Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 พฤษภาคม 2558 DATC เดินหน้าปั้นสตาร์ทอัพไทยโกอินเตอร์ มีเงินทุนให้ พร้อมโอกาสในการนำผลงานไปทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าของเทเลนอร์ใน 14 ประเทศ

ประเด็นหลัก


“ผู้ที่มีไอเดียผลงานที่ดีหากได้คัดเลือกเข้าร่วมโครงการในปีนี้ จะมีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ มีเงินทุนให้ พร้อมโอกาสในการนำผลงานไปทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าของเทเลนอร์ใน 14 ประเทศ คิดเป็นจำนวนลูกค้าทั้งหมดกว่า 186 ล้านเลขหมายทั่วโลก หรือประมาณ 25% ของประชากรทั่วโลก ซึ่งดีแทค อยากเห็นแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาโดยสตาร์ทอัพคนไทยสามารถก้าวไปสู่ระดับโลกได้


_____________________________________________________










ดีแทคเดินหน้าปั้นสตาร์ทอัพไทยโกอินเตอร์ | เดลินิวส์
„ดีแทคเดินหน้าปั้นสตาร์ทอัพไทยโกอินเตอร์ เฟ้นหาสตาร์ทอัพของไทยที่มีแนวความคิดและผลงานที่น่าสนใจให้สามารถผลิตผลงานเพื่อออกสู่ตลาดจริงพร้อมขยายธุรกิจให้เติบโตได้ วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม 2558 เวลา 2:37 น. ถือเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ หรือ “โอปอเรเตอร์” ที่เดินหน้าสนับสนุนเทคสตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีรุ่นใหม่ของไทยอย่างต่อเนื่อง สำหรับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ที่ได้เปิดตัวโครงการ ดีแทค แอคเซอเลเรท แบทช์#3 (dtac Accelerate Batch #3) ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อเฟ้นหาสตาร์ทอัพของไทยที่มีแนวความคิดและผลงานที่น่าสนใจให้สามารถผลิตผลงานเพื่อออกสู่ตลาดจริงพร้อมขยายธุรกิจให้เติบโตได้ นายลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเทคสตาร์ทอัพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความโดดเด่นอย่างมาก ถือเป็นตลาดใหม่และพัฒนาอย่างรวดเร็วจนเป็นที่จับตามองของนักลงทุนจากทั่วโลก ในปีนี้เราเริ่มเห็นความตื่นตัวของภาครัฐและภาคเอกชนในหลาย ๆ ประเทศ เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม รวมถึงมีการรวมตัวกันของสตาร์ทอัพคอมมูนิตี้ในระดับภูมิภาค ซึ่งในส่วนของไทยกำลังมุ่งสร้าง “เศรษฐกิจดิจิตอล” (Digital Economy) เพื่อก้าวไปสู่การแข่งขันในอนาคต ส่งผลให้ภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงดีแทคพยายามช่วยกันผลักดันให้เกิดระบบนิเวศและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการและคอนเทนต์ต่าง ๆ ซึ่งการสร้างเศรษฐ กิจดิจิตอลจึงขึ้นอยู่กับระบบนิเวศ รวมทั้งโครง สร้างพื้นฐานด้านดิจิตอลที่เพียงพอ “ผู้ที่มีไอเดียผลงานที่ดีหากได้คัดเลือกเข้าร่วมโครงการในปีนี้ จะมีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ มีเงินทุนให้ พร้อมโอกาสในการนำผลงานไปทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าของเทเลนอร์ใน 14 ประเทศ คิดเป็นจำนวนลูกค้าทั้งหมดกว่า 186 ล้านเลขหมายทั่วโลก หรือประมาณ 25% ของประชากรทั่วโลก ซึ่งดีแทค อยากเห็นแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาโดยสตาร์ทอัพคนไทยสามารถก้าวไปสู่ระดับโลกได้” ด้าน นายแอนดริว กวาลเซท ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์และนวัตกรรมธุรกิจ ของ ดีแทค กล่าวว่า ปีนี้ทางดีแทคได้ตั้งงบประมาณโครงการไว้ 100 ล้านบาท สิ่งที่แตกต่างจากโครงการในปีที่ผ่านมา ๆ มา คือ ทีมที่ผ่านการคัดเลือก จะได้รับเงินทุนทีมละ 5 แสนบาท ถึง 1.5 ล้านบาท พร้อมรับเงินสนับสนุนในเชิงพาณิชย์ต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มเข้าบูธแคมป์วันแรก ได้รับเครดิตจาก Amazon Web Service มูลค่า 30,000 บาท พร้อมการฝึกอบรม จากทางทีมงานวิศวกรจากอเมซอน และที่ปรึกษาทางกฎหมายจากทีมกฎหมายดีแทค พร้อมได้สถานที่ทำงานที่ dtac Acclerate coworking space อาคารจามจุรีสแควร์ ซึ่งดีแทคได้ลงทุนกว่า 20 ล้านบาท ให้เป็นพื้นที่ทำงานสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือก ที่สำคัญทุกทีมจะได้รับที่ปรึกษา (mentor) แบบ 1 ต่อ 1 จากผู้ประกอบการไทยที่ประสบความสำเร็จ 5 ท่าน คือ นายทิวา ยอร์ค จาก Kaidee.com, นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี จาก Paysbuy, นายยอด ชินสุภัคกุล จาก Wongnai.com , นายธนวัฒน์ มาลาบุปผา จาก Prizeza.com และนายวิชานน์ มานะวาณิชเจริญ จาก Taamkru.com ตลอดระยะเวลา 4 เดือน ของโครงการ “ปีนี้ยังเปิดกว้างให้กับผู้ที่สนใจทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีไอเดียแล้วแต่ยังไม่มีผลงานและมีแผนโมเดลธุรกิจ และกลุ่มที่มีผลงานและเริ่มมีโมเดลทางธุรกิจที่ชัดเจนแต่ต้องการปรับ ปรุงพัฒนาและผลักดันให้ผลิตภัณฑ์เติบโตมากขึ้นแบบก้าวกระโดด สำหรับผลงานที่เปิดรับก็หลากหลายทั้ง โมบายแอพพลิเคชั่น, ดิจิตอลคอนเทนต์ เกี่ยวกับการศึกษา เพลง เกม ความบันเทิง หนังสือ, ไอโอที (internet of things), อีคอมเมิร์ซ เอ็มคอมเมิร์ซ และแอพพลิเคชั่นสำหรับกลุ่มองค์กรหรือเอสเอ็มอี ซึ่งหากผลงานนั้น ๆ เอื้อประโยชน์หรือสามารถนำไปต่อยอดกับธุรกิจของดีแทคได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี” แอนดริว กล่าว ขณะที่ นายทิวา ยอร์ค จาก Kaidee.com หนึ่งในที่ปรึกษาของสตาร์ทอัพ กล่าวว่า ปัญหาของสตาร์ทอัพในปัจจุบัน คือการนำไอเดียที่มีไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ ซึ่งสตาร์ทอัพจะแตกต่างจากเอสเอ็มเอส เพราะไม่ใช่การทำธุรกิจร้านกาแฟ หรือเบอร์เกอรี่ แต่สตาร์ทอัพหมายถึงการสร้างธุรกิจใหม่ให้เติบโตและขยายธุรกิจออกไปให้ใหญ่ขึ้น หรือสามารถขายกิจการได้ เมื่อพบเจอปัญหาต้องสามารถโฟกัสและแก้ไขปัญหาให้ประสบความสำเร็จให้ได้ อย่างไรก็ตามทีมสตาร์ทอัพ ที่ผ่านโครงการในปีที่แล้วมาถึงปัจจุบันก็ถือว่าประสบความสำเร็จไม่น้อย โดย เคลมดิ (Claim di) ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ 14 บริษัทประกันภัยชั้นนำในประเทศไทย ถือเป็นกว่า 50% ของตลาด และเซ็นเอ็มโอยูขยายธุรกิจสู่ประเทศมาเลเซีย และโรมาเนีย และได้รับเงินทุน seed round จากกลุ่ม 500.co ส่วนไดรฟ์บอท (Drivebot) ก็ประสบความสำเร็จในการระดมทุนจากเว็บไซต์ cloud funding อย่าง Indiegogo.com ภายในเวลาเพียง 6 วันและได้รับเงินทุนทั้งสิ้น 3 เท่าของ เป้าที่ตั้งไว้ ส่วนทีมชนะเลิศ อย่าง พิกจิโปะ (Piggipo) ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก angel investor และเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับธนาคารกสิกรไทย สำหรับฟาสต์อินโฟล (Fast in flow) ก็สามารถสร้างรายได้ได้จริง และ สตอรี่ล็อก (Storylog) ก็สามารถสร้างฐานลูกค้าในกลุ่มคนรุ่นใหม่เช่นกัน ทั้งนี้ทางดีแทคจะเปิดรับสมัครผลงานตั้งแต่วันที่ 7–31 พ.ค. 58 ผู้ที่สนใจสามารถส่งผลงานนำเสนอแนวคิดแผนการดำเนินงาน วิธีการใช้งาน การสร้างรายได้ กลุ่มเป้าหมายประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ หรือเข้ามาดูรายละเอียดและกรอกใบสมัครได้ที่ http://accelerate.dtac.co.th สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลในปีนี้ก็ยังมีโอกาสนำผลงานไปนำเสนอกับนักลงทุน และกองทุนต่าง ๆ ที่ซิลิคอล วัลเลย์ และเป็นตัวแทนสตาร์ทอัพจากทีมดีแทค ประเทศไทย ไปแข่งขันกับตัวแทนจากเทเลนอร์ทั่วโลก อีก 13 ประเทศ ที่ประเทศนอร์เวย์ เหมือนเช่นปีที่แล้ว ใครพร้อมแล้ว...ลุยเลย. จิราวัฒน์ จารุพันธ์ JirawatJ@dailynews.co.th“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/320451

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.