Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2558 IDC ระบุ ลาดคอนเทนต์และแอพพลิเคชันบนมือถือในไทยมีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้การใช้งานส่วนใหญ่จะพบมากในด้านโซเชียลเน็ตเวิร์กและด้านความบันเทิงเป็นหลักก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีตลาดสมาร์ทโฟนใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน

ประเด็นหลัก





    บริษัทไอดีซี (ประเทศไทย) จำกัด  ได้เปิดเผยผลงานวิจัยเรื่อง Thailand Mobile Content Market Study 2015 พบว่า ตลาดคอนเทนต์และแอพพลิเคชันบนมือถือในไทยมีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้การใช้งานส่วนใหญ่จะพบมากในด้านโซเชียลเน็ตเวิร์กและด้านความบันเทิงเป็นหลักก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีตลาดสมาร์ทโฟนใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน และมีจำนวนผู้ใช้งานมือถือบนเครือข่าย 3G และ 4G ที่มากรวมกันทั้งสิ้น 87.5 ล้านเลขหมาย จึงส่งผลให้ตลาดคอนเทนต์บนมือถือมีศักยภาพในการเติบโตสูงและเป็นตลาดที่น่าลงทุนสำหรับผู้พัฒนาแอพพลิเคชันในไทยและจากต่างประเทศ
   2501 นายไมเคิล อาราเนตา ผู้จัดการประจำประเทศไทย  บริษัท ไอดีซี  (ประเทศไทย) จำกัด    เปิดเผยว่าปัจจุบันจำนวนผู้ที่เข้าใช้งานแอพพลิเคชันบนมือถือทุกวัน ยังคงมีจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรไทย และยิ่งไปกว่านั้น จำนวนผู้ใช้แอพพลิเคชันด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากโซเชียลเน็ตเวิร์กและความบันเทิง มีเพียงแค่ 15% ของจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดเท่านั้น นั่นหมายความว่า ตลาดแอพพลิเคชันของไทยยังอยู่ในระยะเริ่มแรก แต่ก็มีศักยภาพในการเติบโตที่รวดเร็วได้"
    งานวิจัยของไอดีซี ได้เปิดเผยถึงประเด็นต่างๆ ที่สำคัญในตลาดดังต่อไปนี้คือไทยเป็นตลาดที่มีจำนวนผู้เข้าใช้งานแอพพลิเคชันด้านโซเชียลเน็ตเวิร์กและด้านความบันเทิงที่สูง จากรายงานตัวเลขของไอดีซีพบว่า จำนวนผู้เข้าใช้งานแอพพลิเคชันบนมือถือทุกวัน มีทั้งสิ้น 24 ล้านคน หรือคิดเป็น 37% ของจำนวนประชากรไทย โดยแอพพลิเคชันที่มีการเข้าใช้งานส่วนใหญ่คือ เฟซบุ๊ก , ไลน์ , วอตส์แอพ , กูเกิล แมป   ทริปแอดไวซ์เซอร์,  อะโกด้า, ยูทูบ, เกมส์, วิดีโอ และการฟังเพลงบนมือถือ





_____________________________________




ตลาดแอพไทยมีศักยภาพโต
เหตุผู้ใช้สมาร์ทโฟนไทยแตะ 87.5 ล้านเลขหมาย


    ไอดีซี เผยงานวิจัย ตลาดคอนเทนต์และแอพพลิเคชันไทย อยู่ในช่วงเริ่มต้น มีศักยภาพการเติบโตได้อีกมหาศาล  เหตุตลาดสมาร์ทโฟนไทยใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน มีผู้ใช้ 3G-4G รวม 87.5 ล้านเลขหมาย ขณะที่ผู้ใช้งานแอพไทยมีอยู่ 24 ล้านคนคิดเป็น 37% ของประชากร  แอพ โซเซียลมีเดียยอดผู้ใช้สูงสุด 22 ล้านคน ขณะที่แอพบันเทิง มียอดผู้ใช้ 14 ล้านคน
    บริษัทไอดีซี (ประเทศไทย) จำกัด  ได้เปิดเผยผลงานวิจัยเรื่อง Thailand Mobile Content Market Study 2015 พบว่า ตลาดคอนเทนต์และแอพพลิเคชันบนมือถือในไทยมีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้การใช้งานส่วนใหญ่จะพบมากในด้านโซเชียลเน็ตเวิร์กและด้านความบันเทิงเป็นหลักก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีตลาดสมาร์ทโฟนใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน และมีจำนวนผู้ใช้งานมือถือบนเครือข่าย 3G และ 4G ที่มากรวมกันทั้งสิ้น 87.5 ล้านเลขหมาย จึงส่งผลให้ตลาดคอนเทนต์บนมือถือมีศักยภาพในการเติบโตสูงและเป็นตลาดที่น่าลงทุนสำหรับผู้พัฒนาแอพพลิเคชันในไทยและจากต่างประเทศ
   2501 นายไมเคิล อาราเนตา ผู้จัดการประจำประเทศไทย  บริษัท ไอดีซี  (ประเทศไทย) จำกัด    เปิดเผยว่าปัจจุบันจำนวนผู้ที่เข้าใช้งานแอพพลิเคชันบนมือถือทุกวัน ยังคงมีจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรไทย และยิ่งไปกว่านั้น จำนวนผู้ใช้แอพพลิเคชันด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากโซเชียลเน็ตเวิร์กและความบันเทิง มีเพียงแค่ 15% ของจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดเท่านั้น นั่นหมายความว่า ตลาดแอพพลิเคชันของไทยยังอยู่ในระยะเริ่มแรก แต่ก็มีศักยภาพในการเติบโตที่รวดเร็วได้"
    งานวิจัยของไอดีซี ได้เปิดเผยถึงประเด็นต่างๆ ที่สำคัญในตลาดดังต่อไปนี้คือไทยเป็นตลาดที่มีจำนวนผู้เข้าใช้งานแอพพลิเคชันด้านโซเชียลเน็ตเวิร์กและด้านความบันเทิงที่สูง จากรายงานตัวเลขของไอดีซีพบว่า จำนวนผู้เข้าใช้งานแอพพลิเคชันบนมือถือทุกวัน มีทั้งสิ้น 24 ล้านคน หรือคิดเป็น 37% ของจำนวนประชากรไทย โดยแอพพลิเคชันที่มีการเข้าใช้งานส่วนใหญ่คือ เฟซบุ๊ก , ไลน์ , วอตส์แอพ , กูเกิล แมป   ทริปแอดไวซ์เซอร์,  อะโกด้า, ยูทูบ, เกมส์, วิดีโอ และการฟังเพลงบนมือถือ
    ซึ่งในจำนวนนี้ มีผู้ที่ใช้งานแอพพลิเคชันโซเชียลเน็ตเวิร์กอยู่ทั้งสิ้น 22 ล้านคน ถือเป็นอัตราที่สูงสุดเมื่อเทียบกับการเข้าใช้งานแอพพลิเคชันด้านอื่นๆ ในส่วนของแอพพลิเคชันด้านความบันเทิงนั้น มีจำนวนผู้ที่เข้าใช้งานทุกวันเฉลี่ยอยู่ที่ 14 ล้านคน
    นอกเหนือจากแอพพลิเคชันเกี่ยวกับโซเชียลเน็ตเวิร์กและด้านบันเทิงแล้ว โมบายล์ช็อปปิ้งก็เป็นอีกหนึ่งแอพพลิเคชันที่กำลังได้รับความนิยมในไทย ซึ่งมีผู้ใช้คิดเป็น 25% ของจำนวนผู้ใช้ทั้งหมด ส่วนการใช้งานแอพพลิเคชันอื่นๆ เช่น โมบายล์แบงก์กิ้ง โมบายล์คอมเมิร์ซ การท่องเที่ยว รีวิวร้านอาหาร และสุขภาพ ยังคงมีอัตราการใช้งานที่น้อยอยู่
    นอกจากนี้ยังมองว่าตลาดแอพพลิเคชันบนมือถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ที่สูง โดยในปีที่ผ่านมานั้น รายได้ที่เกิดจากแอพพลิเคชันบนมือถือ มีมูลค่าสูงถึง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.98 หมื่นล้านบาท (คิดที่ 33 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้ที่มาจากการเก็บค่าโฆษณาในแอพพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 42% ของรายได้ในตลาดทั้งหมด
    ขณะที่ผู้พัฒนาคอนเทนต์หรือเจ้าของคอนเทนต์จากต่างประเทศยังคงครองตลาดในส่วนของจำนวนดาวน์โหลดและการใช้งาน ส่งผลให้เกิดความแตกต่างที่สูงระหว่างจำนวนผู้ใช้งานแอพพลิเคชันจากต่างประเทศและแอพพลิเคชันที่เป็นของคนไทย โดยปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่ 9 ต่อ 1 (ตัวเลข ณ สิ้นเดือนเมษายน 2558) แอพพลิเคชันของไทยที่กำลังได้รับความนิยมที่สูงขึ้นนั้น ได้แก่  เอ็นโซโก้  และวงใน (Wongnai)
    นอกจากนี้แอพพลิเคชันที่เน้นการให้ข้อมูลขององค์กรไม่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งาน  ไอดีซีพบว่า แอพพลิเคชันที่หลายบริษัทหรือองค์กรนำเสนอผ่านมือถือเพื่อประชาสัมพันธ์หรือเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีเนื้อหาที่ตอบสนองความต้องการในด้านไลฟ์สไตล์ และ ความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้
    "เราไม่ได้สรุปว่าแอพพลิชันที่ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นช่องทางในการให้ข้อมูลกับผู้ใช้นั้นไม่มีประสิทธิภาพ หากแต่องค์กรต้องทำการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ โดยเน้นการสื่อสารแบบ 2 ทางให้เพิ่มมากขึ้น  ไอดีซีจึงอยากแนะนำให้ผู้พัฒนาแอพพลิเคชันพิจารณานำความเป็น “โซเชียล” หรือความเป็น “เกม” เพิ่มเติมเข้าไปในตัวคอนเทนต์ ซึ่งจะสามารถดึงความสนใจของผู้ใช้ และ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารกับองค์กรได้ และจะส่งผลให้แอพพลิเคชันนั้นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น"
    ขณะเดียวกันการสร้างรายได้จากแอพพลิเคชันบนมือถือนั้นมีหลายช่องทาง แต่ช่องทางที่เห็นได้ชัดเจนยังมีน้อย ในปัจจุบัน มีหลายองค์กรที่ได้ใช้แอพพลิเคชันบนมือถือเป็นช่องทางใหม่ในการเพิ่มรายได้ จากรายงานของไอดีซี รูปแบบการสร้างรายได้จากแอพพลิเคชันบนมือถือนั้น มี 5 วิธีหลัก ซึ่งได้แก่ การเก็บค่าโฆษณา การสร้างส่วนแบ่งรายได้ ฟรีเมี่ยม (ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี แต่มีการคิดค่าบริการสำหรับฟังก์ชันที่ต้องการเพิ่มเติม) รายได้ที่มาจากการสร้างแอกเคาต์อย่างเป็นอย่างทางการ และการเก็บค่าสมาชิก

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,057
 วันที่ 31  พฤษภาคม - 3 มิถุนายน  พ.ศ. 2558

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=279603:2015-05-29-03-31-28&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VW7R-WBAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.