Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2558 ซิป้า เสนอกรอบแนวคิดในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิตอลโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมการบริการดิจิตอลส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิตอล

ประเด็นหลัก




สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือซิป้า หน่วยงานในสังกัดกระทรวงไอซีทีได้เสนอกรอบแนวคิดในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิตอลโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมการบริการดิจิตอลส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิตอลอย่างเป็นรูปธรรมเป็นศูนย์กลางการบริการดิจิตอลในภูมิภาคอาเซียนและเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงสู่สากลดึงดูดให้นักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาลงทุนในประเทศ และเป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการและให้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป อย่างไรก็ตาม ลักษณะเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิตอล ประกอบด้วย การให้สิทธิประโยชน์พิเศษด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การลงทุน ภาษี และแรงงานมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีเสถียรภาพรองรับการพัฒนาและให้บริการดิจิตอล มีทรัพยากรที่ทันสมัยเอื้อต่อการทำงานและรองรับนักพัฒนานวัตกรรมจากทั่วโลก มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันระหว่างนักลงทุน ผู้ประกอบการ นักพัฒนา และชุมชน มีระบบสนับสนุนเพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับการดำเนินธุรกิจครบวงจรสำหรับนักลงทุนและนักพัฒนาทั่วโลก และมีศูนย์ทดสอบรับรองการผลิตและบริการที่ได้มาตรฐานในระดับสากล เป็นต้น









_________________________________________







ก.ไอซีที หนุนตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิตอลจูงใจนักลงทุน | เดลินิวส์



„ก.ไอซีที หนุนตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิตอลจูงใจนักลงทุน กระทรวงไอซีที หนุนแนวคิด ซิป้า จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิตอล ชูมาตรการด้านสิทธิประโยชน์เป็นแม่เหล็ก ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก สร้างรายได้เข้าประเทศไทยตาม วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2558 เวลา 14:00 น. วันนี้(17 ก.ค.) ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที)นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวว่า การส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิตอล หรือ ดิจิตอล อีโคโนมีและการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิตอลที่ส่งผลต่อทุกภาคเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าและแข่งขันในยุคปัจจุบันถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลซึ่งประเทศไทยยังขาดมาตรการและสิทธิประโยชน์เฉพาะด้านที่จะดึงดูดการลงทุนจากบริษัทด้านไอซีทีชั้นนำจากต่างประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ที่สำคัญคือประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะส่งผลให้แนวโน้มการค้าบริการ และการเคลื่อนย้ายทรัพยากรมนุษย์ในอาเซียนและระหว่างภูมิภาคเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือซิป้า หน่วยงานในสังกัดกระทรวงไอซีทีได้เสนอกรอบแนวคิดในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิตอลโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมการบริการดิจิตอลส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิตอลอย่างเป็นรูปธรรมเป็นศูนย์กลางการบริการดิจิตอลในภูมิภาคอาเซียนและเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงสู่สากลดึงดูดให้นักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาลงทุนในประเทศ และเป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการและให้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป อย่างไรก็ตาม ลักษณะเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิตอล ประกอบด้วย การให้สิทธิประโยชน์พิเศษด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การลงทุน ภาษี และแรงงานมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีเสถียรภาพรองรับการพัฒนาและให้บริการดิจิตอล มีทรัพยากรที่ทันสมัยเอื้อต่อการทำงานและรองรับนักพัฒนานวัตกรรมจากทั่วโลก มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันระหว่างนักลงทุน ผู้ประกอบการ นักพัฒนา และชุมชน มีระบบสนับสนุนเพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับการดำเนินธุรกิจครบวงจรสำหรับนักลงทุนและนักพัฒนาทั่วโลก และมีศูนย์ทดสอบรับรองการผลิตและบริการที่ได้มาตรฐานในระดับสากล เป็นต้น “กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในการดำเนินการภาคเศรษฐกิจของไทยมีข้อจำกัดด้านการลงทุนจากต่างประเทศทำให้สูญเสียโอกาสและรายได้จำนวนมากที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจรวมทั้งยังขาดความชัดเจนในการกำหนดพื้นที่พิเศษเพื่อพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศขาดมาตรการและสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน ดังนั้นการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิตอลจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มโอกาสการลงทุนและสร้างรายได้จากนักลงทุนต่างประเทศให้กับประเทศไทย”นายพรชัย กล่าว“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/335528

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.