Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) แจ้งยืนยันการคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ขนาด 4.8 MHz ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ด้วยความเต็มใจ โดยให้สำนักงาน กสทช.นำไปร่วมประมูลกับขนาดความถี่เดิม 25.2 MHz ที่ได้สิ้นสุดอายุสัญญาร่วมการงานแล้วโดยไม่มีเงื่อนไข และให้รวมเป็นขนาดความถี่ 30 MHz เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล

ประเด็นหลัก





        วันนี้ (16 ก.ค.) ในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค.แถลงมติการประชุม กทค. ครั้งที่ 15/2559 หลังได้รับหนังสือยืนยันจาก นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ไอซีที)
     
       โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แจ้งยืนยันการคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ขนาด 4.8 MHz ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ด้วยความเต็มใจ โดยให้สำนักงาน กสทช.นำไปร่วมประมูลกับขนาดความถี่เดิม 25.2 MHz ที่ได้สิ้นสุดอายุสัญญาร่วมการงานแล้วโดยไม่มีเงื่อนไข และให้รวมเป็นขนาดความถี่ 30 MHz เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ในส่วนของคลื่นความถี่ในส่วนที่เหลืออีก 19.2 MHz ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
     




___________________________________________




“เศรษฐพงค์” ชี้ประมูล 4G ใบอนุญาตละ 15 MHz ราคาขั้นต่ำ 13,920 ล้านบาท



        วันนี้ (16 ก.ค.) ในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค.แถลงมติการประชุม กทค. ครั้งที่ 15/2559 หลังได้รับหนังสือยืนยันจาก นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ไอซีที)
     
       โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แจ้งยืนยันการคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ขนาด 4.8 MHz ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ด้วยความเต็มใจ โดยให้สำนักงาน กสทช.นำไปร่วมประมูลกับขนาดความถี่เดิม 25.2 MHz ที่ได้สิ้นสุดอายุสัญญาร่วมการงานแล้วโดยไม่มีเงื่อนไข และให้รวมเป็นขนาดความถี่ 30 MHz เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ในส่วนของคลื่นความถี่ในส่วนที่เหลืออีก 19.2 MHz ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
     
       โดยมติ กทค. มีรายละเอียด ดังนี้
     
       1.รับพิจารณาเฉพาะหนังสือของกระทรวงไอซีที ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2558 ที่ยืนยันการคืนคลื่นความถี่ 1800 MHz ขนาดความกว้างแถบคลื่นความถี่ 4.8 MHz ของ กสท โทรคมนาคม โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
       2.รับทราบ และเห็นชอบการคืนคลื่นความถี่ จำนวน 4.8 MHzเพื่อนำไปร่วมประมูลกับขนาดคลื่นความถี่เดิม 25.2 MHz ที่สิ้นสุดอายุสัมปทานแล้ว และให้รวมเป็นขนาดแถบคลื่นความถี่ 30 MHzและแบ่งเป็นชุดคลื่นความถี่ 2 ชุด ชุดละ 15 MHz เพื่อนำไปประมูลต่อไป
       3.มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ปรับปรุงประกาศในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยราคาขั้นต่ำสำหรับ 15 MHz จะปรับเป็นใบละ 13,920 ล้านบาท (100% ราคา 19,890 ล้านบาท)
       4.มอบหมายให้สำนักงานมีหนังสือแจ้งกระทรวงไอซีที เพื่อดำเนินการกระบวนการคืนคลื่นความถี่และปรับเปลี่ยนการใช้คลื่นความถี่ในย่านความถี่ 1800 MHz (spectrum rearrangement) ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 25 กันยายน 2558 เพื่อให้ทันต่อกำหนดการยื่นคำขอเพื่อเข้าร่วมประมูลซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 30 กันยายน 2558 และขอให้กระทรวง ICT แจ้งคู่สัญญาสัมปทานเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. รายงานคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ถึงความคืบหน้าในการดำเนินการ
       5. นำเสนอที่ประชุม กสทช. เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
     
       โดยภายหลังจากการประชุม กทค. ได้นำเรื่องนี้เข้าการประชุมวาระพิเศษ กสทช. โดย กสทช. ได้มีมติเห็นชอบตามที่ กทค. เสนอ และให้ดำเนินการขั้นตอนของการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ต่อไป ทั้งนี้ ในที่ประชุม กทค. ได้มีการให้ความเห็นในการนำคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz มาประมูลในวันเดียวกัน ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการเพื่อเสนอที่ประชุม กทค. ต่อไป
     
       ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ทำให้กระบวนการในการทำประชาพิจารณ์คลื่น 900 MHz เร็วขี้น จากเดิมกำหนดไว้ในวันที่ 2 ก.ย. เป็น 2 ส.ค. เพราะต้องใช้ระยะเวลาในการทำประชาพิจารณ์ 45 วัน เพื่อให้จัดการประมูลทั้ง 2 คลื่นได้พร้อมกันในวันที่ 11 พ.ย. โดยจะจัดประมูลคลื่น 1800 MHz ช่วงเช้า และจัดประมูลคลื่น 900 MHz ช่วงบ่าย ซึ่ง กสทช.พร้อมให้ใบอนุญาตได้ภายในสิ้นเดือน พ.ย.ดังนั้นคาดว่าผู้ชนะการประมูลจะสามารถเปิดให้บริการ 4G ได้ ภายในเดือน ก.พ. 59
     
       สำหรับการเคาะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จะเริ่มต้นเคาะครั้งละ 5% ของมูลค่าคลื่นความถี่ที่ราคา MHz อยู่ที่ 696 ล้านบาท ที่คิดจากมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริง 70% จะมีราคาเริ่มต้นที่ 13,920 ล้านบาท ขณะที่ราคา MHz ที่คิดจากมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริง 100% จะมีราคาเริ่มต้นที่ 19,890 ล้านบาท มีราคาต่อ MHz อยู่ที่ 994.5 ล้านบาท ส่วนการเคาะการประมูลคลี่นความถี่ย่าน 900 MHz จะมีการเคาะราคาครั้งละ 5%ของมูลค่าคลื่นความถี่ราคาต่อ MHz ที่คิดจากมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริง 70%ของราคาเริ่มต้นที่ 11,260 ล้านบาท มีราคาต่อMHz อยู่ที่ 563 ล้านบาท ขณะที่คิดจากมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริง 100% ของราคาเริ่มต้นที่ 16,080 ล้านบาท มีราคาต่อ MHz อยู่ที่ 804 ล้านบาท
     
       อย่างไรก็ตาม คาดว่ามูลค่าการประมูลทั้ง 4 ใบอนุญาต หากประมูลที่มูลค่า 70% มูลค่าการประมูลจะอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท หากเคาะราคาที่ 85% ราคาประมูลจะอยู่ที่ 61,000 ล้านบาท และ 100 % ราคาประมูลจะอยู่ที่ 71,940 ล้านบาท นอกจากนี้จะทำให้เกิดการลงทุนอีก 2.7 แสนล้านบาท ยังไม่รวมการทำให้เกิดมูลค่าเศรษฐกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีก ดังนั้นคาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ถึง 4 แสนล้านบาท
     


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000080481&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+17-7-58&utm_campaign=20150716_m126604622_Manager+Morning+Brief+17-7-58&utm_term=_E2_80_9C_E0_B9_80_E0_B8_A8_E0_B8_A3_E0_B8_A9_E0_B8_90_E0_B8_9E_E0_B8_87_E0_B8_84_E0_B9_8C_E2_80_9D+_E0_B8_8A_E0_B8_B5_E0_B9_89_E0_B8_9B_E0_B8_A3_E0_B8_B0_E0_B8_A1_E0_B8_B9_E0_B8_A5+4G+_E0_B9_83_E0_B8_9A_E0_B8_AD_E0_B8_99_E0_B8_B8_E0_B8_8D_E0_B8_B2_E0_B8_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.