Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 Microsoft ระบุ ฐานผู้ใช้วินโดวส์โฟนยังมีน้อย แต่ในอีกมุมเรามองตลาดว่ายังเปิดกว้างให้ขยายฐานผู้ใช้ ที่ผ่านมาโนเกียเน้น B2C ต่างจากไมโครซอฟท์ที่แข็งแกร่งในตลาด B2B

ประเด็นหลัก

"ฐานผู้ใช้วินโดวส์โฟนยังมีน้อย แต่ในอีกมุมเรามองตลาดว่ายังเปิดกว้างให้ขยายฐานผู้ใช้ ที่ผ่านมาโนเกียเน้น B2C ต่างจากไมโครซอฟท์ที่แข็งแกร่งในตลาด B2B เราจะนำมาพิจารณาว่าจะนำไมโครซอฟต์ดีไวซ์นี้ไปทำตลาดเอ็นเตอร์ไพรส์ได้อย่างไร



_____________________________________________________











"ไมโครซอฟท์" เร่งเครื่อง ดัน "ลูเมีย" เก็บแชร์สมาร์ทโฟน



อาจเรียกได้ว่าเป็น "โนเกีย" ยุคใหม่ (ชื่อแบรนด์กำลังจะหายวับไป) หลังควบรวมธุรกิจโทรศัพท์มือถือเข้าเป็นส่วนหนึ่งของยักษ์ซอฟต์แวร์โลก

"ไมโครซอฟท์" ไปแล้วเรียบร้อย รวมถึงทีมงานในประเทศไทยเองทำให้นโยบายต่าง ๆรวมถึงทีมงานเปลี่ยนใหม่เกือบหมดโดยเฉพาะในระดับคีย์แมนของโนเกีย กระบวนการควบรวมทีมงานเสร็จเรียบร้อย เมื่อ ก.พ.ที่ผ่านมา ก็ถึงคิวเปิดตัว "เซซิล เมนโกลิ" ผู้จัดการทั่วไป ไมโครซอฟท์ โมบาย ดีไวซ์ ประเทศไทย

"ทีมโนเกียเดิมที่มารวมกับไมโครซอฟท์มีประมาณ 30 คน ภารกิจแรกภายใต้การทำงานร่วมกัน คือการรีแบรนดิ้ง และหาทีมมาทดแทนส่วนที่ลาออกไปเพื่อให้ได้ทีมที่แข็งแกร่งสำหรับทำตลาดสมาร์ทโฟนในไทย ซึ่งทีมงานอยู่ระหว่างการปรับตัวและหาแนวทางในการใช้ประโยชน์จากการนำชื่อไมโครซอฟท์มาทำตลาด"

แม่ทัพ"ไมโครซอฟท์ โมบาย ดีไวซ์" ออกตัวว่า แม้จะมีประสบการณ์ในการบริหารงานในประเทศอื่นๆ มาก่อน ทั้งในเยอรมนี ฟินแลนด์ บราซิล และล่าสุดที่ประเทศจีน แต่ก็ยังคงต้องใช้เวลาศึกษาตลาดในไทย เพราะแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน โดยไทยเป็นตลาดที่ผู้บริโภคชอบความทันสมัย ติดเทรนด์ และมีแบรนด์มือถือที่หลากหลายทำให้ มีการแข่งขันสูง แต่ในอีกแง่เป็นยังมาร์เก็ตที่มีที่ว่างจึงต้องจับแง่มุมที่ลูกค้าต้องการเพื่อตอบโจทย์ให้ได้

โดยในเบื้องต้นกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการตั้ง"แบรนด์ช็อป" ขึ้นมาอีกครั้ง หลังจาก "โนเกียช็อป" ที่เคยมี และบริหารงานผ่าน "เอ็มลิงค์" เปลี่ยนไปเป็นร้านขายสินค้ามัลติแบรนด์จึงต้องพิจารณาหาพาร์ตเนอร์เพื่อทำ "ไมโครซอฟท์ช็อป" ซึ่งยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเสร็จสิ้นเมื่อใด เพราะต้องเจรจาหลายฝ่าย แต่การทำตลาดสินค้าไมโครซอฟท์ทำผ่านช่องทางร้านค้าปลีกอยู่แล้ว ส่วนการดูแลลูกค้ามีศูนย์บริการโนเกียเดิม 6 แห่งให้บริการเหมือนเดิม

สำหรับปีนี้ยังโฟกัสไปกับการทำตลาดเป็นกลุ่มระดับกลางถึงล่างราคา 3,000-6,000 บาท เพราะช่วยขยายฐานผู้ใช้แพลตฟอร์มวินโดวส์ได้มากสุด และเติบโตสูงมากในตลาดสมาร์ทโฟนไทย ซึ่งไมโครซอฟท์ต่อยอดด้วยการจูงใจให้ผู้ใช้ฟีเจอร์โฟน "โนเกีย" เปลี่ยนมาใช้ "ลูเมีย" โดยนำฟีเจอร์โฟนเป็นส่วนลด 500 บาท ซื้อลูเมีย 435 จาก 2,990 บาท และลูเมีย 532 จาก 3,590 บาท

"ฟีเจอร์โฟนแบรนด์โนเกียยังมีการนำมาทำตลาด แต่จะไม่เน้นมากนัก"

จุดแข็งอยู่ที่การนำฟีเจอร์ของไมโครซอฟท์ ไม่ว่าจะเป็นวันไดรฟ์ หรือคลาวด์ รวมทั้งไมโครซอฟท์ออฟฟิศมาให้ลูกค้าได้ใช้บริการฟรีระยะหนึ่ง และในครึ่งปีหลังจะเห็นความชัดเจนของการนำระบบปฏิบัติการ "วินโดวส์ 10" ที่ใช้ได้บนทุกดีไวซ์เข้ามาทำตลาด

"ฐานผู้ใช้วินโดวส์โฟนยังมีน้อย แต่ในอีกมุมเรามองตลาดว่ายังเปิดกว้างให้ขยายฐานผู้ใช้ ที่ผ่านมาโนเกียเน้น B2C ต่างจากไมโครซอฟท์ที่แข็งแกร่งในตลาด B2B เราจะนำมาพิจารณาว่าจะนำไมโครซอฟต์ดีไวซ์นี้ไปทำตลาดเอ็นเตอร์ไพรส์ได้อย่างไร



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428935398

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.