Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 พฤษภาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) กสทช. ขอ คสช. ใช้อำนาจมาตรา 44. เรียกคืนคลื่น2600 MHz ( 2500–2535 เมกะเฮิรตซ์ ) อีก 35 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งอยู่ในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์

ประเด็นหลัก


กสทช.เตรียมขอเจรจากรมประชาสัมพันธ์ให้คืนคลื่นย่าน 2600 MHz ที่ถือครองอยู่มาใช้คู่กับคลื่นที่ อสมท มีอยู่ เพื่อง่ายต่อการจัดสรรประมูล 4G เอไอเอส รุกตลาดบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ได้หารือเรื่องเงื่อนไขการขอคืนคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ กับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยได้ข้อสรุป 2 แนวทาง คือ 1.อสมท จะคืนคลื่นมาให้ 35 เมกะเฮิรตซ์ เป็นช่วงคลื่นระหว่าง 2620–2655 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นที่ อสมท นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เนื่องจากหากต้องนำมาใช้งานจะต้องใช้คู่กับคลื่น 2500–2535 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นที่กรมประชาสัมพันธ์ถือครองอยู่
ทั้งนี้ คลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ เป็นเทคโนโลยีเอฟดีดี เป็นได้ทั้งคลื่นรับและส่ง ถ้าจะนำมาใช้ต้องใช้คู่กับคลื่นที่มีความถี่ต่างกัน ซึ่งการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านโทรคมนาคมในการทำ 4 จี นั้น จำเป็นต้องใช้ทั้งคลื่นรับและคลื่นส่ง อังนั้น กสทช.จึงต้องเรียกคืนคลื่นอีก 35 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งอยู่ในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์มาใช้งานร่วมกัน ซึ่งขั้นต่อไปรัฐบาลต้องไปเจรจากับกรมประชาสัมพันธ์ และอาจยื่นเงื่อนไขในการจ่ายเงินเยียวยาคลื่นเช่นกัน แม้ กสทช.กับกรมประชาสัมพันธ์ยังมีคดีฟ้องร้องกันอยู่ที่ศาลปกครอง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ กสทช.จะขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 ในการเยียวยา



_____________________________________________________

















กสทช. ชงใช้ ม.44 เรียกคืนคลื่นกรมประชาสัมพันธ์ (ชมคลิป)



กสทช. เตรียมเสนอรัฐบาล ให้ใช้มาตรา 44 เรียกคืนคลื่นความถี่ จากกรมประชาสัมพันธ์ จำนวน 35 เมกะเฮิรตซ์ ขณะที่ อสมท พร้อมคืนคลื่นที่ถือครองอยู่ 35 เมกะเฮิรตซ์ กลับมาให้ กสทช. เพื่อนำมาใช้ประมูล 4จี...

เมื่อวันที่ 27 เม.ย.2558 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับ บริษัท อสมท กรณีเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ ว่า อสมท พร้อมที่จะคืนคลื่น จำนวน 35 เมกะเฮิรตซ์ กลับมาให้ กสทช. ใช้สมทบจัดประมูล 4จี โดยมีการจ่ายค่าเยียวยา แต่เนื่องจากการนำคลื่นไปใช้ประโยชน์ในด้านโทรคมนาคม จะต้องนำคลื่นอีกส่วนที่กรมประชาสัมพันธ์ถือครองอยู่อีก 35 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้งานด้วยจึงจะเกิดประสิทธิภาพ ดังนั้น กสทช. ต้องขอความร่วมมือจากรัฐบาลเจรจาขอคืนคลื่นจากกรมประชาสัมพันธ์ หากต้องจ่ายค่าเยียวยา

เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า หากเจรจาขอคืนคลื่นไม่สำเร็จ เนื่องจาก ขั้นตอนดังกล่าวผู้ถือครองคลื่น อาจเรียกร้องค่าชดเชย ซึ่งตามกฎหมายเดิม กสทช. ไม่มีอำนาจนำเงินไปจ่ายค่าเยียวยา ดังนั้น กสทช. จะทำหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ใช้มาตรา 44 เพื่อให้การเรียกคืนคลื่นครั้งนี้ประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ

นอกจากนี้ มีรายงานว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ที่มี พ.อ.ดร. นที ศุกลรัตน์ เป็นประธาน ได้มีมติให้มีการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม PEACE TV แล้ว

ทั้งที่ ก่อนหน้านี้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีหนังสือด่วนที่สุด สทช. 4012/11009 ลงวันที่ 9 เม.ย.58 พิจารณาโทษทางปกครอง กรณีสถานี "PEACE TV" ออกอากาศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดเงื่อนไขและประกาศ คสช.ฉบับที่ 97/2557 โดยมีคำสั่งให้ปิดสถานีโทรทัศน์ "PEACE TV" เป็นเวลา 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.58 เป็นต้นไป โดยมีเอกสารประกอบหนังสือด่วนที่สุดจำนวน 14 หน้ากระดาษ และสามารถเปิดสถานีแพร่ภาพตามปกติไปเมื่อวันที่ 17 เม.ย.ที่ผ่านมา


http://www.thairath.co.th/content/495490

_________________




กสทช.ชิงคลื่นกรมประชาฯ เอไอเอสรุกธุรกิจเน็ตไฟเบอร์



กสทช.เตรียมขอเจรจากรมประชาสัมพันธ์ให้คืนคลื่นย่าน 2600 MHz ที่ถือครองอยู่มาใช้คู่กับคลื่นที่ อสมท มีอยู่ เพื่อง่ายต่อการจัดสรรประมูล 4G เอไอเอส รุกตลาดบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ได้หารือเรื่องเงื่อนไขการขอคืนคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ กับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยได้ข้อสรุป 2 แนวทาง คือ 1.อสมท จะคืนคลื่นมาให้ 35 เมกะเฮิรตซ์ เป็นช่วงคลื่นระหว่าง 2620–2655 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นที่ อสมท นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เนื่องจากหากต้องนำมาใช้งานจะต้องใช้คู่กับคลื่น 2500–2535 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นที่กรมประชาสัมพันธ์ถือครองอยู่
ทั้งนี้ คลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ เป็นเทคโนโลยีเอฟดีดี เป็นได้ทั้งคลื่นรับและส่ง ถ้าจะนำมาใช้ต้องใช้คู่กับคลื่นที่มีความถี่ต่างกัน ซึ่งการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านโทรคมนาคมในการทำ 4 จี นั้น จำเป็นต้องใช้ทั้งคลื่นรับและคลื่นส่ง อังนั้น กสทช.จึงต้องเรียกคืนคลื่นอีก 35 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งอยู่ในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์มาใช้งานร่วมกัน ซึ่งขั้นต่อไปรัฐบาลต้องไปเจรจากับกรมประชาสัมพันธ์ และอาจยื่นเงื่อนไขในการจ่ายเงินเยียวยาคลื่นเช่นกัน แม้ กสทช.กับกรมประชาสัมพันธ์ยังมีคดีฟ้องร้องกันอยู่ที่ศาลปกครอง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ กสทช.จะขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 ในการเยียวยา
ส่วนแนวทางที่ 2 หากรัฐบาลไม่สามารถเรียกคืนคลื่นจากกรมประชาสัมพันธ์ได้ อสมท จะคืนคลื่นความถี่ชุด 2535-2570 เมกะเฮิรตซ์ และ 2655-2690 เมกะเฮิรตซ์ ให้กสทช.นำไปทำ 4 จี คลื่นละ 35 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเงินค่าเยียวยาที่ อสมท ต้องการเบื้องต้นคือ ประมาณ 100 ล้านบาท ทั้งนี้ กสทช.และ อสมท จะนัดประชุมหาข้อสรุปอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 18 พ.ค.58 นี้
ด้านนายฮุย เวง ชอง หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอวิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ได้มีการพัฒนาโครงข่ายด้านบรอดแบนด์โดยนำศักยภาพของโครงข่ายใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติก มาสร้างเป็นโครงข่ายดิจิทัล ภายใต้แบรนด์เอไอเอสไฟเบอร์ (AIS Fibre) ความเร็วสูงสุด 1Gbps ที่มาพร้อมความบันเทิงเต็มรูปแบบจากกล่องเอไอเอสเพลย์บ็อกซ์ (AIS Playbox) ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวธุรกิจรูปแบบใหม่ โดยช่วงแรกจะให้บริการในพื้นที่ 7 จังหวัด ครอบคลุมกว่า 130,000 ครัวเรือน ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล, เชียงใหม่, โคราช, อุดรธานี, ขอนแก่น, ภูเก็ต และตัวเมืองหาดใหญ่ โดยตั้งเป้าลูกค้าใหม่ 100,000 รายภายในสิ้นปี.

http://www.thaipost.net/?q=กสทชชิงคลื่นกรมประชาฯ-เอไอเอสรุกธุรกิจเน็ตไฟเบอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.