Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2558 กสทช.นที ชี้ ธุรกิจโทรทัศน์ของประเทศไทย จากเดิมการแข่งขันไม่รุนแรง เพราะช่องธุรกิจมีเพียง 2 ช่องหลักคือ ช่อง 3 กับช่อง 7 แต่เมื่อ กสทช.ได้เปิดประมูลช่องธุรกิจ 24 ช่อง ทำให้มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น ซึ่งการประกอบกิจการที่มีการแข่งขัน ก็ย่อมมีผู้ประกอบกิจการประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม

ประเด็นหลัก





พ.อ.นทีกล่าวต่อว่า ธุรกิจโทรทัศน์ของประเทศไทย จากเดิมการแข่งขันไม่รุนแรง เพราะช่องธุรกิจมีเพียง 2 ช่องหลักคือ ช่อง 3 กับช่อง 7 แต่เมื่อ กสทช.ได้เปิดประมูลช่องธุรกิจ 24 ช่อง ทำให้มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น ซึ่งการประกอบกิจการที่มีการแข่งขัน ก็ย่อมมีผู้ประกอบกิจการประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม หากมองย้อนกลับไป การประกอบกิจการของช่อง 3 และช่อง 7 ต่างก็ใช้เวลามากกว่า 5 ปี กว่าจะคืนทุนและสร้างกำไรได้ และตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ก็ได้มีช่องทีวีดิจิตอลหลายช่อง ที่ได้พิสูจน์ฝีมือในการสรรหาเนื้อหาของรายการที่มีคุณภาพและโดนใจผู้บริโภค เช่น โมโน, เวิร์คพอยท์, ไทยรัฐทีวี, ช่องวัน ก็สามารถสร้างกลุ่มผู้ชมของตัวเองและติดอันดับ 1 ใน 10 ช่องของการวัดระดับความนิยม (เรตติ้ง) ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

“กสทช.ได้คาดคิดไว้แล้วว่า ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลจะมีทั้งประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่ง กสทช.ก็ได้กำหนดกรอบกติกาในการดำเนินการอย่างครบถ้วน และให้ได้รับอนุญาตใช้คลื่นความถี่เป็นระยะเวลา 15 ปี มิใช่ปีต่อปี ดังนั้นจึงเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการประกอบกิจการได้ ขณะที่การชำระเงินค่าประมูลช่องทีวีดิจิตอลนั้น กสทช.ก็ได้กำหนดให้จ่ายเป็นงวดๆ โดยให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้นั้น ก็เพื่อมิให้เป็นภาระต่อผู้ประกอบการจนเกินไป และให้ผู้ประกอบการนำเงินนั้นไปสร้างสรรค์เนื้อหาที่ดีต่อผู้บริโภค”.











_______________________







“นที”โว1ปี “ทีวีดิจิตอล”คนดูเพียบ ดราม่า!มีคนรุ่งก็ต้องมีร่วง



“นที” เผย 1 ปี ทีวีดิจิตอล 24 ช่อง แย่งคนดูได้ 27% ของครัวเรือน ถือว่าเร็วมาก เมื่อเทียบกับฝรั่งเศส ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายไทยใช้เวลา 7 ปี ย้ำการแข่งขันในธุรกิจย่อมต้องมีทั้งคนที่สำเร็จและไม่สำเร็จ เพราะ 1 ปีมีหลายช่องประสบความสำเร็จ โดยช่อง 3 และช่อง 7 ใช้เวลามากกว่า 5 ปี กว่าจะขึ้นเป็นวันนี้

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า จากกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากทีวีระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิตอลผ่านไปแล้ว 1 ปีนั้น ถือได้ว่าการดำเนินการส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด และทำให้ยอดการรับชมของทีวีดิจิตอลของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถแย่งส่วนแบ่งการรับชมจากทีวีระบบอนาล็อกได้แล้ว 27% ในเดือน พ.ค.58 ที่ผ่านมา ถือว่าเร็วมาก เมื่อเทียบกับหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส ที่มีโครงสร้างกิจการโทรทัศน์เช่นเดียวกับไทย แต่ใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านหลายปี และใช้เวลากว่า 7 ปี ที่ช่องทีวีดิจิตอลช่องใหม่จะแย่งส่วนแบ่งของผู้ชมได้ 22%

ส่วนการขยายโครงข่ายทีวีดิจิตอล ซึ่งผู้ประกอบการได้ติดตั้งโครงข่ายทีวีดิจิตอลครอบคลุมประชากรแล้วประมาณ 80% ของครัวเรือนหรือติดตั้งไปแล้ว 35 สถานีและคาดว่าภายในเดือน มิ.ย.-ก.ค.นี้ จะติดตั้งครบ 39-40 สถานีตามกำหนด ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่การรับชมทีวีดิจิตอลมากขึ้น ซึ่งในช่วงแรกบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งว่าจะติดตั้งล่าช้า แต่ที่สุดแล้ว อสมท ก็ได้เร่งการติดตั้งโครงข่าย คาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย.-ก.ค.58

สำหรับการแจกคูปองเงินสด 690 บาท เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน ได้เริ่มตั้งแต่ ต.ค.2557 หลังจากทีวีดิจิตอลได้เริ่มออกอากาศไปแล้วประมาณ 6 เดือน ปัจจุบันได้มีการแจกคูปองไปแล้ว 14.1 ล้านใบ และมีการใช้สิทธิ์การแลกคูปองไปแล้ว 5 ล้านใบ คาดว่าในเร็วๆ นี้ จะมีประชาชนมาใช้สิทธิ์แลกคูปองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคูปองดิจิตอลลอตแรก จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ค.58 นี้แล้ว

พ.อ.นทีกล่าวต่อว่า ธุรกิจโทรทัศน์ของประเทศไทย จากเดิมการแข่งขันไม่รุนแรง เพราะช่องธุรกิจมีเพียง 2 ช่องหลักคือ ช่อง 3 กับช่อง 7 แต่เมื่อ กสทช.ได้เปิดประมูลช่องธุรกิจ 24 ช่อง ทำให้มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น ซึ่งการประกอบกิจการที่มีการแข่งขัน ก็ย่อมมีผู้ประกอบกิจการประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม หากมองย้อนกลับไป การประกอบกิจการของช่อง 3 และช่อง 7 ต่างก็ใช้เวลามากกว่า 5 ปี กว่าจะคืนทุนและสร้างกำไรได้ และตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ก็ได้มีช่องทีวีดิจิตอลหลายช่อง ที่ได้พิสูจน์ฝีมือในการสรรหาเนื้อหาของรายการที่มีคุณภาพและโดนใจผู้บริโภค เช่น โมโน, เวิร์คพอยท์, ไทยรัฐทีวี, ช่องวัน ก็สามารถสร้างกลุ่มผู้ชมของตัวเองและติดอันดับ 1 ใน 10 ช่องของการวัดระดับความนิยม (เรตติ้ง) ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

“กสทช.ได้คาดคิดไว้แล้วว่า ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลจะมีทั้งประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่ง กสทช.ก็ได้กำหนดกรอบกติกาในการดำเนินการอย่างครบถ้วน และให้ได้รับอนุญาตใช้คลื่นความถี่เป็นระยะเวลา 15 ปี มิใช่ปีต่อปี ดังนั้นจึงเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการประกอบกิจการได้ ขณะที่การชำระเงินค่าประมูลช่องทีวีดิจิตอลนั้น กสทช.ก็ได้กำหนดให้จ่ายเป็นงวดๆ โดยให้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้นั้น ก็เพื่อมิให้เป็นภาระต่อผู้ประกอบการจนเกินไป และให้ผู้ประกอบการนำเงินนั้นไปสร้างสรรค์เนื้อหาที่ดีต่อผู้บริโภค”.


https://www.thairath.co.th/content/502453

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.