Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 พฤษภาคม 2558 ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ ต้องอยู่ในระดับ เทียร์ 3 (Tier 3) ขึ้นไป หรือเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความเสถียรในการใช้งานในระดับที่ดี รซึ่งเก็บข้อมูลได้ 30%

ประเด็นหลัก

 ใจความสำคัญของกรอบนโยบายโครงการดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติอยู่ที่มาตรฐานของดาต้าเซ็นเตอร์ที่ต้องอยู่ในระดับ เทียร์ 3 (Tier 3) ขึ้นไป หรือเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความเสถียรในการใช้งานในระดับที่ดี ดร.ศักดิ์ กล่าวต่อว่า จากการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับดาต้าเซ็นเตอร์ที่หน่วยงานรัฐดำเนินการซึ่งเก็บข้อมูลได้ 30% จากข้อมูลของหน่วยงานรัฐทั้งหมด พบว่า หน่วยงานรัฐมีดาต้าเซ็นเตอร์ 140 ศูนย์ โดยใช้งบในการบริหารจัดการและจ้างบุคลากร รวมทั้งหมด 6,700 ล้านบาทต่อปี ซึ่งดาต้าเซ็นเตอร์ที่สำรวจนี้กว่า 50% มีอายุการใช้งานเกิน 7



_____________________________________________________










‘ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ’ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ | เดลินิวส์


„‘ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ’ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ดาต้าเซ็นเตอร์ไม่ใช่แค่เรื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่มองไปถึงระบบคลาวด์ เพราะทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและนำข้อมูลของแต่ละหน่วยงานภาครัฐไปใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกันได้ วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2558 เวลา 3:34 น. ดาต้าเซ็นเตอร์ภาครัฐ” (Government Data Center) หรือชื่อคุ้นหูว่า “ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ” หมายถึง ศูนย์เครือข่ายรวบรวมข้อมูลทุกด้านของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเปิดให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน โดยให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. เป็นผู้วางมาตรฐาน ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 พ.ค.58 กรอบนโยบายในการจัดทำโครงการ “ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ” ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายดิจิตอลอีโคโนมี ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานแล้ว และจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในเดือน มิ.ย.นี้ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. และประธานกลุ่มสมาคมความมั่นคงปลอดภัยในระบบคลาวด์ ประเทศไทย หรือ ซีเอสเอ ประเทศไทย กล่าวว่า ใจความสำคัญของกรอบนโยบายโครงการดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติอยู่ที่มาตรฐานของดาต้าเซ็นเตอร์ที่ต้องอยู่ในระดับ เทียร์ 3 (Tier 3) ขึ้นไป หรือเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความเสถียรในการใช้งานในระดับที่ดี ดร.ศักดิ์ กล่าวต่อว่า จากการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับดาต้าเซ็นเตอร์ที่หน่วยงานรัฐดำเนินการซึ่งเก็บข้อมูลได้ 30% จากข้อมูลของหน่วยงานรัฐทั้งหมด พบว่า หน่วยงานรัฐมีดาต้าเซ็นเตอร์ 140 ศูนย์ โดยใช้งบในการบริหารจัดการและจ้างบุคลากร รวมทั้งหมด 6,700 ล้านบาทต่อปี ซึ่งดาต้าเซ็นเตอร์ที่สำรวจนี้กว่า 50% มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และปัญหาสำคัญคือ ดาต้าเซ็นเตอร์ของแต่ละหน่วยงานไม่เชื่อมโยงการใช้ข้อมูลร่วมกัน ดังนั้นนโยบายที่จะให้เอกชนมาลงทุนทำดาต้าเซ็นเตอร์แล้วให้ภาครัฐเช่าใช้งานจึงเป็นทางเลือกที่ดี ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้วย “ดาต้าเซ็นเตอร์ไม่ใช่แค่เรื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่มองไปถึงระบบคลาวด์ เพราะทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและนำข้อมูลของแต่ละหน่วยงานภาครัฐไปใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกันได้ แบ่งเป็นข้อมูลทั่วไปที่เปิดเผยได้ให้ใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ของเอกชนที่เข้าร่วม ส่วนข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนให้ใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ของรัฐที่กระทรวงดิจิตอลจะเป็นผู้ดูแล หรือข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น ข้อมูลของกระทรวงการคลัง และกระทรวงกลาโหมก็ให้มีดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง” ดร.ศักดิ์ กล่าว ดร.ศักดิ์ กล่าวต่อว่า กรอบนโยบายที่ผ่านการอนุมัติ คือ การใช้เอกชนเข้ามาลงทุนทำดาต้าเซ็นเตอร์ โดยให้สิทธิยกเว้นภาษี 8 ปี และช่วยเหลือเรื่องค่าไฟฟ้าที่ใช้ในดาต้าเซ็นเตอร์ส่วนที่ภาครัฐเช่าใช้บริการ ซึ่งต้องเป็นเอกชนที่สร้างศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ขึ้นใหม่เพื่อเข้าโครงการนี้โดยเฉพาะ หากเป็นบริษัทที่ทำดาต้าเซ็นเตอร์อยู่แล้ว และอยากเข้าร่วมโครงการโดยไม่ได้ลงทุนสร้างศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่จะไม่ได้ละเว้นภาษี 8 ปี ส่วนเรื่องการช่วยจ่ายค่าไฟฟ้าให้ในส่วนที่บริการดาต้าเซ็นเตอร์ให้หน่วยงานรัฐอยู่ระหว่างพิจารณา “ขณะนี้มีบริษัทต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนทำดาต้าเซ็นเตอร์ในโครงการนี้หลายราย ทั้งจากอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น และจีน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมาเป็นพันธมิตรกับบริษัทในไทย เนื่องจากต้องการให้บริษัทต่างชาติถ่ายทอดความรู้และพัฒนาบุคลากรของไทยด้วย และไม่ว่าบริษัทดาต้าเซ็นเตอร์จะสร้างใหญ่โตขนาดไหน แต่การเข้าร่วมโครงการนี้จะขอใช้พื้นที่เพื่อมาให้บริการหน่วยงานรัฐเพียง 2,000-3,000 ตารางเมตรต่อศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ โดยเน้นใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์จากเอกชนหลายรายเพื่อลดความเสี่ยงในการใช้งาน พร้อมทั้งทำมาตรฐานการให้บริการคลาวด์ควบคู่ไปด้วย” ดร.ศักดิ์ กล่าวว่า ตามแผนงานดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ เดือนมิ.ย.นี้ จะนำกรอบนโยบายที่คณะกรรมการนโยบายดิจิตอลอีโคโนมีอนุมัติเข้า ครม. ซึ่งระหว่างนี้หน่วยงานรัฐต้องจัดเตรียมบริการต่าง ๆ ที่จะให้บริการออนไลน์แบบ วัน สต๊อป เซอร์วิส และภายในสิ้นปีนี้จะเห็นรายชื่อเอกชนที่จะเข้าโครงการทำดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ หลังจากนั้นภายใน 18 เดือนจะเห็นศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่สร้างแล้วเสร็จ รวมระยะเวลาจัดทำทั้งโครงการประมาณ 2 ปี ดร.ศักดิ์ มองว่า การทำดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติจะทำให้เกิดการลงทุนจากเอกชนในการทำศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ราว 30,000-40,000 ล้านบาท ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงานใหม่ เช่น บุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์ หน่วยงานรัฐได้ใช้ดาต้าเซ็นเตอร์มาตรฐานเดียวกันสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นได้ และประชาชนได้ใช้บริการออนไลน์จากรัฐที่มีความเสถียร ซึ่งที่สุดแล้วดาต้าเซ็นเตอร์จะขึ้นไปอยู่บนคลาวด์ สำหรับการขับเคลื่อนเรื่องคลาวด์ สรอ. ร่วมกับ ซีเอสเอ ประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดงานการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการระดับอาเซียนด้านระบบรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ ครั้งที่ 3 “อาเซียน ซีเอสเอ ซัมมิท 2015” ภายใต้การเตรียมความพร้อมสู่ดิจิตอลอีโคโนมี ระหว่างวันที่ 11-12 มิ.ย.นี้ คาดจะมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งคนไทยและต่างชาติรวม 800 คน อดใจรออีก 2 ปี ไทยจะมีดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติที่สมบูรณ์. น้ำเพชร จันทา @phetchan“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/321192


http://www.dailynews.co.th/it/321192

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.