Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 เมษายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) TRUE.ศุภชัย ระบุ กสทช. ต้องแบ่งคลื่นมาประมูลจำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์ เพราะ 12.5 หรือ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์น้อยเกินไป และ ถ้าจัดสรรได้ถึง 20 เมกะเฮิรตซ์ ความรู้สึกเหมือนใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี

ประเด็นหลัก

    แม้แต่ ศุภชัย เจียรวนนท์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มทรู  เข้าประมูลคลื่นความถี่ในทุกย่านความถี่  ตั้งแต่คลื่นความถี่ 1800-2300 และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี อยากลุ้นให้มีคลื่นนำมาประมูล มากกว่านี้ 1800-2300-2600 เมกะเฮิรตซ์  ประมูลพร้อมกันทั้งหมดเลยยิ่งดี  เพราะ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความต้องการได้จำนวนคลื่นทั้งหมด 20 เมกะเฮิรตซ์เพื่อต้องการให้บริการ 4 จี    
    "ตามหลักคลื่นความถี่ใช้ได้หมด ใช้ได้ประสิทธิภาพต้องสลอตละ 5 เมกะเฮิรตซ์  แต่หากเป็นคลื่นความถี่ 4 จี ถ้าให้เร็วกว่า 3 จี  กสทช. ต้องแบ่งคลื่นมาประมูลจำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์ เพราะ 12.5 หรือ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์น้อยเกินไป  และ ถ้าจัดสรรได้ถึง 20 เมกะเฮิรตซ์ ความรู้สึกเหมือนใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี  เนื่องจากการรับ-ส่งสัญญาณ มากกว่าระบบ 3 จี เป็นจำนวนมาก"
    ดังนั้น กสทช. น่าจะนำเอาคลื่นความถี่ 1800-2300-2600 เมกะเฮิรตซ์ โดยเฉพาะ 2600 เมกะเฮิรตซ์  มีคลื่นความถี่ 120 เมกะเฮิรตซ์  ซึ่งเป็นสแตนดาร์ดโลกนำมาประมูลพร้อม ๆ กัน
    "ผมเพิ่งคุยกับ ซีอีโอ อีริคสัน (นายคามิลล่า วอลเทียร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อีริคสันประเทศไทย)  เพื่อขอคอนเฟิร์มว่าคลื่นย่านความถี่ 2600 เมกะเฮริตซ์ เป็นมาตรฐานโลก ซึ่งคลื่นความถี่ 1800 ก็ใช้แพร่หลาย เครื่องโทรศัพท์เป็นมัลติแบรนด์ และ ยังบอกเพิ่มเติมอีกด้วยว่าคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์เหมาะสมในการทำโทรศัพท์ระบบ 4 จี"



_____________________________________________________
















ทวงคืนคลื่น2600MHz
ลงล็อก 3 พี่บิ๊กโอเปอเรเตอร์


    ในที่สุดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช.สามารถทวงคืนคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์จากการถือครองของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้สำเร็จ
    การทวงคลื่นความถี่ครั้งนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ต้องออกแรงด้วยตัวเองด้วยการเปิดโต๊ะเจรจากับ อสมท เพื่อขอคืนคลื่นความถี่จำนวน 60 เมกะเฮิรตซ์ จากที่ อสมท ถือครองจำนวน 144 เมกะเฮิรตซ์
    แต่การทวงคืนคลื่นความถี่ไม่ใช่จะได้คืนกลับไปฟรี ๆ เพราะ อสมท เรียกร้องขอค่าชดเชยเยียวยาความเสียหาย เป็นจำนวนเงิน 100 ล้านบาท  วงเงินจำนวนดังกล่าว กสทช. จะจัดสรรหักเงินที่ได้รับจากค่าประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์
++หม่อมอุ๋ยออกแรงผลักดัน
    ถ้าจำกันได้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2558 หลังมีการประชุมคณะกรรมการบอร์ดดิจิทัล หรือ บอร์ดดีอี  นัดแรกโดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน หลังประชุมบอร์ดแล้วเสร็จ ปรากฏว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จีย่านความถี่  900-1800-2300 และ 2600 เมกะเฮิรตซ์
    ทั้ง ๆ ที่โรดแมปของ กสทช.กำหนดไว้ว่าจะเปิดประมูล 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์
    แต่ทำไม? และเพราะอะไร หม่อมอุ๋ย ถึงออกมาพูดถึงย่านความถี่ 2300 และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งทั้ง 2 คลื่นความถี่ได้จัดสรรให้กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในย่านความถี่ 2300  และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ (อยู่กับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
++คลื่นยิ่งเยอะยิ่งดี
    ต่อเรื่องนี้แหล่งข่าวจากคณะทำงานที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การนำคลื่นความถี่หลาย ๆ คลื่นออกมาประมูลเป็นจำนวนมากส่งผลดี เพราะคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่นำออกมาประมูลแม้จะเป็นเทคโนโลยี LTE (Long Term Evolution) แต่คุณภาพรับ-ส่งสัญญาณ ไม่เท่ากับ LTE Advanced เทคโนโลยีล่าสุดที่จะหลอมรวมคลื่นความถี่ที่ต่างกันเข้ามาใช้งานร่วมกันทำ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โดยเทคโนโลยีนี้จะมีความแตกต่างที่น่าสนใจคือนำแบนด์วิดธ์จากหลายคลื่นความถี่มาต่อกัน ได้เช่น หากมีความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ของเดิมอยู่ในมือ แล้วมี 1800 เมกะเฮิรตซ์  คลื่นความถี่  2100  และ 2600 เมกะเฮิรตซ์  ก็สามารถทำอะไรที่มากกว่า 4G LTE โดยการจับมาต่อกันด้วยเทคโนโลยี  LTE Advanced
    สำหรับคลื่นความถี่ที่จะนำมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี ต้องใช้คลื่นจำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์ ทั้งรับ และ ส่งสัญญาณ ถึงจะสามารถให้บริการ 4 จี ด้วยเทคโนโลยี LTE Advanced  เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถรองรับได้ถึง 5 ความถี่ 900-1800-2300-2600 และ 700 เมกะเฮิรตซ์ เป็นต้น
    " 2 ย่านความถี่  900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ คุณภาพของ 4 จีไม่เต็มพิกัด แต่ถ้ามาเสริมด้วย 2600 เมกะเฮิรตซ์ จะเป็นโทรศัพท์ระบบ 4 จีอย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากคลื่นความถี่ 2600 เมกะเฮิรตซ์เหมาะกับพื้นที่ในเมืองใหญ่ ขณะที่จังหวัดเล็กๆ เหมาะกับ 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ สามารถเชื่อมโยงสัญญาณระหว่างกันได้"
++2600 เมกะฯลงล็อก 3 ค่าย
     ดูเหมือนว่าไพ่ใบสุดท้ายของภาครัฐที่นำย่านความถี่ 2600 เมกะเฮิรตซ์ นำมาเปิดประมูลเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี ท่าจะลงตัวกับบรรดาผู้ประกอบการ 3 ราย เพราะคลื่นความถี่ที่ อสมทคืนกลับมาจำนวน 60 เมกะเฮิรตซ์ หากแบ่งคลื่นออกมาประมูล 3 ใบอนุญาต ใบละ 20 เมกะเฮิรตซ์
    คำถาม คือว่า 3 ค่ายมือถือ อันได้แก่ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) , ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ  บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  ควักกระเป๋าประมูลหรือไม่
    คำตอบ คือ ทั้ง 3 ค่าย ต้องประมูลอย่างแน่นอน แม้จะมีค่ายคู่แข่งเพิ่มอีก 1 ราย คือ กลุ่มจัสมิน ที่ประกาศตัวออกมาแล้วจะเข้าประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี
    เหตุผล? ของบรรดาค่ายมือถือต้องการคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อมาต่อจิ๊กซอว์ทางธุรกิจ เนื่องจากว่า เอไอเอส ปัจจุบันให้บริการคลื่นความถี่ 900 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ , มีเพียงก็แค่ 2 ค่ายหลัง คือ ดีแทค และ ทรู มีย่านความถี่มากกว่า เอไอเอส ประกอบไปด้วย  850-1800 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์
2401++3 ค่ายหลักท้าชิง
    บรรดาผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย ออกมาประกาศชัดเจนแล้วว่าจะรวมประมูลคลื่นความถี่ทุกย่านความถี่หาก กสทช.นำคลื่นออกมาเปิดประมูล
    แม้แต่ ศุภชัย เจียรวนนท์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มทรู  เข้าประมูลคลื่นความถี่ในทุกย่านความถี่  ตั้งแต่คลื่นความถี่ 1800-2300 และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี อยากลุ้นให้มีคลื่นนำมาประมูล มากกว่านี้ 1800-2300-2600 เมกะเฮิรตซ์  ประมูลพร้อมกันทั้งหมดเลยยิ่งดี  เพราะ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความต้องการได้จำนวนคลื่นทั้งหมด 20 เมกะเฮิรตซ์เพื่อต้องการให้บริการ 4 จี    
    "ตามหลักคลื่นความถี่ใช้ได้หมด ใช้ได้ประสิทธิภาพต้องสลอตละ 5 เมกะเฮิรตซ์  แต่หากเป็นคลื่นความถี่ 4 จี ถ้าให้เร็วกว่า 3 จี  กสทช. ต้องแบ่งคลื่นมาประมูลจำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์ เพราะ 12.5 หรือ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์น้อยเกินไป  และ ถ้าจัดสรรได้ถึง 20 เมกะเฮิรตซ์ ความรู้สึกเหมือนใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี  เนื่องจากการรับ-ส่งสัญญาณ มากกว่าระบบ 3 จี เป็นจำนวนมาก"
    ดังนั้น กสทช. น่าจะนำเอาคลื่นความถี่ 1800-2300-2600 เมกะเฮิรตซ์ โดยเฉพาะ 2600 เมกะเฮิรตซ์  มีคลื่นความถี่ 120 เมกะเฮิรตซ์  ซึ่งเป็นสแตนดาร์ดโลกนำมาประมูลพร้อม ๆ กัน
    "ผมเพิ่งคุยกับ ซีอีโอ อีริคสัน (นายคามิลล่า วอลเทียร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อีริคสันประเทศไทย)  เพื่อขอคอนเฟิร์มว่าคลื่นย่านความถี่ 2600 เมกะเฮริตซ์ เป็นมาตรฐานโลก ซึ่งคลื่นความถี่ 1800 ก็ใช้แพร่หลาย เครื่องโทรศัพท์เป็นมัลติแบรนด์ และ ยังบอกเพิ่มเติมอีกด้วยว่าคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์เหมาะสมในการทำโทรศัพท์ระบบ 4 จี"
++ตั้งคำถามปชช.ได้อะไร
    ขณะที่ ดร.อนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านสื่อสารโทรคมนาคม กล่าวว่า กสทช. จะนำคลื่นย่านไหนออกมาประมูลไม่สำคัญ
    "ผมเฉยๆ นะเรื่องนี้ แต่จุดยืนของผมเมื่อนำคลื่นออกมาประมูลแล้วประชาชนได้อะไร"
    อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผูกขาดอยู่กับโอเปอเรเตอร์ 3 ราย เป็นระยะเวลา 20 ปี และ ก็ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ภาครัฐ หรือ แม้แต่ กสทช. พูดแต่เรื่องการประมูล แต่ไม่พูดถึงคุณภาพ และ บริการที่ประชาชนจะได้รับในครั้งนี้
    "ในยุคของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีซึ่งถือว่าเป็นกฎ เพราะฉะนั้นราคาต้องถูกลง และ มาตรฐานต้องดีขึ้น แต่ทั้ง 3 ยุคของมือถือเรื่องราคา และ คุณภาพยังไม่เปลี่ยนแปลง"
    จึงเป็นที่เข้าใจว่าปฏิบัติการทวงคืนคลื่นความถี่ 2600 เมกะเฮิรตซ์ครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าลงล็อก 3 ค่ายมือถือ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,047  วันที่  26 - 29  เมษายน  พ.ศ. 2558

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=274657:2600mhz-&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VUD8f85Aeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.