Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กรกฎาคม 2558 กสทช. เผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานบรอดแบนด์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.58 มีมติให้ CAT TOT ดำเนินการให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายเช่าใช้ท่อใต้ดิน เพื่อนำสายโทรคมนาคมทั้งหมดลงท่อ

ประเด็นหลัก



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขธิการ สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานบรอดแบนด์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.58 ที่ผ่านมา มีมติให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินการให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายเช่าใช้ท่อใต้ดิน เพื่อนำสายโทรคมนาคมทั้งหมดลงท่อ โดย กสทช.ได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้กำหนดกรอบราคา อาทิ ในการเช่าใช้ท่อจะต้องมีอัตราเท่าไร จำนวนกี่กิโลเมตร (กม.) ในการลากสายต่อครั้ง ซึ่งสำนักงานจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม กสทช.ต่อไป









____________________________________




ยกกสท-ทีโอทีเจ้าภาพ เอาสายโทรคมฯลงดิน



คณะทำงานบรอดแบนด์แห่งชาติ มีมติให้ บมจ.กสทฯ-ทีโอที เป็นแม่งานสายโทรคมนาคมลงดิน กสทช.มีหน้าที่กำหนดกรอบราคาค่าเช่า พร้อมร่วมแก้ปัญหาคลื่นรบกวนชายแดน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขธิการ สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานบรอดแบนด์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.58 ที่ผ่านมา มีมติให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ดำเนินการให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายเช่าใช้ท่อใต้ดิน เพื่อนำสายโทรคมนาคมทั้งหมดลงท่อ โดย กสทช.ได้รับหน้าที่ให้เป็นผู้กำหนดกรอบราคา อาทิ ในการเช่าใช้ท่อจะต้องมีอัตราเท่าไร จำนวนกี่กิโลเมตร (กม.) ในการลากสายต่อครั้ง ซึ่งสำนักงานจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม กสทช.ต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจุบัน บมจ.กสทฯ มีท่อใต้ดินในบริเวณกรุงเทพฯ จำนวนกว่า 1,000 กม. ส่วน บมจ.ทีโอที มีประมาณ 20,000 กม. ซึ่งคิดเป็นอัตราที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 60% ยังคงขาดอีก 40% ก็สามารถเชื่อมต่อกันได้ทั่วถึง ดังนั้นทั้ง 2 บริษัทจะต้องมีการลงทุนเพิ่ม ซึ่งคาดว่าจะครบ 100% ได้ นอกจากนี้ คณะทำงานบรอดแบนด์แห่งชาติยังมีมติให้ทั้ง บมจ.กสทฯ และ บมจ.ทีโอที หาเอกชนมาร่วมลงทุนในการดำเนินงานวางสายเคเบิลใต้น้ำเชื่อมต่อวงจรต่างประเทศ หรืออินเทอร์เน็ตเกตเวย์ได้ แต่ต้องมีการลงทุนเมื่อราคาการให้บริการออกมาแล้วถูกลงกว่าที่เป็นอยู่

พร้อมกันนี้ ในระหว่างวันที่ 29 มิ.ย.-1 ก.ค.58 นี้ มีการประชุมเชิงปฏิบัติการประสานงานคลื่นความถี่ตามบริเวณชายแดน ระหว่างวันที่ 29 มิ.ย.-1 ก.ค.58 นี้ มีผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลแต่ละประเทศที่มีพื้นที่ติดชายแดนประเทศไทย ได้แก่ ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเชีย เข้าร่วมประชุม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เชิญหน่วยงานกำกับดูแลมาประชุมพร้อมกัน โดยมีมองโกเลียเป็นประเทศเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการหารือกันในระดับประเทศต่อประเทศเท่านั้น ซึ่งปัญหาหลักที่พบ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการใช้บริการข้ามแดน (โรมมิ่ง) และคลื่นรบกวน อาทิ ประเทศลาว พบปัญหาคลื่นรบกวนมากที่สุด บนคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์.

http://www.thaipost.net/?q=ยกกสท-ทีโอทีเจ้าภาพ-เอาสายโทรคมฯลงดิน

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.