Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2558 มร.นีล อียาล บอกว่า ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่ได้เข้ามาร่วมกับโครงการดีแทค แอคเซอเลเรท ซึ่งรู้สึกประทับใจมาก โดย 5 ทีมจากปีที่แล้วต่างก็มีความรู้และมีแผนธุรกิจที่ดี

ประเด็นหลัก





ด้วย มร.นีล อียาล บอกว่า ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่ได้เข้ามาร่วมกับโครงการดีแทค แอคเซอเลเรท ซึ่งรู้สึกประทับใจมาก โดย 5 ทีมจากปีที่แล้วต่างก็มีความรู้และมีแผนธุรกิจที่ดี และเอาหลักจากหนังสือที่ตนเขียนไปใช้ เช่น ทีมสตอรี่ ล็อค (storylog) ที่เปิดให้คนเข้ามาแบ่งปันหรือแชร์เรื่องต่าง ๆ จนปัจจุบันมีฐานผู้ใช้งานมากกว่า 3 ล้านคน ส่วน 6 ทีม


___________________________________________





ปั้นสตาร์ทอัพให้สำเร็จในแบบ ‘นีล อียาล’


„ปั้นสตาร์ทอัพให้สำเร็จในแบบ ‘นีล อียาล’ ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่ได้เข้ามาร่วมกับโครงการดีแทค แอคเซอเลเรท ซึ่งรู้สึกประทับใจมาก โดย 5 ทีมจากปีที่แล้วต่างก็มีความรู้และมีแผนธุรกิจที่ดี และเอาหลักจากหนังสือที่ตนเขียนไปใช้

“นีล อียาล” (Nir Eyal) ถือเป็นอีกหนึ่งที่ปรึกษา (Mentor) ที่ได้เข้ามาร่วมให้ความรู้กับเหล่า “เทค สตาร์ทอัพ” หรือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีหน้าใหม่ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของโครงการดีแทค แอคเซอเลเรท แบทช์ #3 (dtac Accelerate Batch #3) โดย มร.นีล อียาล จบการศึกษาด้านเอ็มบีเอ (MBA) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) และเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับเทค สตาร์ทอัพระดับโลกมากมาย อาทิ เฟซบุ๊ก(Facebook), ทวิตเตอร์ (Twitter), ลิงด์อิน (LinkedIn), อินสตาแกรม (Instagram) ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นผู้เขียนหนังสือ Hooked : How to Build Habit-Forming Product ซึ่งขายดีอันดับ 1 ในหมวดการจัดการ (Management) บนเว็บไซต์ amazon.com ด้วย มร.นีล อียาล บอกว่า ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่ได้เข้ามาร่วมกับโครงการดีแทค แอคเซอเลเรท ซึ่งรู้สึกประทับใจมาก โดย 5 ทีมจากปีที่แล้วต่างก็มีความรู้และมีแผนธุรกิจที่ดี และเอาหลักจากหนังสือที่ตนเขียนไปใช้ เช่น ทีมสตอรี่ ล็อค (storylog) ที่เปิดให้คนเข้ามาแบ่งปันหรือแชร์เรื่องต่าง ๆ จนปัจจุบันมีฐานผู้ใช้งานมากกว่า 3 ล้านคน ส่วน 6 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในปีนี้ ทุกทีมมีผลงานที่น่าสนใจ และมีรูปแบบธุรกิจที่ดี จึงเชื่อว่าสามารถมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตได้เช่นกัน มร.นีล อียาล บอกถึงองค์ประกอบที่ผลิตภัณฑ์จะประสบความสำเร็จในตลาดได้ต้องมี 3 ส่วน คือ 1. Growth ศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจ คือ ต้องมีการเติบโตในเรื่องจำนวนผู้ใช้งาน (ยูสเซอร์) 2. Engagement ความผูกพันระหว่างผลิตภัณฑ์ (Product) และผู้ใช้งาน (User) คือ การที่ยูสเซอร์มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องหรือมีปฏิสัมพันธ์กับแอพพลิเคชั่นสม่ำเสมอ และ 3. Monetization รายได้ที่มาจากผลิตภัณฑ์ คือ หลังผู้ใช้งานติดและใช้งานสม่ำเสมอแล้วจะมีวิธีทำเงินจากฐานลูกค้าที่มีได้อย่างไร นอกจากนี้ มร.นีล อียาล ยังอธิบายถึงทฤษฎี “Hook Model” ในหนังสือของเขา โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. Trigger คือ ทำอย่างไรให้ลูกค้าได้เข้ามาทดลองใช้ 2. Action คือ เมื่อผู้ใช้งานได้เข้ามาใช้แล้วต้องมีปฏิสัมพันธ์กับแอพพลิเคชั่น 3. Variable Reward คือ เมื่อมีการใช้งานแล้วต้องได้อะไรกลับมา เช่น เฟซบุ๊ก เมื่อผู้ใช้งานเข้ามาอัพสเตตัสแล้วก็จะมีเพื่อน ๆ เข้ามาคอมเมนต์กลับ หรือกดไลค์ และแชร์ ฯลฯ และ 4. Investment คือ เมื่อเพื่อน ๆ มีการคอมเมนต์ กดไลค์ และแชร์แล้ว สิ่งเหล่านี้จะเป็นสมบัติของผู้ใช้งานที่จะดึงดูดให้สนใจกลับเข้ามาดูหรือใช้งานใหม่อย่างต่อเนื่อง “ปัจจุบันเทค สตาร์ทอัพของไทยมีศักยภาพสูงและมีการเติบโตสูง ซึ่งการมีสตาร์ทอัพจำนวนมาก ๆ ก็จะทำให้สิ่งต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นเงินลงทุนจากนักลงทุนต่าง ๆ หรือความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งหมดนี้จะเป็นตัวช่วยให้ระบบนิเวศ (ecosystem) ของแอพพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์เติบโตไปด้วย” มร.นีล บอกต่อว่า สตาร์ทอัพของไทย กับสตาร์ทอัพในประเทศพัฒนาแล้วอย่างเช่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ไม่ได้มีความแตกต่างกัน เพราะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ความคิดที่อยากจะเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของคน และความบ้าที่จะทำในสิ่งที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ให้ลองคิดถึงวันที่ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรืออินสตาแกรม เปิดให้บริการวันแรก ไม่มีใครเข้าใจว่ามันทำอะไรหรือทำไมต้องใช้มัน เพราะทุกคนเคยใช้แต่ เอสเอ็มเอส หรือการส่งข้อความสั้นของโทรศัพท์มือถือ แต่เมื่อได้ลองใช้ก็ไม่สามารถขาดมันได้อีก “เทค สตาร์ทอัพ ที่จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จ คือ ผู้ที่มีความคิดจะเปลี่ยนโลก หรือทำให้โลกดีขึ้น หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ต้องมีความกล้า และความบ้าที่จะคิดทำอะไร หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรออกมาแล้วสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้” สำหรับแนวโน้มหรือเทคโนโลยีอะไรที่จะประสบความสำเร็จนั้น มร.นีล ให้ความเห็นว่า ตอนนี้โลกอยู่ในยุคเริ่มต้นปฏิวัติอุตสาหกรรมเทคโนโลยี มันเป็นเรื่องยากที่จะระบุว่าเทรนด์เทคโนโลยีอะไรจะมาหรือไม่มา แต่โดยส่วนตัวมองว่า แวร์เอเบิลดีไวซ์ เป็นอุปกรณ์ที่กำลังมาแรงและมีโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดด หลังจากแอปเปิล ออก แอปเปิล วอทช์ และกูเกิล ก็สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ออกมาสู่ตลาด สิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้คนใช้งานสมาร์ทโฟนน้อยลง และเพิ่มโอกาสในเรื่องสุขภาพ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มันอยู่กับร่างกายของคนเรา มร.นีล บอกต่อว่า ตนเองก็ถือเป็นนักลงทุน (แองเจิล อินเวสเตอร์) คนหนึ่งที่เข้าไปลงทุนในเทค สตาร์ทอัพทั่วโลก ซึ่งมองว่าสิ่งที่จะช่วยดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนนั้น คือ ผลิตภัณฑ์ หรือแอพพลิเคชั่นนั้น ๆ ต้องมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ และสามารถที่จะเอาลูกค้าได้อยู่ ให้เข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่องได้ และต้องมีความสามารถที่จะทำเงินได้ ซึ่งโดยส่วนตัวก็มีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในเทค สตาร์ทอัพของไทยในอนาคตด้วย สุดท้าย มร.นีล บอกว่า “ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด อาจจะไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จ” ดังนั้น การทำให้ลูกค้าได้เข้ามาใช้งาน และทำให้เกิดความถี่ในการใช้ พร้อมมีรางวัลให้กับการใช้งานที่มากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้คนใช้งานเกิดความประทับใจมากยิ่งขึ้น จนนำไปสู่ความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ได้. จิราวัฒน์ จารุพันธ์ JirawatJ@dailynews.co.th“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/337708


http://www.dailynews.co.th/it/337708

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.