Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 กรกฎาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) ในการประมูลหากมีผู้เข้าประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต จะปรับราคาตั้งการประมูล จากใบอนุญาตละ 11,600 ล้านบาท ที่คิดเป็น 70% จากมูลค่าคลื่นความถี่แท้จริง ให้เพิ่มเป็นใบอนุญาตละ 16,575 ล้านบาท

ประเด็นหลัก





นายฐากร กล่าวว่า สำหรับ สาระสำคัญอื่นๆ ในร่างประกาศดังกล่าว ได้แก่ ในการประมูลหากมีผู้เข้าประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต จะปรับราคาตั้งการประมูล จากใบอนุญาตละ 11,600 ล้านบาท ที่คิดเป็น 70% จากมูลค่าคลื่นความถี่แท้จริง ให้เพิ่มเป็นใบอนุญาตละ 16,575 ล้านบาท ที่เท่ากับมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริง และ การกำหนดให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายหนึ่งรายใดห้ามถือครองคลื่นความถี่รวมทั้งหมดเกิน 60 เมกะเฮิรตซ์ เป็นต้น








____________________________________





“กทค.”ไฟเขียวหลักเกณฑ์ประมูล4จี-ยันใช้ราคา 1.16หมื่นล./ใบอนุญาต




นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ว่า ได้อนุมัติร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 4 จี เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) พิจารณา ในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้ และ ดำเนินการทำประชาพิจารณ์ในวัน 17 กรกฎาคมนี้ โดยสาระสำคัญ คือการกำหนดราคาตั้งต้นการประมูล ซึ่งตามรายงานผลการศึกษามูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริง จากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(ไอทียู) ได้ระบุว่ามูลค่าคลื่นความถี่อยู่ที่ 603 ล้านบาทต่อเมกะเฮิรตซ์ ซึ่งลดลงจากที่ดำเนินการประเมินมูลไว้ในปี 2557 ในอัตรา 9% หรือในปี 2557 ประเมินได้ 663 ล้านบาทต่อเมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากหลายประเทศที่มีการประมูล 4 จี เช่น อินเดีย หรือศรีลังกา เป็นต้น มีราคาชนะการประมูลที่ต่ำลงว่าค่าที่เฉลี่ยไว้เดิม


“ กทค. พิจารณาแล้วจึงมีมติ ให้ใช้ผลการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ที่ ไอทียู ทำการประเมินและเสนอมาให้ กทค. เมื่อปี 2557 ก่อนมีคำสั่งระงับการประมูล เป็นเวลา 1 ปี จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ส่งผลให้ราคาตั้งต้นการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ปริมาณคลื่นใบอนุญาตละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ราคาตั้งต้นการประมูลจะอยู่ที่ใบอนุญาตละ 11,600 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุที่ กทค. ใช้มูลเดิมเนื่องจาก เห็นว่าปริมาณความต้องการใช้งานคลื่นความถี่ของประเทศไทยยังคงสูงอยู่ อีกทั้งการกำหนดให้ราคาตั้งต้นการประมูลลดลงอาจทำให้คณะกรรมการ กทค. อาจมีความผิดโทษฐานเอื้อประโยชน์แก่ภาคเอกชนได้”


นายฐากร กล่าวว่า สำหรับ สาระสำคัญอื่นๆ ในร่างประกาศดังกล่าว ได้แก่ ในการประมูลหากมีผู้เข้าประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต จะปรับราคาตั้งการประมูล จากใบอนุญาตละ 11,600 ล้านบาท ที่คิดเป็น 70% จากมูลค่าคลื่นความถี่แท้จริง ให้เพิ่มเป็นใบอนุญาตละ 16,575 ล้านบาท ที่เท่ากับมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริง และ การกำหนดให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายหนึ่งรายใดห้ามถือครองคลื่นความถี่รวมทั้งหมดเกิน 60 เมกะเฮิรตซ์ เป็นต้น


ทั้งนี้ในส่วนข้อคิดเห็นอื่น ขอให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยดำเนินการออกความเห็นในการทำประชาพิจารณ์ ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคมนี้ เป็นต้นไป

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1436186453

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.