ทำให้นักพัฒนาจำนวนมากตัดสินใจเลือกแพลตฟอร์มระหว่าง iOS กับแอนดรอยด์อย่างไม่ต้องคิดมาก
     
       ความน่าแปลกใจของแอปบนสองแพลตฟอร์มยังมีอีกหนึ่งประการ นั่นคือ ผู้ใช้ iOS มีแนวโน้มจะจ่ายเงินซื้อแอปมากกว่าผู้ใช้งานบนแอนดรอยด์ ขณะที่แอนดรอยด์มักมีแอปดี ๆ แถมเปิดให้ใช้งานฟรีอยู่เสมอ ๆ แต่นักพัฒนาที่ต้องหาเงินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ก็จำเป็นต้องทุ่มเทให้กับการพัฒนาแอปที่สร้างรายได้ให้กับตนเองอย่างไม่ต้องสงสัย
     
       นอกจากนี้ Benedict Evans ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ในธุรกิจโมบายล์ และดิจิตอลมีเดีย และปัจจุบันเป็นพาร์ทเนอร์ของ Andreessen Horowitz บริษัทด้านการลงทุนซึ่งตั้งอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ได้ให้เหตุผลเอาไว้ 5 ข้อถึงแนวโน้มที่ทำให้แอนดรอยด์ยังแข่งสู้กับ iOS ไม่ได้ในแง่ของรายได้ นั่นคือ


_____________________________________________________











พบ "จีน" รับบทเจ๊ดัน iOS ไปไกลกว่าแอนดรอยด์



        จากการสำรวจที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เปรียบเทียบระหว่างสองแพลตฟอร์ม iOS กับแอนดรอยด์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าในหลายปีที่ผ่านมา ผลมักออกมาในทิศทางเดียวกัน นั่นคือแพลตฟอร์ม iOS แม้จะมีผู้ใช้งานน้อยกว่า แต่สามารถสร้างรายได้ให้กับนักพัฒนามากกว่า ขณะที่แพลตฟอร์มแอนดรอยด์ ถึงจะมีผู้ใช้งานปริมาณมาก แต่ยอดรายได้ที่นักพัฒนาได้รับตอบแทนกลับมีน้อยกว่า
     
       ผลก็คือ นักพัฒนาแอปส่วนมากมักจะเทใจให้กับการพัฒนาแอปบน iOS เป็นลำดับแรก ส่วนแอนดรอยด์นั้น พบว่า นักพัฒนาจะหันมาให้ความสนใจเป็นอันดับสอง โดยใช้เวลาหลังจากเปิดตัวแอปใน App Strore ไปแล้ว และมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าแอปบน iOS ไปได้ดี มานั่งพัฒนาแอปบนแอนดรอยด์เพิ่มเติม หรือไม่ก็อาจถูกเมินไปเลยนั่นเอง
     
       นอกจากนั้น เหตุผลอีกข้อหนึ่งที่นักพัฒนาสนใจ iOS มากกว่าอาจเป็นเรื่องของความแตกต่างของอุปกรณ์ที่มีเพียง 6 - 8 กลุ่ม (เช่น ไอโฟน ไอแพด) ขณะที่แอนดรอยด์นั้นกลับมีกลุ่มอุปกรณ์ที่แตกต่างกันเป็นจำนวนมาก (มากกว่า 12,000 ชนิด) ซึ่งทำให้นักพัฒนาต้องพิจารณาถึงหน้าจอ โปรเซสเซอร์ เวอร์ชันของแอนดรอยด์ ฯลฯ จนหมดความสนใจไปในที่สุด
     
       "จีน" ยักษ์ใหญ่ที่ดัน iOS ไปไกลได้มากกว่า
     
       แม้แพลตฟอร์มแอนดรอยด์จะแข็งแกร่งในจีนแผ่นดินใหญ่ แต่หากยังจำกันได้ถึงข่าวคราวการให้ความสนใจ "ไอโฟน 6 และไอโฟน 6 พลัส" ของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมาคงทำให้ผู้อยู่ในวงการหลายคนได้ข้อมูลที่น่าสนใจกันไปพอสมควร ยิ่งข้อมูลล่าสุดจากบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล App Annie ยิ่งพบว่า ยอดรายได้ที่นักพัฒนาได้รับจาก iOS ทิ้งห่างจากแอนดรอยด์ (ผ่านการดาวน์โหลดที่ Google Play) ออกไปมากขึ้นทุกที โดยนักวิเคราะห์ให้ความเห็นถึงแนวโน้มดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า เป็นเพราะ "แอปเปิลเติบโตอย่างแข็งแกร่งในตลาดจีน" นั่นเอง
     
       ไม่น่าเชื่อว่าตลาดสมาร์ทโฟนในจีนแผ่นดินใหญ่จะทำให้ช่องว่างระหว่างสองแพลตฟอร์มนี้ขยายมากขึ้น แต่ก็เป็นไปแล้ว โดยตัวเลขที่ App Annie เปิดเผยออกมานั้นพบว่า ช่องว่างของรายได้ที่นักพัฒนาได้รับจากการดาวน์โหลดแอปของทั้งสองแพลตฟอร์มแตกต่างกันถึง 4 เท่าตัว แน่นอนว่า ผู้ใช้ iOS มีแนวโน้มจะจ่ายเงินเพื่อซื้อแอปต่าง ๆ มากกว่าผู้ใช้งานแอนดรอยด์
     
       รายงานล่าสุดเกี่ยวกับตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นภาพของตลาดสมาร์ทโฟนในจีนได้หลาย ๆ ด้าน เช่น ในย่านชุมชนเมืองของจีน พบว่ามีการใช้งานไอโฟนประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ (ตัวเลขจากไตรมาสที่ 1 ของปี ค.ศ. 2015 อ้างอิงจาก Kantar บริษัทวิจัยชั้นนำของโลก) ขณะที่ก่อนหน้านี้ แอปเปิลได้เคยออกมาเปิดเผยว่ายอดขายของตนเองนจีนนั้นสูงถึง 16 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่เพียงเท่านั้น ในกลุ่มผู้ซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องแรก (first-time smartphone buyer) ของจีน ก็เลือกซื้อไอโฟนแทนสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์เพิ่มมากขึ้นทุกทีด้วย
     
       จากตัวเลขการใช้งาน และรายได้ที่จะได้รับเหล่านี้นี่เองที่ทำให้นักพัฒนาจำนวนมากตัดสินใจเลือกแพลตฟอร์มระหว่าง iOS กับแอนดรอยด์อย่างไม่ต้องคิดมาก
     
       ความน่าแปลกใจของแอปบนสองแพลตฟอร์มยังมีอีกหนึ่งประการ นั่นคือ ผู้ใช้ iOS มีแนวโน้มจะจ่ายเงินซื้อแอปมากกว่าผู้ใช้งานบนแอนดรอยด์ ขณะที่แอนดรอยด์มักมีแอปดี ๆ แถมเปิดให้ใช้งานฟรีอยู่เสมอ ๆ แต่นักพัฒนาที่ต้องหาเงินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ก็จำเป็นต้องทุ่มเทให้กับการพัฒนาแอปที่สร้างรายได้ให้กับตนเองอย่างไม่ต้องสงสัย
     
       นอกจากนี้ Benedict Evans ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ในธุรกิจโมบายล์ และดิจิตอลมีเดีย และปัจจุบันเป็นพาร์ทเนอร์ของ Andreessen Horowitz บริษัทด้านการลงทุนซึ่งตั้งอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ได้ให้เหตุผลเอาไว้ 5 ข้อถึงแนวโน้มที่ทำให้แอนดรอยด์ยังแข่งสู้กับ iOS ไม่ได้ในแง่ของรายได้ นั่นคือ
     
       1. ส่วนแบ่งตลาดของแอนดรอยด์นั้น แม้จะแข็งแกร่ง และมีผู้ใช้งานจำนวนมาก แต่ก็อยู่ในกลุ่มประชากร - ประเทศที่มีรายได้ต่ำมากกว่าประเทศที่ร่ำรวย
     
       2. ผลก็คือ ผู้ใช้แอนดรอยด์ส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านั้นไม่มีบัตรเครดิตใช้งาน เมื่อไม่มีบัตรเครดิตใช้งาน การใช้จ่ายเงินบนโลกออนไลน์ย่อมเกิดขึ้นได้ยากกว่า
     
       3. ราคาเฉลี่ยของสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์อยู่ที่ 250 - 300 เหรียญสหรัฐ ขณะที่ราคาเฉลี่ยของไอโฟนคือ 600 เหรียญสหรัฐ (ไม่นับรวม Galaxy S5 ที่อาจมีราคาไม่แตกต่างจากไอโฟนมากนัก อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งาน Galaxy S5 ก็จัดว่าเป็นผู้ใช้งานแพลตฟอร์มแอนดรอยด์กลุ่มเล็กมาก ๆ)
     
       4. แอปเปิลมีกลวิธีการสร้างภาพลักษณ์ตัวสินค้าที่แตกต่างจากตลาดของแอนดรอยด์ ส่งผลให้ผู้ใช้สินค้าของแอปเปิลมีแนวโน้มจะจ่ายเงินได้มากกว่าผู้ใช้สินค้าบนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ และบางทีก็อาจเป็นไปได้ด้วยว่า ผู้ใช้ไอโฟนมีโอกาสใช้จ่ายเงินผ่านสมาร์ทโฟนได้มากกว่าผู้ใช้งาน Galaxy S5
     
       5. สิ่งที่จะตามมาจากการสร้างความแตกต่างทั้งหมดนี้ก็คือ นักพัฒนาจะเชื่อขึ้นมาจริง ๆ ว่า ผู้ใช้งานแอนดรอยด์ไม่นิยมจ่ายเงินซื้อแอป และเมื่อพวกเขาเชื่อ พวกเขาก็จะนำเสนอแอปฟรีแต่มีโฆษณาเข้า Google Play หรือไม่ก็ตั้งราคาดาวน์โหลดแอปให้ต่ำ ๆ เข้าไว้ ไม่เพียงเท่านั้น ผลของการเชื่อดังกล่าวยังทำให้นักพัฒนาส่วนใหญ่เลือกที่จะซัพพอร์ตแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ "ทีหลัง" แพลตฟอร์ม iOS หรือบางทีก็อาจไม่ซัพพอร์ตเลย ดังจะเห็นได้จากแอปแมกกาซีน ที่บนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์แทบจะมีให้เห็นน้อยมาก และทำให้ผู้นิยมอ่านแมกกาซีนบนแท็บเล็ตส่วนใหญ่ไม่เลือกซื้อแท็บเล็ตของแพลตฟอร์มแอนดรอยด์นั่นเอง
     
       ปัญหานี้อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ในอนาคต ที่นักพัฒนาเลือกที่จะเอาใจออกห่างแพลตฟอร์มแอนดรอยด์มากขึ้น ๆ จนช่องว่างทางใจ (ของนักพัฒนา) และช่องว่างทางด้านรายได้ ไม่อาจกู้กลับคืนมาได้อีก
     


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000044060

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.