Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2558 (บทความ) 1 ปีทีวีดิจิตอลไทย // จากผลการสำรวจเรตติ้ง Max Rating ของ AGB Nielsen ในกลุ่มคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ พบว่าช่อง 7 ยังคงทำเรตติ้งได้สูงที่สุดที่ 16.72

ประเด็นหลัก





  จากผลการสำรวจเรตติ้ง Max Rating ของ AGB Nielsen ในกลุ่มคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ พบว่าช่อง 7 ยังคงทำเรตติ้งได้สูงที่สุดที่ 16.72 จากการถ่ายทอดสดมวยชิงแชมป์โลกระหว่าง "แมนนี่ ปาเกียว vs ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์"  ตามมาด้วยช่อง 3 ที่ 15.15 จากละครเรื่อง "สุดแค้นแสนรัก" ที่กระแสมาแรงแซงโค้งละครไพรม์ไทม์เรื่องอื่นๆ ทั้งนี้เป็นที่สังเกตว่าอันดับ 3 - 5 ไม่ใช่ของช่อง 5 หรือช่อง 9 อีกต่อไป แต่เป็นน้องใหม่มาแรงที่บางรายมีประสบการณ์จากธุรกิจเคเบิล-ดาวเทียมอยู่แล้วอย่าง "เวิร์คพอยท์ - ไทยรัฐทีวี - ONE" โดยเวิร์คพอยท์ได้เรตติ้ง 8.66 จากการถ่ายทอดสดมวยมหกรรมมวยไทยชิงแชมป์โลกในคู่ของ "บัวขาว vs เหยียนบิน"  ซึ่งปกติแล้วรายการที่เรตติ้งสูงที่สุดของเวิร์คพอยท์คือ "ชิงช้าสวรรค์ไมค์ทองคำ" ทำเรตติ้งสูงสุดในเดือนพฤษภาคมได้ 7.19 แต่กระแสความแรงของรายการกีฬาไม่หยุดแค่นั้น เมื่อเรตติ้งสูงที่สุดที่ไทยรัฐทำได้มาจากการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก "ไทย-เวียดนาม" เช่นกัน คว้าเรตติ้งไป 4.64 จึงไม่น่าแปลกใจว่าระยะหลังมานี้ทีวีดิจิตอลช่องต่างๆ  ต่างแข่งขันกันซื้อลิขสิทธิ์กีฬามาเรียกคนดู โดยเฉพาะฟุตบอล และมวย
    ในขณะที่บางช่องยังคงใช้ละครเรียกเรตติ้ง และคนดู เห็นได้จากช่อง ONE ที่แจ้งเกิดจากละคร EXACT โดยเดือนที่ผ่านมา "สื่อริษยา" ทำ Max Rating ได้เกือบ 4 ทางด้านช่อง 5 กับช่อง 9 หลังเจอมรสุมผู้ผลิตรายใหญ่ถอนทัพ เรตติ้งก็หล่นลงมาอยู่ที่อันดับ 7 กับ 9








_________________________________________







1 ปีทีวีดิจิตอลไทย


    ย้อนเวลากลับไป 1 ปี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 เป็นช่วงเวลาที่ กสทช. บังคับให้ทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจทุกช่องเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ในตอนนั้นเองมีทั้งช่องที่เริ่มออกอากาศด้วยความพร้อมอย่างเต็มเปี่ยมด้วยการนำผังรายการ และรายการใหม่ๆ ออกสู่สายตาผู้ชม ขณะที่บางช่องนำรายการเก่าออกมารีรันไปก่อน วันนี้ผ่านไป 1 ปี พัฒนาการด้านเรตติ้ง และส่วนแบ่งคนดูของแต่ละช่องเป็นอย่างไรกันบ้าง ทีมงาน Strategy & Innovation ของ Initiative ขอนำข้อมูลมาเปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ ว่าช่องไหนครองตำแหน่งดาวรุ่ง และเจ้าตลาดทีวีดิจิตอลไทยกันบ้าง
   1803 เริ่มต้นกันที่อันดับช่องดิจิตอลยอดนิยมในเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา โดยแบ่งการพิจารณาเป็น 2 แง่มุม ได้แก่ การพิจารณาอันดับช่องจาก Max Rating เพื่อดูว่าเรตติ้งที่แต่ละช่องทำได้มากที่สุดอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งนั่นเป็นการบอกโดยนัยถึงศักยภาพของแต่ละช่องว่าวิ่งไปไกลที่สุดได้แค่ไหน โดย Max Rating อาจจะมาจากตัวเลขเรตติ้งจากรายการใดรายการหนึ่งที่ได้รับความนิยมของแต่ละช่องเพียงรายการเดียวก็ได้ ซึ่ง Max Rating ส่วนใหญ่มักเป็นเรตติ้งที่ได้จากรายการที่ออกอากาศช่วงไพรม์ไทม์ซึ่งเป็นเวลาที่คนไทยดูโทรทัศน์มากที่สุดนั่นเอง และการพิจารณาจาก เรตติ้งเฉลี่ย (Average Rating) ของแต่ละช่องที่จะบอกถึงศักยภาพโดยรวมของช่อง เนื่องจากเป็นการนำเรตติ้งของทุกรายการในทุกเวลามาเฉลี่ยกัน ซึ่งแต่ละรายการอาจได้รับความนิยมต่างกันออกไป
    จากผลการสำรวจเรตติ้ง Max Rating ของ AGB Nielsen ในกลุ่มคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ พบว่าช่อง 7 ยังคงทำเรตติ้งได้สูงที่สุดที่ 16.72 จากการถ่ายทอดสดมวยชิงแชมป์โลกระหว่าง "แมนนี่ ปาเกียว vs ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์"  ตามมาด้วยช่อง 3 ที่ 15.15 จากละครเรื่อง "สุดแค้นแสนรัก" ที่กระแสมาแรงแซงโค้งละครไพรม์ไทม์เรื่องอื่นๆ ทั้งนี้เป็นที่สังเกตว่าอันดับ 3 - 5 ไม่ใช่ของช่อง 5 หรือช่อง 9 อีกต่อไป แต่เป็นน้องใหม่มาแรงที่บางรายมีประสบการณ์จากธุรกิจเคเบิล-ดาวเทียมอยู่แล้วอย่าง "เวิร์คพอยท์ - ไทยรัฐทีวี - ONE" โดยเวิร์คพอยท์ได้เรตติ้ง 8.66 จากการถ่ายทอดสดมวยมหกรรมมวยไทยชิงแชมป์โลกในคู่ของ "บัวขาว vs เหยียนบิน"  ซึ่งปกติแล้วรายการที่เรตติ้งสูงที่สุดของเวิร์คพอยท์คือ "ชิงช้าสวรรค์ไมค์ทองคำ" ทำเรตติ้งสูงสุดในเดือนพฤษภาคมได้ 7.19 แต่กระแสความแรงของรายการกีฬาไม่หยุดแค่นั้น เมื่อเรตติ้งสูงที่สุดที่ไทยรัฐทำได้มาจากการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก "ไทย-เวียดนาม" เช่นกัน คว้าเรตติ้งไป 4.64 จึงไม่น่าแปลกใจว่าระยะหลังมานี้ทีวีดิจิตอลช่องต่างๆ  ต่างแข่งขันกันซื้อลิขสิทธิ์กีฬามาเรียกคนดู โดยเฉพาะฟุตบอล และมวย
    ในขณะที่บางช่องยังคงใช้ละครเรียกเรตติ้ง และคนดู เห็นได้จากช่อง ONE ที่แจ้งเกิดจากละคร EXACT โดยเดือนที่ผ่านมา "สื่อริษยา" ทำ Max Rating ได้เกือบ 4 ทางด้านช่อง 5 กับช่อง 9 หลังเจอมรสุมผู้ผลิตรายใหญ่ถอนทัพ เรตติ้งก็หล่นลงมาอยู่ที่อันดับ 7 กับ 9
  1802  อย่างไรก็ตามภาพรวม เรตติ้งของทั้ง 2 ช่องนี้ก็ยังสูงกว่าทีวีดิจิตอลน้องใหม่หลายช่อง เพราะทั้งคู่อยู่ในตลาดมายาวนาน มีฐานผู้ชม และรายการที่เรียกเรตติ้งให้ช่องอยู่บ้าง
    คราวนี้เรามาดูกันที่เรตติ้งเฉลี่ยทั้งวันของช่องกันบ้าง ซึ่งสามารถสะท้อนภาพรวมของแต่ละช่องได้ดีกว่า เพราะหากช่องไหนมีรายการดีๆ ที่ได้รับความนิยมไม่กี่รายการ ย่อมมีเรตติ้งเฉลี่ยต่ำกว่าช่องที่มีรายการยอดนิยมหรือมีเรตติ้งสูงๆ จำนวนมาก จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่าอันดับ 1 - 3 ยังเป็นของ "ช่อง 7 - ช่อง 3 - เวิร์คพอยท์" เหมือนเดิม โดยเมื่อเฉลี่ยเรตติ้งจากรายการทั้งผังแล้ว อยู่ที่ 3.15, 2.34 และ 0.64 ตามลำดับ ขณะที่การแข่งขัน 8 แม็กซ์มวยไทย และละครที่จับกลุ่มแมสของช่อง 8 ยังดึงฐานคนดูต่างจังหวัดไว้ได้ ทำเรตติ้งไป 0.34 ส่วนช่อง 9 และ MONO29 ที่เน้นจับกลุ่มคอหนัง และซีรีส์ต่างประเทศทำผลงานได้พอๆ กันที่ 0.25 ทั้งนี้เป็นที่สังเกตว่าสถานีประเภทช่องข่าว และรายการเด็กได้รับความนิยมน้อยกว่าช่องวาไรตี
    และเมื่อนำส่วนแบ่งคนดูในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การแข่งขันด้านคอนเทนต์ และเรตติ้งรุนแรงที่สุดมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นได้ว่าเมื่อเดือนเมษายน 2557 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ช่องดิจิตอลเริ่มทดลองออกอากาศ ช่อง 3 และช่อง 7 ยังกินแชร์รวมถึง 80% และเมื่อรวมกับช่อง 5 และช่อง 9 ที่เป็นฟรีทีวีเดิมด้วยแล้ว ทั้ง 4 ช่อง กินแชร์รวม  90% แต่เมื่อเวลาผ่านไปแต่ละเดือน จะเห็นได้ว่าแชร์รวมของทั้ง 4 ช่องลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่อง 5 กับช่อง 9 ที่ส่วนแบ่งทางการตลาดเล็กลงเรื่อยๆ จนเหลือช่องละไม่ถึง 5% ในเดือนพฤษภาคม 2558  ด้านช่อง 3 และช่อง 7 แม้ยังครองตำแหน่งยักษ์ใหญ่ของวงการสื่อที่ครองส่วนแบ่งคนดูมากที่สุด แต่ก็ยังต้องรับศึกหนักจากทีวีดิจิตอลที่กินแชร์เข้ามาเรื่อยๆ โดยช่องที่มาแรง และน่าจับตามากที่สุดคือ "เวิร์คพอยท์" ที่ล่าสุดครองส่วนแบ่งตลาดไป 10% แล้ว ตามด้วยช่อง 8 , ONE และ MONO29 ในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนักซึ่งสถานการณ์ล่าสุดในเดือนพฤษภาคมหรือครบรอบ 1 ปีหลังทีวีดิจิตอลออกอากาศ ช่อง 3 กับช่อง7 เหลือเปอร์เซ็นต์คนดูอยู่ที่ตัวเลข 60 ปลายๆ เท่านั้น และเมื่อรวมฟรีทีวีเดิมทั้ง 4 ช่องแชร์จะอยู่ที่ไม่เกิน 70% นั่นหมายความว่าเมื่อรวมทีวีดิจิตอลเข้าด้วยกัน ทีวีดิจิตอลกินแชร์ไปถึง 30% หรือเกือบ 1 ใน 3 ของตลาดโทรทัศน์บ้านเราไปแล้ว (ในกรณีนี้ยังไม่ได้นำช่องเคเบิลทีวีหรือดาวเทียมเข้ามาคำนวณส่วนแบ่งตลาดด้วย)
  1801  ก้าวสู่ปีที่ 2 ของทีวีดิจิตอลหลายช่องยังคงมุ่งพัฒนาคอนเทนต์ และปรับผังรายการใหม่เพื่อเจาะฐานคนดู ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแย่งชิงส่วนแบ่งเม็ดเงินโฆษณา และความอยู่รอดในสนามการแข่งขัน โดยความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือ หลายๆ ช่องหันมาผลิตละครมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น GMM Channel, PPTV และบางรายก็เลือกที่จะนำซีรีส์เกาหลี และละครเก่ามารีรันอย่างเช่นช่อง 3SD และ 3 Family ซึ่งก็พิสูจน์แล้วว่ามีส่วนช่วยทำให้เรตติ้งดีขึ้น เช่นเดียวกับรายการประเภทถ่ายทอดสดกีฬาต่างๆ ที่หลายช่องเริ่มหันมาจับทางอย่างเอาจริงเอาจัง โดยในปีนี้ยังต้องจับตาสถานการณ์ของแต่ละช่องว่าจะหยิบไม้เด็ดอะไรออกมาสู้เพื่อความอยู่รอดอีกบ้าง หลังจากในปีที่ผ่านมา "ไทยทีวี และโลก้า" แห่งค่ายทีวีพูลพลาดท่าไม่สามารถดึงคนดู และเรตติ้งเข้าช่องได้จนต้องอำลาวงการไปเป็นเจ้าแรก

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=282376:1-&catid=246:-i-connect&Itemid=633#.VaiXymBAeuw
__________________________________

1 ปีทีวีดิจิตอลไทย (2)
วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2015 เวลา 19:30 น. กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี และศิริวรรณ มาก่อเกียรติ การตลาด MARKETING - คอลัมน์ I-CONNECT พิมพ์
    กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี และศิริวรรณ มาก่อเกียรติกนกกาญจน์ ประจงแสงศรี และศิริวรรณ มาก่อเกียรติฉบับที่แล้วเราได้ทราบไปแล้วว่า ทีวีดิจิตอลบางช่องเริ่มจับทาง และมองเห็นอนาคตอยู่รำไร ด้วยการนำจุดเด่นของตัวเอง และเนื้อหาโดนๆ มาเป็นจุดดึงดูด ในขณะที่อีกหลายช่องยังคงต้องคลำทางเพื่อหาโอกาสที่จะเกิดในวงการดิจิตอลให้ได้  ดังนั้นใน I Connect ฉบับนี้ทีมงาน Strategy & Innovation ของ Initiative ยังขอเกาะติดกับข้อมูลในแง่มุมอื่นๆ เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของทีวีดิจิตอลมาให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงความเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน
     เรามาดูขุมทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมนี้กันก่อนจากตารางจะเห็นว่า รายได้ของกลุ่มฟรีทีวีเดิม ซึ่งประกอบด้วย 3, 5, 7, 9, 11 และ Thai PBS เมื่อเทียบเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนของปี 2557 กับ 2558 จะเห็นว่า ลดลงไปเพียง 7% หรือประมาณ 1,444 ล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่รายได้ของกลุ่มทีวีดิจิตอลในปี 2015 มีผลประกอบการที่ดีพุ่งขึ้นมาถึง 1302% หรือมีรายได้เข้ามาหล่อเลี้ยงประมาณ 3,317 ล้านบาทจากเดิมในช่วงเดียวกันที่มีเพียง 255 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเนื่องจากทีวีดิจิตอลเริ่มทดลองออนแอร์ในเดือนเมษายน 2014 จึงยังไม่มีรายได้เข้ามามากนัก โดยงบส่วนใหญ่ที่ได้มานั้นถูกโยกมาจากกลุ่มเคเบิล/ดาวเทียมเป็นหลัก เนื่องจากมีหลายๆ ช่องจากกลุ่มนี้ข้ามเข้ามาสู่ธุรกิจทีวีดิจิตอล จึงส่งผลให้กลุ่มเคเบิล/ดาวเทียมมีการเปลี่ยนแปลงในแง่ลบสูงที่สุดถึง 40% หรือเงินหายไปถึง 1,259 ล้านบาทเมื่อเทียบระหว่างปี 2557 กับ 2558
 1801   อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของทีวีดิจิตอลได้ช่วยกระตุ้นให้ภาพรวมการใช้จ่ายของตลาดโฆษณาในโทรทัศน์ทุกระบบสูงขึ้นมาเล็กน้อยอยู่ที่ 3 % หรือประมาณ 613 ล้านบาท ซึ่งมีผลมาจากผู้ประกอบการหน้าใหม่ๆ เริ่มกล้าเข้ามาซื้อสปอตโฆษณาในช่องทีวีดิจิตอลกันมากขึ้นเนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงมากนัก ในขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ ยังคงเกาะติดการลงโฆษณาในช่องหลัก เช่น ช่อง 3 และช่อง 7 แล้วเริ่มขยายการลงโฆษณาไปยังทีวีดิจิตอลกลุ่มที่ติดท็อปเทน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาจะได้ยินข่าวว่า กลุ่มท็อปเทนนี้เริ่มมีการขยับปรับราคาขึ้นมาบ้างแต่ยังคงมีราคาที่ถูกกว่า2ช่องใหญ่มากพอสมควร พร้อมลดแลกแจกแถมอีกเป็นชุด
    เรามาดูถึงเรตติ้งในช่วงวันที่ 18 พฤษภาคม- 1 มิถุนายน 2558 ว่าช่องไหนมีเรตติ้งดีติดท็อปเทนกันบ้าง ซึ่งจะรวมช่องหลักอย่างช่อง 3 , 5 , 7 และ 9 เข้าไปด้วยเพื่อให้เห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ทั้งระบบจะเห็นได้ว่า เรตติ้งของช่อง 3 และ 7 ยังคงมีเรตติ้งเฉลี่ยทั้งวันที่สูงกว่าช่องอื่นๆ โดยช่อง 7 จะมีเรตติ้งสูงในกลุ่มคนดูทั่วประเทศ ในขณะที่ช่อง 3 จะมีเรตติ้งสูงเฉพาะในกลุ่มคนดูที่อยู่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ตามมาด้วยช่องเวิร์คพอยท์ทีวีที่ยึดที่ 3 เหนียวแน่นด้วยจุดเด่นจากเกมโชว์ และวาไรตีโชว์มีเรตติ้งเฉลี่ยทั่วประเทศกับในกรุงเทพฯ และหัวเมืองที่ไม่ต่างกันนักอยู่ที่ประมาณ 0.62 มาถึงอันดับ 4 กับอันดับ 5 มีการสลับเปลี่ยนตำแหน่งกันระหว่างช่อง 8 ที่ยึดกลุ่มคนดูต่างจังหวัดไว้ได้ด้วยละคร และความบันเทิงโดยมีค่าเฉลี่ยเรตติ้งรวมอยู่ที่ 0.37 ในขณะที่ช่อง 9 สามารถรั้งกลุ่มคนดูกรุงเทพฯ และหัวเมืองไว้ได้อย่างเหนียวแน่นด้วยเรตติ้งเฉลี่ยที่ 0.35 อันดับ 6 ถูกจับจองด้วยช่องที่เน้นภาพยนตร์ และซีรีส์อย่าง โมโน29 กับเรตติ้ง 0.25 ต่อด้วยอันดับ 7 มีเรตติ้งอยู่ที่ 0.23 กับช่องวันที่เต็มไปด้วยความบันเทิง และละครจากค่ายเอ็กแซ็กท์ ส่วนอันดับ 8 คือ ช่อง 5 ที่ตามมาด้วยเรตติ้ง 2.0  อันดับ 9 เป็นของช่อง 3SD ที่นำละครเก่าเรื่องเมียแต่งที่เคยทำเรตติ้งได้สูงเป็นประวัติการณ์มารีรัน รวมทั้งยังมีการร่วมเป็นเครือข่ายถ่ายทอดสดกีฬาก็สามารถขยับขึ้นมาติดอันดับได้ด้วยเรตติ้ง 0.18  และตบท้ายสุดในกลุ่มท็อปเทนด้วยเรตติ้ง 0.175 ได้แก่ ไทยรัฐทีวี ที่กระเตื้องขึ้นมาด้วยการถ่ายทอดกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอลทีมชาติไทย รวมถึงสกู๊ปข่าว และวาไรตีที่ยังคงเป็นทีเด็ด
   1802 มาดูกันกับเรตติ้งในอีก 2 สัปดาห์ต่อมาหรือตั้งแต่วันที่ 2- 14 มิถุนายน 2558 เพื่อดูถึงความเปลี่ยนแปลงของคนดูที่มีในช่องทีวีดิจิตอล ซึ่งจะพบว่า ช่อง 3 และช่อง 7 ยังคงครองตำแหน่งที่ 1 สลับกับที่ 2 ซึ่งเปลี่ยนไปตามกลุ่มผู้ดู ในขณะที่ช่อง 5 ขยับเรตติ้งขึ้นมาครองอันดับ 3 ในกลุ่มผู้ชมอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ และหัวเมือง แล้วยังขยับขึ้นมาถึงอันดับ 4 ได้ ซึ่งเป็นอิทธิพลมาจากการถ่ายทอดกีฬาซีเกมส์ที่ช่อง 5 ร่วมเป็นแม่ข่ายในการถ่ายทอดสดกีฬาครั้งนี้ด้วย  ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่า มีเพียงช่อง 3SD เท่านั้นที่หลุดโผท็อปเทน โดยมี เนชั่นทีวี และไทยทีวี เข้ามาเสียบแทน ซึ่ง ไทยทีวี สามารถเข้ามาติดท็อปเทนจากกลุ่มคนดูทั่วประเทศ โดยรายการที่ทำให้ช่องไทยทีวีแห่งค่ายทีวีพูลติดโผมาได้แก่ รายการข่าวแบบเจาะลึก มุงข่าวดัง ส่วน เนชั่นทีวี ซึ่งโดดเด่นทางด้านรายการข่าวสามารถเจาะกลุ่มคนเมืองเข้ามาติดท็อปเทนได้สำเร็จ
    1803จากข้อมูลทั้งหมดพอจะได้เห็นกันแล้วว่า "คอนเทนต์" ยังคงเป็นตัวแปรที่สำคัญในการดึงเรตติ้ง ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากเรตติ้งช่อง 5 และช่อง 9 ที่พุ่งขึ้นมาติดอันดับท็อปไฟว์ได้ด้วยคอนเทนต์ ของการถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์ และเมื่อมองถึงอุตสาหกรรมของโทรทัศน์โดยรวมยิ่งจะเห็นได้ชัดว่า กลุ่มที่ติดท็อปเทนจะเป็นกลุ่มที่มีความชัดเจน และมีความโดดเด่นในเรื่องของคอนเทนต์แทบทั้งสิ้น ซึ่งก็น่าจะเป็นมุมมองที่ดีให้กับกลุ่มทีวีดิจิตอลระดับรอง ๆ ลงมาที่จะต้องพยายามหาจุดเด่นของช่องให้เจอหรือเสริมเนื้อหาเด็ดๆ ให้ได้ แล้วตีฆ้องร้องป่าวออกไปให้ดังๆ ผ่านช่องทางสื่อโฆษณาอื่นๆ นอกเหนือจากบนช่องทางของตัวเอง แล้วเมื่อนั้นโอกาสแห่งความสำเร็จคงอยู่อีกไม่ไกล


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=283455:1-2&catid=246:-i-connect&Itemid=633#.VaiXxWBAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.