Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) DTAC ต้องถือครองคลื่นความถี่ไม่เกิน 60 เมกะเฮิรตซ์ จำเป็นต้องคืนคลื่น 1800 เพื่อให้ลดการถือครองและประมูลคลื่นได้

ประเด็นหลัก





++ยื่นเงื่อนไขต่อรอง
    หลังจาก ดีแทค และ กสทช. ตกลงกันเป็นอย่างดีแล้วว่า ดีแทค จะคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ แบบไม่มีเงื่อนไข พร้อมกับตรียมรายงานให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ให้รับทราบ และให้ กสท  จะทำหนังสือแจ้งไปยัง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร และจะได้ดำเนินการคู่ขนานร่วมกับดีแทคในการแก้ไขสัญญาสัมปทานของทั้งคู่ที่ จะสิ้นสุดลงในปี 2561 จากเดิมที่ดีแทคจะมีสิทธิ์ใช้คลื่น 50 เมกะเฮิรตซ์ ในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ แก้ไขใหม่เป็น 45 เมกะเฮิรตซ์ ตามสัญญาสัมปทาน โดยหลังจากแก้ไขแล้วต้องนำสัญญาแนบท้ายฉบับใหม่เสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับรองการแก้ไขสัญญาแนบท้าย
    แต่สุดท้าย "ฐากร" ถึงกับควันออกหู เมื่อทราบข้อมูลจาก พล.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. ว่า ดีแทค  มีเงื่อนไขแลกต่อการเปิดประมูล 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 เมกะเฮิรตซ์ แทน ซึ่งหากเงื่อนไขเพิ่มเติมจาก ดีแทค เป็นตามนั้นจริงถือเป็นสิ่งที่ กสทช. รับไม่ได้ และจะไม่มีการเจรจา หรือพูดคุยใดๆ กับดีแทคอีก เพราะถือว่าเป็นเอกชนที่ไม่มีความจริงใจ
++ออกกฎเหล็ก
    ประเด็นเรื่องที่ ดีแทค ยื้อไม่ยอมคืนคลื่นความถี่ นั่นจึงเป็นที่มาที่ กทค. มีมติกำหนดเพดานถือครองคลื่นความถี่ไม่เกิน 60 เมกะเฮิรตซ์ พร้อมนำเรื่องบรรจุในร่างประกาศฯการประมูลคลื่นความถี่ (ไอเอ็ม) อีกด้วย และจะนำเสนอที่ประชุม กสทช.พิจารณาภายในกลางเดือนกรกฎาคมนี้








_________________________________________







กสทช.ปิดประตู‘ดีแทค’
ประมูลมือถือระบบ 4 จี


    กลายเป็นประเด็นร้อนแรงเมื่อมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทค. ที่มี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ ในฐานะประธาน กทค. นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน  ปรากฏกว่ามติที่ประชุมบอร์ดมีข้อสรุปเรื่องการถือครองคลื่นความถี่  บนกิจการโทรคมนาคมที่กำหนดให้ผู้เข้าประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จีบนคลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการจะต้องถือครองคลื่นความถี่รวมไม่เกิน 60 เมกะเฮิรตซ์
    มติดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ ดีแทค ปัจจุบันมีคลื่นความถี่ 850 จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ และ คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 50 เมกะเฮิรตซ์ สัญญาสัมปทานที่ได้รับจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หมดอายุลงในปี 2561 และ ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ บริหารความถี่โดย บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. อีกจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ รวมเบ็ดเสร็จ ดีแทค มีคลื่นความถี่ทั้งหมด 75 เมกะเฮิรตซ์
2801++ยื้อคลื่นความถี่
    เป็นเพราะการยื้อคืนคลื่นความถี่ทั้ง ๆที่ความพยายามของ ดีแทค ในยุคของ ซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ดีแทค พร้อมจะคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ กลับคืนไปยัง กสทช.เพื่อนำไปประมูลคลื่นความถี่ระบบ 4 จี ความพยายามคืนคลื่นดังกล่าวก็ไม่เป็นผล หลังจาก ซีอีโอ คนใหม่ คือ นายลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง เข้ามานั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน ปรากฏว่าจากเดิม ดีแทค จะคืนคลื่นให้ทั้งหมด แต่ได้สรุปจะคืนเพียง 5 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น เพราะ  ดีแทคต้องการนำคลื่นไปเปิดให้บริการระบบ 4 จีไม่เพียงเท่านี้การเจรจาคืนคลื่นความถี่ 5 เมกะเฮิรตซ์ กำลังดำเนินการไปอย่างราบรื่น เมื่อ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาเปิดเผยว่า  ได้มีการเจรจากับผู้บริหารของบริษัท กสท โทรคมนาคมฯ เรื่องคืนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ของ ดีแทค ซึ่งยังอยู่ในสัมปทานของ กสท โดยจะหมดสัญญาในปี 2561 และไม่ได้ใช้งานคืนมาให้ร่วมประมูลในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้
    ทางฝ่าย กสทช. เตรียมวางโรดแมปในเรื่องนี้ไว้ว่า ถ้าคืนคลื่นมาที่ กสทช.โดยไม่มีเงื่อนไข และ สามารถคืนให้ได้ภายในสิ้นเดือน มิถุนายนนี้เพื่อให้ทันในการนำมาเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 17 กรกฎาคมนี้ และ นำไปร่วมประมูล 4G ที่จะมีในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะทำให้จำนวนคลื่นที่นำมาใช้งานเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่จะประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ใน 2 ใบอนุญาต แบ่งเป็นใบอนุญาตละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อเพิ่มเข้ามาอีก 5 เมกะเฮิรตซ์ ก็จะทำให้มีคลื่นร่วมประมูลเป็น 30 เมกะเฮิรตซ์ ใบอนุญาตละ 15 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต
++ยื่นเงื่อนไขต่อรอง
    หลังจาก ดีแทค และ กสทช. ตกลงกันเป็นอย่างดีแล้วว่า ดีแทค จะคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ แบบไม่มีเงื่อนไข พร้อมกับตรียมรายงานให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ให้รับทราบ และให้ กสท  จะทำหนังสือแจ้งไปยัง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร และจะได้ดำเนินการคู่ขนานร่วมกับดีแทคในการแก้ไขสัญญาสัมปทานของทั้งคู่ที่ จะสิ้นสุดลงในปี 2561 จากเดิมที่ดีแทคจะมีสิทธิ์ใช้คลื่น 50 เมกะเฮิรตซ์ ในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ แก้ไขใหม่เป็น 45 เมกะเฮิรตซ์ ตามสัญญาสัมปทาน โดยหลังจากแก้ไขแล้วต้องนำสัญญาแนบท้ายฉบับใหม่เสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับรองการแก้ไขสัญญาแนบท้าย
    แต่สุดท้าย "ฐากร" ถึงกับควันออกหู เมื่อทราบข้อมูลจาก พล.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. ว่า ดีแทค  มีเงื่อนไขแลกต่อการเปิดประมูล 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 เมกะเฮิรตซ์ แทน ซึ่งหากเงื่อนไขเพิ่มเติมจาก ดีแทค เป็นตามนั้นจริงถือเป็นสิ่งที่ กสทช. รับไม่ได้ และจะไม่มีการเจรจา หรือพูดคุยใดๆ กับดีแทคอีก เพราะถือว่าเป็นเอกชนที่ไม่มีความจริงใจ
++ออกกฎเหล็ก
    ประเด็นเรื่องที่ ดีแทค ยื้อไม่ยอมคืนคลื่นความถี่ นั่นจึงเป็นที่มาที่ กทค. มีมติกำหนดเพดานถือครองคลื่นความถี่ไม่เกิน 60 เมกะเฮิรตซ์ พร้อมนำเรื่องบรรจุในร่างประกาศฯการประมูลคลื่นความถี่ (ไอเอ็ม) อีกด้วย และจะนำเสนอที่ประชุม กสทช.พิจารณาภายในกลางเดือนกรกฎาคมนี้
    ร่างประกาศฯ ดังกล่าวระบุไว้ว่า 1.การกำหนดถือครองคลื่นความถี่เฉพาะคลื่นที่จะกำหนดเฉพาะผู้ที่ให้บริการในกิจการโทรคมนาคมเท่านั้น 2. การถือครองคลื่นความถี่เฉพาะคลื่นที่ใช้งานและมีสิทธิ์ใช้งาน 3. การถือครองคลื่นความถี่ที่ผู้ใช้บริการทั้งนิติบุคคล และ บริษัทในเครือถือว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันห้ามถือครองเกิน 60 เมกะเฮิรตซ์ 4. การถือครองคลื่นความถี่ นับรวมใบอนุญาตในระบบสัญญาสัมปทาน และระบบใบอนุญาตที่ กสทช.จัดสรรคลื่นความถี่ให้ และการถือครองคลื่นความถี่ผู้ให้บริการยังคงเข้าร่วมประมูล 4 จี ที่จะเปิดในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ หากมีการชนะประมูลนับรวมคลื่นที่ถือครองอยู่เกินจำนวนที่กำหนดแต่อยู่ในระบบสัญญาสัมปทาน จะต้องคืนให้แก่ให้ผู้ให้สัมปทานไม่น้อยกว่าคลื่นความถี่ที่ประมูลได้

    เกมนี้จะจบลงอย่างไร น่าจับตายิ่ง เพราะ กสทช. ออกมาตรการเข้มเรื่องการถือครองเพดานคลื่นความถี่ และ ดีแทค เป็นรายเดียวที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,066 วันที่  2 - 4  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=283860:2015-06-30-03-47-21&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VaiZYGBAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.