Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กรกฎาคม 2558 คสช.สั่งขยายเวลาเยียวยาลูกค้า 2G บนคลื่น 1800 MHz กว่า 5 แสนราย ออกไปจนกว่าจะประมูล 4G เสร็จ และได้ผู้บริการรายใหม่ ย้ำผ่าน กสทช. ทรู-ดีพีซี ห้ามซิมดับ

ประเด็นหลัก




        คสช.สั่งขยายเวลาเยียวยาลูกค้า 2G บนคลื่น 1800 MHz กว่า 5 แสนราย ออกไปจนกว่าจะประมูล 4G เสร็จ และได้ผู้บริการรายใหม่ ย้ำผ่าน กสทช. ทรู-ดีพีซี ห้ามซิมดับ
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งให้ กสทช.ขยายระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ไปจนกว่าจะได้ผู้บริการรายใหม่ ดังนั้น ขอให้บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่เหลือลูกค้าอยู่ในระบบเดิม 5.2 แสนราย และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่ยังเหลือลูกค้า 900 ราย ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าของตนเองทราบว่ายังสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ซิมต้องไม่ดับจนกว่าจะมีการประมูลใบอนุญาต 1800 MHz และได้ผู้ให้บริการรายใหม่
     
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ คสช. ได้มีคำสั่งฉบับที่ 94/2557 ให้ กสทช. ชะลอการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ออกไป 1 ปี และให้คุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือบนคลื่นความถี่ดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองในวันที่ 17 ก.ค.58 เวลา 24.00 น. และสำนักงาน กสทช. ได้เคยประกาศให้ทราบว่า หลังจากเวลานั้นแล้วซิบจะดับ จะยุติมาตรการเยียวยานั้น ซึ่งต่อมาสำนักงาน กสทช. ได้รายงานให้หัวหน้า คสช.เพื่อทราบในแนวทางการดำเนินงาน และขอรับนโยบาย








____________________________________




คสช.ออกคำสั่งขยายเวลาเยียวยาลูกค้าความถี่ 1800 MHz ย้ำห้ามซิมดับ


        คสช.สั่งขยายเวลาเยียวยาลูกค้า 2G บนคลื่น 1800 MHz กว่า 5 แสนราย ออกไปจนกว่าจะประมูล 4G เสร็จ และได้ผู้บริการรายใหม่ ย้ำผ่าน กสทช. ทรู-ดีพีซี ห้ามซิมดับ
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งให้ กสทช.ขยายระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ไปจนกว่าจะได้ผู้บริการรายใหม่ ดังนั้น ขอให้บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ที่เหลือลูกค้าอยู่ในระบบเดิม 5.2 แสนราย และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่ยังเหลือลูกค้า 900 ราย ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าของตนเองทราบว่ายังสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ซิมต้องไม่ดับจนกว่าจะมีการประมูลใบอนุญาต 1800 MHz และได้ผู้ให้บริการรายใหม่
     
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ คสช. ได้มีคำสั่งฉบับที่ 94/2557 ให้ กสทช. ชะลอการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ออกไป 1 ปี และให้คุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือบนคลื่นความถี่ดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองในวันที่ 17 ก.ค.58 เวลา 24.00 น. และสำนักงาน กสทช. ได้เคยประกาศให้ทราบว่า หลังจากเวลานั้นแล้วซิบจะดับ จะยุติมาตรการเยียวยานั้น ซึ่งต่อมาสำนักงาน กสทช. ได้รายงานให้หัวหน้า คสช.เพื่อทราบในแนวทางการดำเนินงาน และขอรับนโยบาย
     
       ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้มีหนังสือแจ้งรับทราบแนวทางการดำเนินของ กสทช. ที่ผ่านมา และสั่งการให้ กสทช. คุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือบนคลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีการประมูล และได้ผู้ให้บริการรายใหม่ โดยให้นำประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
     
       จากกรณีที่เกิดขึ้นทำให้มาตราการเยียวยาลูกค้า 1800 MHz มีการขยายเวลาถึง 3 ช่วงแล้ว คือ 1.16 ก.ย.56-15 ก.ค.57 ซึ่งเป็นช่วงการเยียวยาลูกค้าภายหลังจากที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 2.16 ก.ค.57-ปัจจุบัน คือ ช่วงที่ คสช.มีคำสั่งให้ชะลอการประมูล 4G ในครั้งนั้นออกไปก่อน และให้ขยายมาตรการเยียวยาไปพร้อมกัน และช่วงที่ 3 คือ 18 ก.ค.58-มีผู้ชนะการประมูลได้ใบอนุญาตใหม่ แต่ต้องยอมรับว่ามาตรการเยียวยาในช่วง 2 แรกนั้น จนถึงขณะนี้ กสทช.ยังไม่ได้รับเงินรายได้ที่เกิดขึ้นเลย จากการใช้โครงข่ายและรายได้จากการให้บริการของผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย ถึงแม้จะมีการตั้งคณะทำงานในการคำนวณพิจารณารายได้ที่อาจเกิดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถสรุปได้ แต่ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ล่าสุด ได้หารือ และกำชับให้สรุปคำนวณรายได้ที่เกิดขึ้น โดยคาดว่าในกลางเดือน ส.ค.นี้ รายได้จากการให้บริการในช่วงเยียวยาช่วงที่ 1 คือ 16 ก.ย.56 - 15 ก.ค.57 จะแล้วเสร็จ
     
       สำหรับเรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพการบริการโทรศัพท์มือถือ กรณีสายหลุดที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วงเวลานี้ หลังจากที่ได้เชิญผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) ทั้ง 5 รายมาประชุมเพื่อหารือแนวทางแก้ไข และขอให้ประชาชนร้องเรียนปัญหาดังกล่าวเข้ามายังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสำนักงาน กสทช. หมายเลขโทรศัพท์ 1200 นั้น ขณะนี้ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ พบว่าตั้งแต่วันที่ 2-7 ก.ค.58 มีประชาชนแจ้งร้องเรียนเรื่องปัญหาสายหลุดบ่อยเข้ามารวม 58 เรื่อง โดยแจ้งเป็นเครือข่ายดีแทค 26 เรื่อง เป็นสายหลุดบ่อยในพื้นที่กรุงเทพฯ ระยอง สมุทรปราการ พิจิตร ปทุมธานี สงขลา มหาสารคาม และภูเก็ต แจ้งเป็นเครือข่ายเอไอเอส 16 เรื่อง โดยเป็นสายหลุดบ่อยในพื้นที่กรุงเทพฯ พัทลุง ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สกลนคร กาญจนบุรี และสงขลา แจ้งเป็นเครือข่ายทรูมูฟ 15 เรื่อง โดยเป็นสายหลุดบ่อยในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ ชัยภูมิ ปทุมธานี นครศรีธรรมราช ร้อยเอ็ด ปราจีนบุรี และภูเก็ต และแจ้งเป็นเครือข่าย กสท โทรคมนาคม 1 เรื่อง โดยเป็นสายหลุดบ่อยในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ
     
       หลังจากนี้ สำนักงานจะมีหนังสือแจ้งไปยังโอเปอเรเตอร์ให้ทราบถึงการร้องเรียนเพื่อให้โอเปอเรเตอร์ทำการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้พื้นที่ที่ได้รับการร้องเรียน และสำนักงาน กสทช. จะยังคงติดตามปัญหากรณีสายหลุดบ่อยนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอฝากไปยังประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่พบปัญหาสายหลุดขณะใช้ บริการช่วยร้องเรียนเข้ามายังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสำนักงาน กสทช. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1200 (ฟรี) โดยให้แจ้งค่ายมือถือที่ใช้ วัน เวลา และสถานที่ที่พบปัญหาสายหลุดเข้ามาด้วยเพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการแก้ไขปัญหา

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000077258&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+9-7-58&utm_campaign=20150708_m126501619_Manager+Morning+Brief+9-7-58&utm_term=_E0_B8_84_E0_B8_AA_E0_B8_8A__E0_B8_AD_E0_B8_AD_E0_B8_81_E0_B8_84_E0_B8_B3_E0_B8_AA_E0_B8_B1_E0_B9_88_E0_B8_87_E0_B8_82_E0_B8_A2_E0_B8_B2_E0_B8_A2_E0_B9_80_E0_B8_A7_E0_B8_A5_E0_B8_B2_E0_B9_80_E0_B8_A2_E0_B8_B5_E0_B8_A2_E0_B8_A7_E0_B8_A2_E0_B8_B2_E0_B8_A5_E

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.