Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 พฤษภาคม 2558 รองเลขาธิการ กสทช.สมบัติ ระบุ ทีวีดิจิตอลขอเลื่อนจ่าย1ปี แต่ต้องรับฟังความเห็นสาธารณะในกรณีเร่งด่วน หรือภายใน 15 วัน

ประเด็นหลัก


นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยในงานประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อแนวทางการขยายระยะเวลาในการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา บอร์ด กสทช.ได้มีมติอนุมัติในหลักการให้เลื่อนจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลในงวดที่ 2 ออกไปเป็นเวลา 1 ปี แต่ต้องรับฟังความเห็นสาธารณะในกรณีเร่งด่วน หรือภายใน 15 วัน ในประเด็น ประกอบด้วย 1.เลื่อนตั้งแต่งวดที่ 2 ออกไปเป็นเวลา 1 ปี หรือเลื่อนจ่ายเงินเฉพาะงวดที่ 2 เพื่อไปจ่ายเงินรวมกับงวดที่ 3 2.การเลื่อนจ่ายเงินผู้ประกอบการต้องรับภาระชดเชยค่าดอกเบี้ย และ 3.ผู้ประกอบการต้องดำเนินมาตรการชดเชยด้านการคุ้มครองผู้บริโภค


_____________________________________________________










ทีวีดิจิตอลขอเลื่อนจ่าย1ปี ย้ำห้ามกสทช.คิดดอกเบี้ยซ้ำเติมเพราะแบกภาระเพียบ



เอกชนเสนอเลื่อนจ่ายค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลออกไปอีก 1 ปี พร้อมห้ามคิดดอกเบี้ย ย้ำทุกช่องภาระยังสูง

นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยในงานประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อแนวทางการขยายระยะเวลาในการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา บอร์ด กสทช.ได้มีมติอนุมัติในหลักการให้เลื่อนจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลในงวดที่ 2 ออกไปเป็นเวลา 1 ปี แต่ต้องรับฟังความเห็นสาธารณะในกรณีเร่งด่วน หรือภายใน 15 วัน ในประเด็น ประกอบด้วย 1.เลื่อนตั้งแต่งวดที่ 2 ออกไปเป็นเวลา 1 ปี หรือเลื่อนจ่ายเงินเฉพาะงวดที่ 2 เพื่อไปจ่ายเงินรวมกับงวดที่ 3 2.การเลื่อนจ่ายเงินผู้ประกอบการต้องรับภาระชดเชยค่าดอกเบี้ย และ 3.ผู้ประกอบการต้องดำเนินมาตรการชดเชยด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

นายสุภาพ คลี่ขจาย ประธานชมรมผู้ประกอบการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน และที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท ไทย ทีวี จำกัด หรือสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี กล่าวว่า ในฐานะชมรมผู้ประกอบการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน และช่องไทยทีวี เห็นว่าการเลื่อนจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลควรเลื่อนจ่ายเงินตั้งแต่ในงวดที่ 2 ออกไปเป็นเวลา 1 ปี และขอให้ กสทช.ไม่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเลื่อนจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอล โดยที่ผ่านมาทางผู้ประกอบการเองเข้าใจปัญหาต่างๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี การทำประชาสัมพันธ์ให้คนมาดูทีวีดิจิตอลล่าช้า การแจกคูปองเงินสนับสนุนค่าอุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอลล่าช้า และโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินขยายได้ไม่เป็นไปตามแผน

นายปรีย์มน ปิ่นสกุล ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในการเลื่อนจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอล อยากให้ กสทช.ทบทวนให้ชัดเจนว่าควรเยียวยาอย่างไร เพราะที่ผ่านมาในส่วนของ กสทช.เองก็ได้ดำเนินการต่างๆ ไม่เป็นไปตามแผนเช่นกัน เช่น การแจกคูปองทีวีดิจิตอลทำได้ช้า อีกทั้งมีคนใช้สิทธิ์น้อย ในส่วนของเลขช่องที่ผู้ประกอบการเสนอเงินประมูลสูงขึ้นเพื่อให้ได้ตามต้องการไม่สามารถใช้ได้จริง เนื่องจากบนทีวีดาวเทียมหมายเลขช่องยังคงต้องเพิ่มไปอีก 10 ลำดับ เป็นต้น โดยในส่วนของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เห็นว่าการเลื่อนจ่ายเงินค่าใบอนุญาตควรเลื่อนตั้งแต่งวดที่ 2 เป็นต้นไปเป็นเวลา 1 ปี และต้องไม่คิดอัตราค่าดอกเบี้ย เพราะการคิดค่าดอกเบี้ยเหมือนเป็นการไม่ช่วย เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนเจ้าหนี้ผู้คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์มาเป็น กสทช.เท่านั้น อีกทั้งดอกเบี้ยของ กสทช.ยังสูงกว่าด้วยเช่นกัน

  ด้าน นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวได้ทันทีเลยหรือไม่ เนื่องจากต้องนำเรื่องดังกล่าวสรุปเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช. ในวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ เพื่อให้บอร์ด กสทช.ตัดสินใจเสียก่อน ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่าข้อเสนอเรื่องให้เลื่อนจ่ายเงินค่าประมูลตั้งแต่งวดที่ 2 ออกไปเป็นเวลา 1 ปีเท่าๆ กัน อาจเป็นการเอื้อภาคเอกชนเกินไป แต่การให้ไม่มีค่าดอกเบี้ยในการเลื่อนจ่ายเงินอาจจะเป็นไปได้.


http://www.thaipost.net/?q=ทีวีดิจิตอลขอเลื่อนจ่าย1ปี-ย้ำห้ามกสทชคิดดอกเบี้ยซ้ำเติมเพราะแบกภาระเพียบ

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.