Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 กรกฎาคม 2558 กิตตินันท์ อนุพันธ์ ย้ำว่า เอสเอ็มอีในกลุ่มสตาร์ตอัพ ต้องมองหาโมเดลบิสซิเนสใหม่ๆ ในการทำให้ธุรกิจดั้งเดิมเติบโตได้แบบก้าวกระโดด เช่นให้บริการที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น

ประเด็นหลัก





คุณกิตตินันท์ อนุพันธ์ ย้ำว่า เอสเอ็มอีในกลุ่มสตาร์ตอัพ ต้องมองหาโมเดลบิสซิเนสใหม่ๆ ในการทำให้ธุรกิจดั้งเดิมเติบโตได้แบบก้าวกระโดด เช่นให้บริการที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น

สำหรับเด็กจบใหม่ อาจจะยังไม่สามารถสตาร์ตอัพได้เลยในทันที เพราะยังไม่เคยมีประสบการณ์ ไอเดียของหลาย ๆ คนที่โดนใจนักระดมทุนนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาระยะหนึ่งแล้วทั้งนั้น เด็กที่เพิ่งจบควรจะเข้าไปอยู่ในธุรกิจกลุ่มสตาร์ตอัพและเรียนรู้ ก่อนที่จะออกมาเปิดบริษัทเอง และสร้างรูปแบบบริการ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เชื่อมโยงกับกลุ่มธุรกิจเหล่านั้นต่อไป

ส่วนการเติบโตของกลุ่มสตาร์ตอัพ กิตตินันท์มองว่า ค่อนข้างยาก ภาครัฐยังไม่เข้าใจรูปแบบของสตาร์ตอัพดีพอ และยังโฟกัสไปที่เด็กจบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ในขณะที่กลุ่มเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพก็ขาดการผลักดัน การเชื่อมโยงให้เกิดอินโนเวชั่นหรือสร้างโมเดลใหม่ๆ ออกมา






____________________________________





3 กลุ่มสตาร์ตอัพมาแรง "ท่องเที่ยว-อีคอมเมิร์ซ-ไฟแนนซ์"



"กลุ่มธุรกิจโตแบบก้าวกระโดด ธุุรกิจที่เราสามารถจะทำซ้ำได้และมีนวัตกรรมใหม่ ๆ" เป็นคำจำกัดความที่ คุณกิตตินันท์ อนุพันธ์ กรรมการผู้ดูแลกลุ่มสตาร์ตอัพของสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) และ ผู้ก่อตั้ง claim di ธุรกิจสตาร์ตอัพชื่อดังได้กล่าวไว้

สำหรับกลุ่มสตาร์ตอัพ 3 กลุ่มในไทยที่กำลังมาแรง ซึ่งคาดว่าจะมีการระดมทุนถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐจนถึงสิ้นปีนี้ ได้แก่ กลุ่มไฟแนนซ์ กลุ่มอีคอมเมิร์ซและ ท่องเที่ยวกินดื่ม


ผู้ที่สนใจและต้องการเป็นธุรกิจก้าวกระโดด คุณกิตตินันท์ อนุพันธ์ แนะนำไว้ดังนี้

ใน กลุ่มไฟแนนซ์ การทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น Claim di ธุรกิจที่รับเคลมประกันออนไลน์ รูปแบบก็คือเป็นการรวบรวมเอาอู่ซ่อม กลุ่มบริษัทรับช่วงต่อต่าง ๆ ธุรกิจประกันภัย เหล่านี้มาเป็นพันธมิตร สามารถเคลมประกันได้ทันที โดยผ่านมือถือ

กลุ่มท่องเที่ยว-กินดื่ม ไม่ใช่แค่แอปพลิเคชั่นที่รวบรวมร้านอร่อยที่เที่ยวราคาถูกเท่านั้น แต่มีการพัฒนาแตกต่างไปจากเดิมมาก เช่น บางกลุ่มที่มองหากลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ๆ กลุ่มที่ไม่ต้องการไปวัดพระแก้ว หรืออัมพวา กลุ่มสตาร์ตอัพกลุ่มนี้จะเข้าไปเจรจากับชุมชนที่มีศักยภาพและน่าสนใจ เช่นกลุ่มทำมีด หรือเปิดบ้านอบรม การทำขนมครก ร้อยมาลัย แล้วนำมาสร้างเป็นแพ็กเกจท่องเที่ยว แบ่งรายได้กับผู้ประกอบการ อย่างเช่น Wongnai เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่กำลังเติบโตในเฟสสองของการระดมทุนที่ประสบความสำเร็จ

สำหรับ กลุ่มอีคอมเมิร์ซ บิสซิเนส มีการสร้างโมเดลใหม่ๆ เช่น การทำแอปพลิเคชั่นที่ครอบโซเชียลมีเดียอีกที ยกตัวอย่างการทำระบบบัญชีหลังบ้าน สามารถตรวจสอบสถานะของคนซื้อ การจ่ายเงิน สต๊อกสินค้า เชื่อมโยงในเฟซบุ๊ก เว็บไซต์และไลน์ อย่างเช่น SellSuki หรือแอปขายของ kaidee ที่มีนักลงทุนเข้ามาระดมทุนตั้งแต่เป็นดีลฟิชและ OLX

หรือการทำแวร์เฮ้าส์ให้เช่าพื้นที่วางสินค้า พร้อมกับให้บริการจัดส่งสินค้าให้ด้วย แม่ค้าที่เคยเชื่อมโยงกับลูกค้า ก็อาจจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับธุรกิจดีลิเวอรี่ แบบนี้ไปด้วย

คุณกิตตินันท์ อนุพันธ์ ย้ำว่า เอสเอ็มอีในกลุ่มสตาร์ตอัพ ต้องมองหาโมเดลบิสซิเนสใหม่ๆ ในการทำให้ธุรกิจดั้งเดิมเติบโตได้แบบก้าวกระโดด เช่นให้บริการที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น

สำหรับเด็กจบใหม่ อาจจะยังไม่สามารถสตาร์ตอัพได้เลยในทันที เพราะยังไม่เคยมีประสบการณ์ ไอเดียของหลาย ๆ คนที่โดนใจนักระดมทุนนั้น ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาระยะหนึ่งแล้วทั้งนั้น เด็กที่เพิ่งจบควรจะเข้าไปอยู่ในธุรกิจกลุ่มสตาร์ตอัพและเรียนรู้ ก่อนที่จะออกมาเปิดบริษัทเอง และสร้างรูปแบบบริการ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เชื่อมโยงกับกลุ่มธุรกิจเหล่านั้นต่อไป

ส่วนการเติบโตของกลุ่มสตาร์ตอัพ กิตตินันท์มองว่า ค่อนข้างยาก ภาครัฐยังไม่เข้าใจรูปแบบของสตาร์ตอัพดีพอ และยังโฟกัสไปที่เด็กจบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ในขณะที่กลุ่มเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพก็ขาดการผลักดัน การเชื่อมโยงให้เกิดอินโนเวชั่นหรือสร้างโมเดลใหม่ๆ ออกมา


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1436247604

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.