Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2558 Focus ระบุ ตลาดฟิล์มกันรอยในประเทศไทยมีมูลค่าปีละประมาณ 800 ล้านบาท จากตลาดรวมอุปกรณ์เสริมที่มีอยู่ประมาณ 5,000 ล้านบาท

ประเด็นหลัก




การเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในประเทศไทยที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้ตลาดอุปกรณ์เสริมหรือแอคเซสซอรี่มีการเติบโตตามไปด้วย รวมถึง “ฟิล์มกันรอย” อุปกรณ์เสริมที่ช่วยปกป้องหน้าจอ ที่จากการสำรวจพบว่า เป็นแอคเซสซอรี่ ชิ้นแรกที่ผู้ซื้อสมาร์ทโฟนนึกถึง “นายอมรศักดิ์ แดงแสงทอง” รองประธานกรรมการฝ่ายการตลาด บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายฟิล์มกันรอยแบรนด์ โฟกัส ( Focus ) บอกว่า ปัจจุบันตลาดฟิล์มกันรอยมีการแข่งขันสูงทั้งด้านราคา การลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ การนำเข้าผลิตภัณฑ์ต้นทุนต่ำจากประเทศจีนเข้ามาจำหน่าย โดยตลาดฟิล์มกันรอยในประเทศไทยมีมูลค่าปีละประมาณ 800 ล้านบาท จากตลาดรวมอุปกรณ์เสริมที่มีอยู่ประมาณ 5,000 ล้านบาท แม้ว่าตลาดอุปกรณ์เสริมและฟิล์มกันรอยในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา จะมีอัตราการขยายตัวที่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากสภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้บริโภค ทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือใหม่และอุปกรณ์เสริมลดน้อยลงตาม ซึ่งปีนี้คาดว่าตลาดสมาร์ทโฟนไทย จะมีประมาณ 17 ล้านเครื่อง เติบโต 24% จากปีที่ผ่านมา









_________________________________________







‘ฟิล์มกันรอย’แอคเซสซอรี่แรก ที่คนใช้สมาร์ทโฟนนึกถึง | เดลินิวส์


„‘ฟิล์มกันรอย’แอคเซสซอรี่แรก ที่คนใช้สมาร์ทโฟนนึกถึง วันพฤหัสที่ 2 กรกฎาคม 2558 เวลา 2:23 น. การเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในประเทศไทยที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ทำให้ตลาดอุปกรณ์เสริมหรือแอคเซสซอรี่มีการเติบโตตามไปด้วย รวมถึง “ฟิล์มกันรอย” อุปกรณ์เสริมที่ช่วยปกป้องหน้าจอ ที่จากการสำรวจพบว่า เป็นแอคเซสซอรี่ ชิ้นแรกที่ผู้ซื้อสมาร์ทโฟนนึกถึง “นายอมรศักดิ์ แดงแสงทอง” รองประธานกรรมการฝ่ายการตลาด บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายฟิล์มกันรอยแบรนด์ โฟกัส ( Focus ) บอกว่า ปัจจุบันตลาดฟิล์มกันรอยมีการแข่งขันสูงทั้งด้านราคา การลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ การนำเข้าผลิตภัณฑ์ต้นทุนต่ำจากประเทศจีนเข้ามาจำหน่าย โดยตลาดฟิล์มกันรอยในประเทศไทยมีมูลค่าปีละประมาณ 800 ล้านบาท จากตลาดรวมอุปกรณ์เสริมที่มีอยู่ประมาณ 5,000 ล้านบาท แม้ว่าตลาดอุปกรณ์เสริมและฟิล์มกันรอยในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา จะมีอัตราการขยายตัวที่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากสภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้บริโภค ทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือใหม่และอุปกรณ์เสริมลดน้อยลงตาม ซึ่งปีนี้คาดว่าตลาดสมาร์ทโฟนไทย จะมีประมาณ 17 ล้านเครื่อง เติบโต 24% จากปีที่ผ่านมา โดยสมาร์ทโฟนกลุ่มหน้าจอใหญ่ยังคงเป็นที่นิยมมากที่สุด จึงนับว่ายังเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลดีต่อการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโฟกัส ที่ปีนี้จะเน้นบุกตลาดฟิล์มกันรอยแบบกระจกนิรภัยมากขึ้น ล่าสุด...โฟกัสได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “กระจกนิรภัยถนอมสายตา” (Focus: Blue Light Cut Tempered Glass) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในการปกป้องหน้าจอสมาร์ทโฟนพร้อมดูแลสุขภาพดวงตา ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคจอประสาทตาเสื่อมในอนาคต ด้วยเทคโนโลยีกรองคลื่นแสงสีฟ้าที่กระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระและทำลายเซลล์จอประสาทตา นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติในการป้องกันรอยขีดข่วน และปก ป้องหน้าจอสมาร์ทโฟนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผลิตจากแผ่นกระจกคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น ผ่านกระบวนการอบด้วยความร้อนสูงจนมีความแข็งแกร่งถึงระดับ 9H เช่นเดียวกับกระจกนิรภัยที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ สำหรับแนวโน้มการเลือกฟิล์มกันรอย “นายศรีศักดิ์ พิทักษ์ฐาปนพงษ์” ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของดีพลัส อินเตอร์เทรด บอกว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจฟิล์มที่มีคุณสมบัติพิเศษเช่น กระจกนิรภัยทนกระแทก หรือถนอมสายตามากขึ้น แม้จะมีราคาสูงกว่าฟิล์มทั่ว ๆ ไปกว่าเท่าตัว ซึ่งวิธีการเลือกฟิล์มกันรอยที่มีคุณภาพนั้น ผู้บริหารจากโฟกัส บอกว่า ควรจะพิจารณาทั้งเรื่องความน่าเชื่อถือของแบรนด์ มีการการันตีหรือทดสอบให้เห็นถึงคุณภาพนั้น ๆ ฟิล์มหรือกระจกที่สามารถลดรอยนิ้วมือ ทัชลื่น ทดสอบได้ด้วยการหยดน้ำลงบนแผ่นกระจก ถ้ากระจกนิรภัยที่ผ่านกระบวน Coating ที่ดี หยดน้ำจะจับตัวกันเป็นหยดกลม สวยงาม ต่างจากกระจกนิรภัยทั่วไป ที่ Coating ไม่ดี น้ำจะกระจายตัวไม่เป็นหยดกลม นอกจากนี้ยังต้องมีความเรียบร้อยในการผลิตชิ้นงาน เช่น การตัดขอบ การโค้งมน หรือรูปทรงที่พอดีกับหน้าจอสมาร์ทโฟนรุ่นยอดนิยมต่าง ๆ ส่วนกรณีที่เป็นฟิล์มหรือกระจกนิรภัยถนอมสายตา ซึ่งสามารถกรองแสงสีฟ้า ที่มีความยาวช่วงคลื่น 380-450 นาโนเมตร ที่เป็นอันตรายได้นั้น สามารถทดสอบได้ง่าย ๆด้วยการใช้ไฟฉายแสงบลูไลท์ จะสามารถตัดแสงได้เป็นอย่างดี และนี่ก็คือนวัตกรรมฟิล์มกันรอยที่พัฒนาจาก “โฟกัส” แบรนด์คนไทยรายแรกและรายเดียวที่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง แอคเซสซอรี่แบบนี้ ไม่ใช่แฟชั่น แต่ยอมรับว่า “จำเป็น”. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/331909

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.